ออมเงิน กอช.

กอช. ตัวช่วยออมเงินไว้ใช้ยามเกษียณของ “อาชีพอิสระ”

คนที่มีอาชีพอิสระ หรือฟรีแลนซ์ อาจเคยรู้สึกกังวลใจว่าจะไม่มีเงินไว้ใช้ยามเกษียณ เพราะไม่มีระบบบำเหน็จบำนาญคอยช่วยเหลือเหมือนคนที่รับราชการ หรือพนักงานประจำที่อยู่ในระบบประกันสังคมหรือมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่ความไม่สบายใจดังกล่าวจะบรรเทาลง เพราะกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) มีระบบการออมเงินที่มีความยืดหยุ่น เพื่อช่วยดูแลคนที่มีอาชีพอิสระให้มีเงินออมไว้ใช้ยามเกษียณ มาดูกันว่ากองทุนนี้คืออะไร มีบทบาทและรายละเอียดที่ควรรู้อะไรบ้าง

Link ที่เกี่ยวข้อง

กอช. คืออะไร?

กอช. มีชื่อเต็มว่า กองทุนการออมแห่งชาติ เป็นกองทุนส่งเสริมการวางแผนออมเงินในระยะยาวของคนประกอบอาชีพอิสระ หรือฟรีแลนซ์ ทำหน้าที่คล้ายกองทุนชราภาพในระบบประกันสังคม โดยกองทุน กอช. จะช่วยส่งเสริมความมั่นคงทางการเงินให้กับสมาชิก และสมาชิกสามารถเลือกออมเงินได้ตามความสมัครใจ เมื่ออายุครบ 60 ปี ก็จะได้รับเงินบำนาญเป็นรายเดือน

ลักษณะของการออมเงินกับ กอช.

  1. เงินสมทบจากรัฐทุกเดือนตามช่วงอายุ
  2. ได้รับผลประโยชน์จากเงินบำนาญตลอดชีพ สูงสุด 7,000 บาท ต่อเดือน
  3. เงินออมจะได้รับการคุ้มครอง และค้ำประกันผลตอบแทนการลงทุนจนอายุครบ 60 ปี
  4. เงินออมสะสมของสมาชิกสามารถนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้

จ่ายเท่าไหร่ สมทบแค่ไหน

การจ่ายเงินสมทบของกองทุนการออมแห่งชาติหรือ กอช. นั้น จะสมทบตามสัดส่วนของเงินออมในแต่ละครั้ง โดยเงินที่สมทบจะเพิ่มขึ้นตามอายุช่วงอายุของผู้ออม ซึ่ง กอช.จะกำหนดเพดานเงินสมทบสูงสุดในแต่ละปี

ควร ฝากขั้นต่ำ 1,200 ต่อปี หากต่ำกว่า 1,200 บาท เงินสมบทจะลดลง

วิธีการคำนวณเงินสมทบ

อายุ
สมทบของยอดเงินฝาก
เงินสมทบสูงสุด
15-30
50%
ไม่เกิน 600 ต่อปี
30-50
80%
ไม่เกิน 960 ต่อปี
50-60
100%
ไม่เกิน 1,200 ต่อปี

ตัวอย่าง พี่สอง แม่ค้าเสื้อผ้าออนไลน์อายุ 32 ปี ออมเงินกับ กอช 1,200 บาท กอช.จะสมบท 960 บาท สิ้นปีพี่สองจะมีเงินสะสมใน กอช. 2,160 บาท

ส่งเงินออมยังไงให้ถูกต้อง

ในแต่ละปี สมาชิก กอช. สามารถส่งเงินออมได้เดือนละ 1 ครั้งเท่านั้น และส่งขั้นต่ำครั้งละ 50 บาทแต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 13,200 บาท/ปี โดยสมาชิกไม่จำเป็นต้องส่งเงินออมทุกเดือน และยอดเงินที่ออมแต่ละครั้งก็ไม่จำเป็นต้องเท่ากัน

ออมอย่างไรให้ได้บำนาญตลอดชีพ

หากต้องการมีเงินบำนาญตลอดชีพ ควรเริ่มวางแผนออมเงินตั้งแต่วันนี้ เพราะการเริ่มออมตั้งแต่อายุยังน้อย แม้ว่าจะส่งเงินออมจำนวนไม่มาก แต่ก็มีโอกาสที่จะได้รับเงินบำนาญตลอดชีพได้ไม่ยาก โดย กอช. มีหลักเกณฑ์ในการคำนวณเงินบำนาญ 2 แบบ คือ

  • หากยอดเงินสะสมรวมมากกว่า 150,000 บาท จะได้รับเงินบำนาญตั้งแต่ 600-7,000 บาทต่อเดือนโดยสมาชิกจะได้รับบำนาญตลอดชีพตามผลลัพธ์ที่ได้ทุกเดือน ตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป หรือจนกว่าจะเสียชีวิต
  • หากยอดเงินสะสมรวมน้อยกว่า 150,000 บาท จะได้รับเงินดำรงชีพเดือนละ 600 บาท จนกว่าจะครบตามจำนวนเงินออมทั้งหมดที่มีอยู่ (ไม่ได้จ่ายจนกระทั่งเสียชีวิต)

ดังนั้น หากใครต้องการมีเงินบำนาญตลอดชีพ ควรเริ่มวางแผนออมเงินตั้งแต่วันนี้ เพื่อจะได้มีเงินบำนาญขั้นต่ำตลอดชีพไว้ใช้ในวัยเกษียณ หากเริ่มออมตอนอายุ 40-50 ปีก็ยังไม่สายเกินไป เพราะยังสามารถออมเงินได้สูงสุดปีละ 13,200 บาท/ปี เพื่อจะได้รับเงินบำนาญตลอดชีพได้เช่นกัน

ใครสมัครเป็นสมาชิก กอช. ได้บ้าง?

ผู้ที่ต้องการสมัครเป็นสมาชิก กอช. ได้นั้น จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  1. มีสัญชาติไทย
  2. อายุตั้งแต่ 15 ไม่เกิน 60 ปี
  3. ประกอบอาชีพอิสระ ไม่มีนายจ้าง หรือ ไม่มีอาชีพประจำ
  4. ไม่เป็นผู้ประกันตนประกันสังคม
  5. ไม่ประกอบอาชีพรับราชการ
  6. ไม่เป็นสมาชิก กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ช่องทางการสมัคร และจุดบริการ

ผู้สนใจสมัครผ่านแอปพลิเคชั่น “กอช.” หรือสมัครด้วยตัวเองที่จุ

  • บริการใกล้บ้าน
  • ที่ว่าการอำเภอทั่วประเทศ
  • สำนักงานคลังจังหวัด
  • สถาบันการเงินชุมชน
  • ธนาคารออมสิน
  • ธนาคารกรุงไทย
  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทุกสาขา
  • เคาน์เตอร์เซอร์วิส
  • จุดบริการห้างโลตัส
  • จุดบริการห้างบิ๊กซี
  • ตู้บุญเติม
  • เครือข่ายรับสมัครทั่วประเทศ

วิธีคำนวณยอดเงินสมทบ กอช.

สมาชิกสามารถคำนวณยอดเงินสมทบ รวมถึงเช็กยอดเงินได้ง่าย ๆ ผ่านช่องทางต่อไปนี้

  • แอปพลิเคชั่น กอช.
  • ระบบ E-Service ในเว็บไซต์กอช.
  • สแกน QR Code หรือสอบถามได้ที่สายด่วนเงินออม 02-490-9000
  • ช่องทางไลน์ของ กอช. @nsf.th
  • เฟซบุ๊ก กอช.
ออมกับ กอช. คุ้มค่าอย่างไร

การรับเงินตอนเกษียณของสมาชิก กอช.​

สมาชิกจะได้รับเงินคืนเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ โดยก่อนสมาชิกอายุครบ 60 ปี กอช. จะแจ้งล่วงหน้า 3 เดือน โดยให้เลือกวิธีรับเงิน 2 รูปแบบ คือ

  • โอนเข้าบัญชีธนาคาร
  • ธนาณัติ

เงินที่สมาชิกจะได้รับมี 3 ส่วน ได้แก่

  • เงินออมสะสมของสมาชิก
  • เงินสมทบจากรัฐ
  • ผลประโยชน์ของเงินสะสม และเงินสมทบที่ กอช. นำไปลงทุนระหว่างทาง

โดยจ่ายเป็นเงินบำนาญรายเดือน จำนวนที่ได้รับขึ้นอยู่กับยอดเงินออมและผลตอบแทนการลงทุนในวันที่คำนวณ หรือกรณีสมาชิกเสียชีวิตก่อนหรือหลังอายุ 60 ปี กอช. จะจ่ายคืนให้ผู้รับผลประโยชน์เป็นเงินก้อนครั้งเดียว

ข้อดี-ข้อเสีย ของการออมเงินกับ กอช.

ข้อดี

  • เป็นการออมที่มีความยืดหยุ่นสูง
  • เหมาะกับคนที่มีรายได้ไม่แน่นอน เพราะไม่จำเป็นต้องออมทุกเดือน ถ้าเดือนไหนมีเงินน้อยก็ออมน้อยได้ หรือถ้าเดือนไหนมีมากก็ออมมาก
  • เริ่มต้นออมเพียง 50 บาท สูงสุดปีละไม่เกิน 13,200 บาท
  • การออมเงินกับ กอช. ให้ผลตอบแทนไม่น้อยกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน

ข้อเสีย

  • ความเสี่ยงจากมูลค่าของเงิน (เงินเฟ้อ) ในอนาคต เพราะถ้าเงินเฟ้อสูงมากเป็นเวลานาน อาจไม่คุ้มกับการออมเงินในลักษณะนี้

ความเสี่ยงจากเงินออมที่กองทุนไปลงทุน เช่น ตราสารหนี้ กองทุน หรือ หุ้น ถ้าภาวะตลาดตกต่ำ ผลตอบแทนอาจติดลบได้

กองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. ถือเป็นช่องทางการเก็บเงินของคนที่มีอาชีพอิสระ ไม่ได้เป็นข้าราชการหรือทำงานประจำกับหน่วยงานรัฐหรือเอกชน  และเป็นทางเลือกหรือแหล่งสร้างรายได้ก่อนการเกษียณของคนที่มีอาชีพอิสระเพื่อเก็บไว้ใช้ในหลังเกษียณการทำงาน ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่สุขสบายหรือเป็นเงินทุนอย่างอื่นในอนาคตได้

Link ที่เกี่ยวข้อง

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า