มนุษย์เงินเดือน ที่ต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมทุกเดือนซึ่งเป็นผู้ประกันตนในม.33 และ ม.39 รู้กันหรือยังว่าอายุเท่าไหรถึงจะได้เงินผู้สูงอายุ แล้วจะได้แบบไหน เป็นเงินก้อน หรือ เงินรายเดือน แล้วต้องทำยังไงให้ได้เงินสูงอายุเอาไว้ใช้ใช้จ่าย
Link ที่เกี่ยวข้อง
เงินผู้สูงอายุคืออะไร มาจากไหน ใครบ้างมีสิทธิรับเงินสูงอายุ?
เงินผู้สูงอายุ หรือ เงินบำเหน็จ บำนาญ ในระบบประกันสังคม โดยผู้ที่ได้รับสิทธิเงินสูงอายุ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ผู้ประกันตนม. 33 หรือ พนักงานออฟฟิศ และม. 39 หรือ ผู้ที่ลาออกจากงานประจำแล้ว ที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และแจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
กลุ่มที่ 2 ผู้ประกันตนม. 40 เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือ ฟรีแลนด์ ไรเดอร์ แม่ค้า รับจ้างทั่วไป วินมอเตอร์ไซด์ ที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และแจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
กลุ่มที่ 3 ทายาทของผู้ประกันตนที่เสียชีวิต
- ลูก หรือลูกบุญธรรมที่ชอบด้วยกฏหมาย
- สามี-ภรรยา ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
- บิดา-มารดา ที่มีชีวิตอยู่
เงินผู้สูงอายุจะได้รับเมื่อไหร่
มาตรวจสอบสิทธิกันว่าผู้ประกันตนจะได้รับเงินผู้สูงอายุแบบไหน เป็นเงินก้อนจ่ายครั้งเดียว หรือ เงินรายเดือน ตลอดชีวิต ซึ่งผู้สูงอายุไม่สามารถเลือกรับเป็นบำเหน็จหรือบำนาญได้ แต่จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาส่งเงินสมทบประกันสังคมตามเงื่อนไข คือ
เงินผู้สูงอายุจะได้รับเมื่อไหร่
- จ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน รับบำเหน็จเท่ากับเงินส่วนของเงินสงเคราะห์บุตรและชราภาพคิดเป็นร้อยละ 3 ของค่าจ้างแต่ละปี
- จ่ายสมทบมากกว่า 12 เดือน แต่ไม่ถึง 180 เดือน ได้บำเหน็จเท่ากับเงินส่วนของเงินสงเคราะห์บุตรและชราภาพบวกกับเงินที่นายจ้างสมทบ หรือคิดเป็นร้อยละ 6 ของค่าจ้างแต่ละปี
“รับเงินรายเดือน “หรือ บำนาญชราภาพ
ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน แม้ว่าจะหยุดส่งไปช่วงหนึ่งแล้วกลับมาเข้าระบบประกันสังคมใหม่ หรือส่งติดต่อกัน 15 ปีจะมีสิทธิ์รับบำนาญเท่ากับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
ใครได้เท่าไหร? เทียบสูตรคำนวณบำนาญแบบง่าย ๆ
ผู้ประกันตนที่รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือน
ตัวอย่างเช่น รายได้ตั้งแต่ 15,000 บาท/เดือนขึ้นไป คำนวณเงินบำนาญได้เป็น 15,000 x 20% เท่ากับได้รับเงินบำนาญเดือนละ 3,000 บาท
20 x 15,000 | = | 3,000 |
100 |
[20+ (1.5 x จำนวนปี)] x 15,000 |
100 |
คำนวณรับเงินก้อน หรือ บำเหน็จชราภาพ
ตัวอย่าง ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบได้ 10 เดือน จะได้รับ เท่ากับ 300 x 10 = 3,000 บาท
แบบที่ 2 ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพ ตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ เท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนและนายจ้างนำส่ง แล ผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด
ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนอายุ 55 ปี สิ้นสุดสภาพการเป็นลูกจ้างวันที่ 28 พฤศจิกายน 2547 ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ในวันที่ 10 ธันวาคม 2547 เจ้าหน้าที่วินิจฉัยในวันเดียวกัน โดยมีรายการนำส่งเงินสมทบ กรณีชราภาพของผู้ประกันตน ดังนี้
ปี | จำนวนเงินสมทบ | นายจ้าง | ผู้ประกันตน |
---|---|---|---|
2542 | 850 | 850 | 1,700 |
2543 | 1,550 | 1,550 | 3,100 |
2544 | 2,300 | 2,300 | 4,600 |
2545 | 3,200 | 3,200 | 6,400 |
2546 | 4,100 | 4,100 | 8,200 |
2547 | 2,800 | 2,800 | 5,600 |
รวม | 14,800 | 14,800 | 29,600 |
วิธีคำนวณผลประโยชน์ตอบแทน
ปี | เงินสมทบ | เงินสมทบสะสม x อัตรา | ผลประโยชน์ตอบแทน |
---|---|---|---|
2542 | 1,700 | 1,700 x 2.4% | 40.80 |
2543 | 3,100 | (1,700 + 3,100 = 4,800 ) x 3.7% | 177.60 |
2544 | 4,600 | (4,800 + 4,600 = 9,400) x 4.2% | 394.80 |
2545 | 6,400 | (9,400 + 6,400 = 15,800) x 4.3% | 679.40 |
2546 | 8,200 | (15,800 + 8,200 = 24,000) x 6.5% | 1,560 |
2547 | 5,600 | (24,000 + 5,600 = 29,600) x 2.00% x 11/12 | 542.67 |
ขอคืนเงินสูงอายุก่อนอายุ 55 ปีได้หรือไม่
- ผู้ประกันตนกลายเป็นผู้ทุพพลภาพ ก่อนอายุ 55 ปี จะคืนเป็นเงินบำเหน็จ
- ผู้ประกันตนเสียชีวิตก่อนอายุ 55 ปี ทายาทจะได้รับเป็นเงินบำเหน็จเท่านั้น ไม่มีสิทธิรับเป็นเงินบำนาญ แม้จะส่งเงินสมทบครบ 15 ปีแล้วก็ตาม
ขอรับเงินชราภาพบางส่วน ก่อนอายุ 55 ปีได้หรือไม่
แม้มีข้อดีคือสามารถบรรเทาความเดือดร้อนทางการเงินได้ แต่มีข้อเสียคือ หากใช้สิทธิรับเงินล่วงหน้าไปแล้วจะเหลือเงินบำเหน็จหรือบำนาญลดลง นอกจากนี้ยังส่วผลต่อความมั่นคงของกองทุนประกันสังคมในระยะยาว
แล้วแบบไหนคุ้มกว่ากัน ระหว่าง บำเหน็จกับบำนาญชราภาพ
หากส่งเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไปหรือทำงานเกิน 15 ปี จะได้รับเงินบำนาญ เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถเลือกรับบำเหน็จได้
ส่วนแบบไหนคุ้มกว่ากัน
การรับเงินบำนาญ ข้อดี ได้เงินมากกว่าและมีเงินใช้รายเดือนไปจนเสียชีวิต ข้อเสีย ไม่มีเงินก้อนสำหรับการลงทุนหากมีความต้องการ ***แทรก กราฟฟิก 3 คำนวณ บำนาญ รายเดือน)
ยื่นขอคืนเงินผู้สูงอายุที่ไหน อย่างไร
- ผู้ประกันตนสามารถยื่นขอรับเงินบำนาญผู้สูงอายุ โดยแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ (สปส. 2-01)
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอฯ (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ของ 11 ธนาคาร ดังนี้ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารทหารไทย ,ธนาคารธนชาต, ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย, ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย, ธนาคารออมสิน, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- ยื่นขอสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา
จะได้รับเงินผู้สูงอายุ เมื่อไหร่
- เงินบำเหน็จชราภาพ ได้รับภายใน 7-10 วันทำการ (ไม่นับวันหยุดราชการ) หลังจากได้รับการอนุมัติ
- เงินบำนาญชราภาพ หลังจากได้รับการอนุมัติ จะมีเงินโอนเข้าบัญชีภายในวันที่ 25 ของเดือนถัดไป
สำหรับผู้ประกันตนที่วางแผนเกษียณอายุการทำงาน จะเห็นได้ว่าการจ่ายเงินสมทบรายเดือนกับกองทุนประกันสังคมนั้น มิได้สูญเปล่า เพราะนอกจากจะได้รับสิทธิประโยชน์ระหว่า การทำงานจำนวนมากแล้ว เมื่อถึงวัยเกษียณก็ยังคง มั่นใจได้ว่ามีเงินออมชราภาพไว้เป็นหลักประกัน เป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้