ประกันสังคม

เช็กให้ชัวร์คุณเป็นผู้ประกันตนแบบไหน ได้รับสิทธิอะไรบ้าง?

รู้ไว้ไม่เสียสิทธิ! คนที่เริ่มต้นทำงานแล้ว มีสิทธิลงทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคม เพื่อเป็นผู้ประกันตนและรับสวัสดิการคุ้มครองในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ เจ็บป่วย คลอดบุตร เกษียณอายุงานจนถึงเสียชีวิต สารบัญ ประกันสังคม คืออะไร? ทำไมต้องทำประกันสังคม? สิทธิประโยชน์ และความคุ้มครองจากประกันสังคม มีอะไรบ้าง? ใครมีสิทธิทำได้บ้าง? ผู้ประกันตนมีกี่แบบ (มาตรา) ต่างกันอย่างไร? ประกันสังคม ม.33 สำหรับพนักงานประจำ ผู้ประกันตน ม.39 สำหรับคนที่เพิ่งออกจากงาน ผู้ประกันตน ม.40 สำหรับผู้ที่มีอาชีพอิสระ สรุป สิทธิของผู้ประกันตนแต่ละมาตรา Link ที่เกี่ยวข้อง เช็กสิทธิรักษาพยาบาล และอื่น ๆ เช็กสถานะและเงินสมทบสะสม ติดต่อ สำนักงานประกันสังคม ประกันสังคม คืออะไร? ประกันสังคม (Social Security Fund) คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตของผู้ประกันตน เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนินชีวิตในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นทำงานจนกระทั้งเสียชีวิต โดยผู้ประกันตนและนายจ้างมีหน้าที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อรับความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ ทำไมต้องทำประกันสังคม? การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม จะช่วยประกันความเสี่ยงจากการทำงาน โดยไม่ต้องกังวลกับเรื่องไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้น เช่น ยามเจ็บไข้ได้ป่วย ก็สามารถเข้ารับการรักษาได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว และได้รับการช่วยเหลือตอนว่างงาน หรือยามเกษียณ นอกจากนี้ ยังมีสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่ผู้ประกันตนจะได้รับจากการทำประกันสังคมอีกมากมาย ผู้ประกันตนขอรับสิทธิและความคุ้มครองด้วยการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคม โดยสามารถทำด้วยตัวเอง หรือผ่านนายจ้าง ซึ่งการจะเป็นผู้ประกันตนนั้นทำได้ 3 แบบ (หรือ เรียกว่า 3 มาตรา) มาหาคำตอบกันว่าใครบ้างที่มีสิทธิเป็นผู้ประกันตน คุณสมบัติของผู้ประกันตนแต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร จ่ายเงินไปแล้วสามารถใช้สิทธิเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อจะได้เข้าใจระบบประกันสังคมและสิทธิกันได้ดีขึ้น สิทธิประโยชน์ และความคุ้มครองจากประกันสังคมมีอะไรบ้าง? สิ่งที่ผู้ประกันตนจะได้รับจากกองทุนประกันสังคม คือ ประโยชน์ทดแทนซึ่งจะครอบคลุมในเรื่องต่าง ๆ ต่อไปนี้ คุ้มครองกรณีประสบอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วย ให้เงินช่วยเหลือคลอดบุตร ดูแลกรณี พิการ หรือ ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร เกษียณอายุ ว่างงาน ใครมีสิทธิทำได้บ้าง? ผู้ประกันตน คือ คนทำงานที่มีอายุตั้งแต่ 15-65 ปีบริบูรณ์ มีสถานะเป็นพนักงานที่มีนายจ้าง, คนที่ลาออกจากงาน หรือคนที่ประกอบอาชีพอิสระ เช่น เกษตรกร พ่อค้า/แม่ค้าออนไลน์ ฟรีแลนซ์ เป็นต้น ไม่ว่าจะทำงานอะไรก็สามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนกับกองทุนประกันสังคมได้ เพียงแค่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไข ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครอง แต่จะได้มากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของผู้ประกันตน ผู้ประกันตนมีกี่แบบ (มาตรา) ต่างกันอย่างไร? คนที่มีสิทธิเป็น “ผู้ประกันตน” ไม่ได้จำกัดเฉพาะมนุษย์เงินเดือนที่เป็นพนักงานประจำ หรือคนที่มีนายจ้างเท่านั้น แต่ยังรวมถึงคนทำงานกลุ่มอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขของกองทุนประกันสังคม ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ ประกันสังคม ม. 33ประกันสังคม ม. 39ประกันสังคม ม. 40สิทธิประโยชน์และความคุ้มครองของผู้ประกันตนแต่ละมาตราแตกต่างกัน จึงต้องเลือกหลักประกันที่เหมาะสมกับตัวเอง มาดูกันว่าผู้ประกันตน แต่ละแบบจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ใครสามารถเลือกทำมาตราไหนได้บ้าง ประกันสังคม ม.33 สำหรับ พนักงานประจำ ผู้ประกันตน ม.33 คือ กลุ่มคนทำงานที่เป็นพนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป อยู่ในช่วงอายุ  15-60 ปีบริบูรณ์ โดยผู้ประกันตนในมาตรานี้ จะได้รับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครอง 7 กรณี ด้วยกัน ได้แก่ประสบอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยคลอดบุตรพิการ (ทุพพลภาพ)เสียชีวิตสงเคราะห์บุตรชราภาพว่างงานซึ่งผู้ประกันตน จะมีหน้าที่ส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยคำนวณจาก 5% ของเงินเดือน โดยคำนวณจากฐานเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีนายจ้างช่วยสมทบอีก 5% และรัฐบาลร่วมสมทบอีก 2.5% เพื่อรับสิทธิความคุ้มครองในมาตรานี้ ตัวอย่างการคำนวณ  เช่น นายเอ ได้รับเงินเดือน 17,000 บาทหากคุณมีคุณสมบัติที่จะลงทะเบียนผู้ประกันตน ม.33 ก็สามารถไป รายละเอียดเพิ่มเติม การลงทะเบียน หลักฐานการสมัคร พร้อมขั้นตอนต่างๆ ได้เลย คำนวณจากฐานเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เงินสมทบที่จ่าย ลูกจ้าง 15,000 x 5% 750 นายจ้าง 15,000 x 5% 750 รัฐบาล 15,000 x 2.5%...

เงินผู้สูงอายุ รับเป็นเงินก้อน หรือ รายเดือนได้เมื่อไหร่?

มนุษย์เงินเดือน ที่ต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมทุกเดือนซึ่งเป็นผู้ประกันตนในม.33 และ ม.39 รู้กันหรือยังว่าอายุเท่าไหรถึงจะได้เงินผู้สูงอายุ แล้วจะได้แบบไหน เป็นเงินก้อน หรือ เงินรายเดือน แล้วต้องทำยังไงให้ได้เงินสูงอายุเอาไว้ใช้ใช้จ่าย สารบัญ เงินผู้สูงอายุคืออะไร มาจากไหน ใครบ้างมีสิทธิรับเงินสูงอายุ? เงินผู้สูงอายุจะได้รับเมื่อไหร่ ใครได้เท่าไหร? เทียบสูตรคำนวณบำนาญแบบง่าย ๆ ยื่นขอคืนเงินผู้สูงอายุที่ไหน อย่างไร Link ที่เกี่ยวข้อง สมัครสมาชิก ผู้ประกันตน ตรวจสอบสิทธิประกันสังคม เงินผู้สูงอายุคืออะไร มาจากไหน ใครบ้างมีสิทธิรับเงินสูงอายุ? เงินผู้สูงอายุ หรือ เงินบำเหน็จ บำนาญ ในระบบประกันสังคม โดยผู้ที่ได้รับสิทธิเงินสูงอายุ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ผู้ประกันตนม. 33 หรือ พนักงานออฟฟิศ และม. 39 หรือ ผู้ที่ลาออกจากงานประจำแล้ว ที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และแจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน กลุ่มที่ 2 ผู้ประกันตนม. 40 เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือ ฟรีแลนด์ ไรเดอร์ แม่ค้า รับจ้างทั่วไป วินมอเตอร์ไซด์ ที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และแจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน กลุ่มที่ 3 ทายาทของผู้ประกันตนที่เสียชีวิต ลูก หรือลูกบุญธรรมที่ชอบด้วยกฏหมาย สามี-ภรรยา ที่ถูกต้องตามกฎหมาย บิดา-มารดา ที่มีชีวิตอยู่ เงินผู้สูงอายุจะได้รับเมื่อไหร่ มาตรวจสอบสิทธิกันว่าผู้ประกันตนจะได้รับเงินผู้สูงอายุแบบไหน เป็นเงินก้อนจ่ายครั้งเดียว หรือ เงินรายเดือน ตลอดชีวิต ซึ่งผู้สูงอายุไม่สามารถเลือกรับเป็นบำเหน็จหรือบำนาญได้ แต่จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาส่งเงินสมทบประกันสังคมตามเงื่อนไข คือ เงินผู้สูงอายุจะได้รับเมื่อไหร่ ผู้ที่จะได้รับเงินก้อนเดียว จะต้องจ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน หรือ 15 ปี แบ่งเป็น 2 กรณี คือ จ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน รับบำเหน็จเท่ากับเงินส่วนของเงินสงเคราะห์บุตรและชราภาพคิดเป็นร้อยละ 3 ของค่าจ้างแต่ละปี จ่ายสมทบมากกว่า 12 เดือน แต่ไม่ถึง 180 เดือน ได้บำเหน็จเท่ากับเงินส่วนของเงินสงเคราะห์บุตรและชราภาพบวกกับเงินที่นายจ้างสมทบ หรือคิดเป็นร้อยละ 6 ของค่าจ้างแต่ละปี   ทั้งนี้ ผู้สมัครเป็นผู้ประกันตน ม. 39 ได้นั้น ต้องเคยเป็นผู้ประกันตน ม. 33 มาแล้ว 12 เดือน “รับเงินรายเดือน “หรือ บำนาญชราภาพ ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน แม้ว่าจะหยุดส่งไปช่วงหนึ่งแล้วกลับมาเข้าระบบประกันสังคมใหม่ หรือส่งติดต่อกัน 15 ปีจะมีสิทธิ์รับบำนาญเท่ากับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ใครได้เท่าไหร? เทียบสูตรคำนวณบำนาญแบบง่าย ๆ เงินผู้สูงอายุจะได้รับเงินมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการส่งเงินสมทบ โดยมีวิธีคำนวณง่าย ๆ 2 กรณี ผู้ประกันตนที่รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือน เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 180 เดือน หรือ 15 ปี จะได้รับบำนาญ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย ( สูงสุด 15,000 บาท) โดยคิดคำนวณเงินบำนาญจากค่าจ้างแล้วคูญด้วย 20%   ตัวอย่างเช่น รายได้ตั้งแต่ 15,000 บาท/เดือนขึ้นไป คำนวณเงินบำนาญได้เป็น 15,000 x 20% เท่ากับได้รับเงินบำนาญเดือนละ 3,000 บาท  [table id=25 /] ทั้งนี้ กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพตามข้อ 1 ขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน[table id=26 /] คำนวณรับเงินก้อน หรือ บำเหน็จชราภาพ แบบที่ 1 สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพไม่ถึง 180 เดือน...

ขั้นตอนการยื่นภาษีประจำปี และข้อมูลการลดหย่อนภาษีที่ควรรู้

ช่วงต้นปีแบบนี้ เหล่าผู้มีรายได้ทุกคนมีนัดประจำปีกับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บางคนเพิ่งเริ่มทำงานและยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการยื่นภาษีบุคคลธรรมดามาก่อน บางคนแม้จะยื่นมาหลายปีแล้วแต่ก็ยังมึนทุกครั้งพอถึงเวลาต้องยื่นเอกสาร วันนี้มาทำความเข้าใจกันอีกรอบดีกว่า ว่าขั้นตอนการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นยังไง จะลดหย่อนภาษีได้ด้วยอะไรบ้าง และภาษีจะเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้จากบทความนี้ สารบัญ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คืออะไร ใครบ้างที่ต้องเสียภาษีเงินได้ ลดหย่อนภาษี จากอะไรได้บ้าง การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา วิธียื่นเสียภาษี ช่องทางการยื่นภาษี Link ที่เกี่ยวข้อง ยื่นแบบและชำระภาษีออนไลน์ ยื่นเสียภาษีผ่าน RD Smart Tax ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คืออะไร ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่คนมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนดจะต้องจ่ายเป็นประจำทุกปี โดยจ่ายเป็นอัตราขั้นบันไดหรืออัตราก้าวหน้า คือยิ่งมีรายได้มากก็ยิ่งเสียภาษีมากตามไปด้วย ซึ่งภาษีเหล่านี้ก็คือเงินที่จะถูกนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศของเรานั่นเอง ใครบ้างที่ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม วิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล รายได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี? เงินได้ (หรือ รายได้) ที่ต้องเสียภาษี หรือ “เงินได้พึงประเมิน” คือรายได้ที่เกิดขึ้นระหว่าง 1 มกราคม - 31 ธันวาคม ของทุกปี ได้แก่  เงิน ทรัพย์สินที่สามารถตีราคาเป็นเงินได้ เช่น รถยนต์ บ้าน นาฬิกา เป็นต้น สิทธิประโยชน์ที่คำนวณเป็นเงินได้ เช่น ลูกจ้างที่ได้รับสิทธิอยู่บ้านฟรี หรือให้อาหารกลางวัน เป็นต้น  เงินค่าภาษีที่คนอื่นออกให้แทน เช่น การหักภาษี ณ ที่จ่าย เครดิตภาษีเงินปันผล เช่น เงินปันผลที่ได้จากหุ้น ประเภทของเงินได้ เงินได้แบ่งออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้ เงินได้ประเภทที่ 1 - เงินเดือน โบนัส เงินบำนาญ เงินได้ประเภทที่ 2 - เงินค่าจ้างทั่วไป ค่านายหน้า ค่าธรรมเนียม เบี้ยประชุม เงินได้ประเภทที่ 3 - เงินได้จากทรัพย์สินทางปัญญาหรือทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน เช่น ค่าลิขสิทธิ์ ค่าแฟรนไชส์ ค่าสิทธิบัตร เป็นต้น เงินได้ประเภทที่ 4 - ดอกเบี้ย เงินปันผลทั้งจากหุ้นและ Cryptocurrency เงินได้ประเภทที่ 5 - เงินจากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินได้ประเภทที่ 6 - ค่าวิชาชีพอิสระ 6 อาชีพ คือ แพทย์ วิศวกร ผู้ตรวจสอบบัญชี จิตรกร สถาปนิก และทนาย เงินได้ประเภทที่ 7 - เงินจากการรับเหมาทั้งค่าแรงและค่าอุปกรณ์ เงินได้ประเภทที่ 8 - เงินได้อื่น ๆ นอกจากข้อ 1 - 7 เช่น เงินได้จากการขายของออนไลน์ เป็นต้น ลดหย่อนภาษี จากอะไรได้บ้าง การลดหย่อนภาษี เป็นสิทธิในการยกเว้นภาษีของผู้มีรายได้ตามที่กรมสรรพากรได้ระบุไว้ ซึ่งทำได้โดยนำรายการลดหย่อนภาษีมาใช้ในการคำนวณ เพื่อสิทธิประโยชน์ในการเสียภาษีน้อยลง หรือได้รับเงินคืนภาษีมากขึ้น โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ รายการลดหย่อน อัตราค่าลดหย่อน 1. ลดหย่อนภาษี กลุ่มครอบครัว ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท (หักอัตโนมัติ) ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท (หักอัตโนมัติ หากคู่สมรสไม่มีรายได้) ค่าลดหย่อนบุตร (ไม่เกิน 3 คน) คนละ 30,000 บาท (หักอัตโนมัติ) ค่าลดหย่อนบิดามารดา คนละ 30,000 บาท (หักอัตโนมัติ) ค่าฝากครรภ์และทำคลอด ครั้งละไม่เกิน 60,000 บาท (หักอัตโนมัติ) ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท (หักอัตโนมัติ สำหรับคนที่ดูแลคนพิการ) 2. ลดหย่อนภาษีกลุ่มประกันและการลงทุน เบี้ยประกันชีวิต ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน...

ฟรีแลนซ์ก็ไม่ติด มีสิทธิประกันสังคม ม.40 คุ้มครอง

สำหรับคนที่ไม่ได้เป็นพนักงานประจำ ทั้งพ่อค้าแม่ค้า หรือชาวฟรีแลนซ์ อาจเกิดความกังวลต่างๆ มากมาย ทั้งยามเจ็บป่วยไม่สามารถออกไปทำงานได้ ยามเกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆ แต่ความกังวลนี้จะลดลงไป หากได้เป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 ไว้ มาตรานี้จะดีและเป็นประโยชน์อย่างไร ไปหาคำตอบได้ในบทความนี้ สารบัญ ไม่มีนายจ้างก็สมัครได้ หายห่วง วางใจได้ ด้วยทางเลือกความคุ้มครองที่หลากหลาย กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกเบี้ย กรณีสงเคราะห์บุตร วิธีสมัครประกันสังคม ม.40 จะเบิกสิทธิต้องทำอย่างไร Link ที่เกี่ยวข้อง เว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม ตรวจสอบสถานะสิทธิ์โครงการเยียวยา ม. 40 เช็กสถานะและเงินสมทบสะสม เช็กสิทธิรักษาพยาบาล และอื่นๆ คุ้มครองทั้งคนไทยและคนต่างด้าว ผู้มีสิทธิสมัคร ต้องมีอายุระหว่าง 15- 65 ปีบริบูรณ์ สัญชาติไทย หรือ ผู้ถือบัตรประจำตัวซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ที่มีเลขประจำตัวหลักแรกเป็น 0 หรือ 6 หรือ 7 หรือ สองหลักแรก เป็น 00 เช่น ชนกลุ่มน้อยหรือคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในไทยชั่วคราว ไม่มีนายจ้างก็สมัครได้ หายห่วง ประกันสังคมมาตรา 40 เป็นประกันสังคมประเภทหนึ่งที่คนทั่วไปที่ทำงานอิสระไม่มีนายจ้าง เช่น พ่อค้า เกษตรกร แม่ค้าออนไลน์ คนขับแท็กซี่ หรือฟรีแลนซ์ สมัครได้เพียงต้องไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ผู้ไม่มีสิทธิสมัคร ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39   ข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ   ผู้พิการทางสติปัญญา เช่น ออทิสติก ผู้ป่วยจิตเภท วางใจได้ ด้วยทางเลือกความคุ้มครองที่หลากหลาย มาตรา 40 มีทางเลือกในการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมอยู่ 3 ทางเลือก  ซึ่งรัฐออกแบบให้หลากหลายเพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่แตกต่าง เลือกได้ตามความสะดวก [table id=17 /] ในแต่ละความคุ้มครอง จะมีหลักเกณฑ์รับสิทธิประโยชน์ต่างกันไป ในแต่ละกรณี เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น ประกันสังคมจะคุ้มครองในกรณีต่าง โดยเป็นไปตามเงื่อนไข ต่อไปนี้ 1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย ผู้ประกันตนจะเริ่มได้รับความคุ้มครองเมื่อจ่ายเงินสมทบไปแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือนในระยะเวลา 4 เดือนก่อนเกิดเหตุเมื่อเจ็บป่วยผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน โดยสามารถใช้สิทธิบัตรทองหรือประกันสุขภาพที่มีได้ตามปกติ เพราะประกันสังคมมาตรา 40 ไม่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล แต่จะได้รับเงินทดแทนในกรณีต่าง ๆ ดังนี้[table id=18 /] 2. กรณีทุพลภาพ ในกรณีทุพลภาพ ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทน ตามทางเลือกที่นำส่ง โดยมีรายละเอียดดังนี้[table id=20 /] 3. กรณีเสียชีวิต ต้องจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือนในเวลา 12 เดือน ก่อนเดือนที่เสียชีวิต (ยกเว้นกรณีเสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุ (จ่ายเพียง 1 ใน 6 เดือนมีสิทธิได้รับเงินค่าทำศพ) และได้รับเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต (เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 60 เดือน ก่อนเดือนที่เสียชีวิต) โดยมีรายละเอียดดังตารางนี้[table id=19 /] 4. กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกเบี้ย หากคุณเลือกประกันตนใน ทางเลือกที่ 2 หรือ 3 เมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน จะได้รับสิทธิคุ้มครอง ทางเลือกที่ 2 ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ 150 บาท/เดือน (ตามจำนวนงวดที่จ่ายเงินสมทบ พร้อมผลประโยชน์ทดแทน) สามารถฝากออมเงินเพิ่มได้ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท และได้รับเงินออมเพิ่ม 1,000 เมื่อสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ทางเลือกที่ 3 จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ 50 บาท/เดือน (ตามจำนวนงวดที่จ่ายเงินสมทบ พร้อมผลประโยชน์ทดแทน) รับเงินบำเหน็จเพิ่ม 10,000 บาท (เมื่อจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป) สามารถฝากออมเงินเพิ่มได้ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท และได้รับเงินออมเพิ่ม 1,000 บาท เมื่อ สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน [table id=21...

ประกันสังคม ม.33 คืออะไร? ให้สิทธิอะไรคนทำงานบ้าง

ประกันสังคม มีความสำคัญกับคนทำงานมากกว่าที่คิด ไม่เพียงให้สิทธิประโยชน์และความคุ้มครองในการใช้ชีวิตเท่านั้น แต่ยังเป็นหลักประกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นตลอดชีวิตการทำงานด้วย แต่หลายคนก็ยังไม่รู้ว่าประกันสังคม มีความสำคัญอย่างไร ให้สิทธิอะไรบ้าง ตามมาอ่านกันได้เลย สารบัญ ทำไมต้องทำประกันสังคม ม.33 สิทธิประโยชน์ และความคุ้มครอง สมทบเงินไว้ ให้ได้รับสิทธิ สุข-ทุกข์ ก็ได้รับสิทธิความคุ้มครอง สะดวกสบาย ส่งเงินง่าย เช็กได้ทุกเมื่อ Link ที่เกี่ยวข้อง การชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ของนายจ้าง (มาตรา 33) เช็กจุดบริการ ใกล้คุณ เช็กสิทธิรักษาพยาบาล และอื่น ๆ เช็กสถานะและเงินสมทบสะสม ทำไมต้องทำประกันสังคม ม.33 คนทำงานหลายคนอาจจะยังไม่ค่อยเห็นความสำคัญของประกันสังคม แต่ในทางกลับกัน ประกันสังคมจะเป็นแหล่งพึ่งพาในวันที่ต้องการความช่วยเหลือ ให้ผู้ประกันตนมีรายได้เจือจุน เสมือนเป็นหลักประกันที่ช่วยสร้างความมั่นคงในการใช้ชีวิต แถมด้วยสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองต่าง ๆ ให้กับคนทำงาน คนทำงานจึงต้องสมทบเงินเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน ผู้ที่มีสิทธิสมัครเป็นผู้กันตน ม.33 จะต้องเป็นมนุษย์เงินเดือนที่ทำงานตามบริษัทเอกชนทั่วไป หรือพนักงานประจำที่มีนายจ้าง ซึ่งมีช่วงอายุ 15-60 ปีบริบูรณ์ โดยนายจ้างจะเป็นผู้แจ้งขึ้นทะเบียนต่อสำนักงานประกันสังคมให้ลูกจ้าง ซึ่งความคุ้มครองที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จะได้รับมีดังนี้  สิทธิประโยชน์ และความคุ้มครอง ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย  คลอดบุตร  ทุพพลภาพ  เสียชีวิต  สงเคราะห์บุตร   ชราภาพ  ว่างงาน สมทบเงินไว้ ให้ได้รับสิทธิ สำนักงานประกันสังคมกำหนดให้จ่ายเงินเข้าประกันสังคม โดยคำนวณจาก 5% ของเงินเดือน (คำนวณจากฐานเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท) ดังนั้น ผู้ประกันตนจึงจ่ายเงินสมทบสูงสุด ไม่เกิน 750 บาท/เดือน นอกจากนี้ นายจ้าง และรัฐบาล จะร่วมจ่ายเงินสมทบในแต่ละเดือนให้ด้วย ตัวอย่างการคำนวณเงินสมทบ [table id=14 /] * ยอดรวมเงินสมทบ (เงินที่ผู้ประกันตนจ่ายเอง + เงินสมทบที่ได้จากนายจ้าง และรัฐบาล) สามารถขอรับเงินคืนได้เมื่อถึงวัยเกษียณ สุข-ทุกข์ ก็ได้รับสิทธิความคุ้มครอง ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิความคุ้มครองใน 7 กรณีหลัก ดังนี้[table id=15 /] สะดวกสบาย ส่งเงินง่าย เช็กได้ทุกเมื่อ การสมทบเงินเข้ากองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตน ม.33 นั้น ไม่ต้องจ่ายด้วยตัวเอง เพราะบริษัทจะเป็นคนจัดการให้ โดยหักจากเงินเดือนทุกเดือน ผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบจำนวนเงินสมทบ หรือสิทธิการรักษาพยาบาลและเรื่องต่าง ๆ ผ่านทาง แอปพลิเคชันทางรัฐ   และช่องทาง ต่อไปนี้  เว็บไซต์ประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม สาขาใกล้คุณ SSO Connect Android | iOS โทร 1506 (ตลอด 24 ชั่วโมง) วันนี้คุณรู้สิทธิประโยชน์ของมนุษย์เงินเดือนครบถ้วนแล้วหรือยัง? ถ้ายังลองศึกษาข้อมูลและติดตามข่าวสารที่จะได้รับจาก ม.33 จากช่องทางที่สะดวก เพื่อจะได้เข้าใจสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ผู้ประกันตนทุกคนจะได้รับ ไม่ว่าคุณจะเจ็บป่วย คลอดบุตร พิการ เสียชีวิต หรือแม้แต่ชราภาพ เมื่อเข้าใจรายละเอียดเป็นอย่างดีแล้ว จะช่วยให้ใช้สิทธิได้โดยไม่เสียสิทธิดี ๆ ที่จะได้จากประกันสังคมไป Link ที่เกี่ยวข้อง การชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ของนายจ้าง (มาตรา 33) เช็กจุดบริการ ใกล้คุณ เช็กสิทธิรักษาพยาบาล และอื่น ๆ เช็กสถานะและเงินสมทบสะสม

ชุดบทความบริการ และสวัสดิการรัฐ

ใบขับขี่

ดูเพิ่ม
ประกันสังคม

ประกันสังคม

ดูเพิ่ม

ภาษีบุคคล

ดูเพิ่ม

ทะเบียนราษฎร์

ดูเพิ่ม
Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save