ย้ายสิทธิบัตรทองทำได้หรือไม่ ต้องเตรียมตัวอย่างไร

การขอย้ายสิทธิในการรักษาพยาบาลบัตรทองสามารถทำได้ง่าย ๆ หากใครต้องการตรวจสอบสิทธิ ย้ายสถานพยาบาลหรือหน่วยบริการทางการแพทย์ สามารถทำได้ด้วยตัวเองผ่านแอปพลิเคชันของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ หรือ สปสช. ด้วยการ แอดไลน์ สปสช. @nhso รู้สิทธิรักษาพยาบาล และประวัติการรักษา ซึ่งทำได้ง่าย ๆ ตามขั้นตอนในบทความนี้

Link ที่เกี่ยวข้อง

การย้ายสิทธิบัตรทอง ทำได้หรือไม่

ย้ายสิทธิบัตรทอง สามารถทำได้ เพราะผู้ถือบัตรทองจำนวนมากที่เป็น นิสิต นักศึกษา หรือคนทำงาน เมื่อเกิดเหตุไม่สบายแล้วไม่ได้อยู่ในพื้นที่มีสิทธิในการรักษา สามารถยื่นขอย้ายโรงพยาบาลหรือหน่วยบริการในการรักษาพยาบาล ผ่านทางระบบออนไลน์ได้ภายในวันเดียวตามหลักการ “ย้ายหน่วยบริการ เกิดสิทธิทันที”   

จากเดิมผู้ถือบัตรต้องเดินทางไปยื่นความจำนงกับเจ้าหน้าที่ ณ จุดบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. ต้องใช้เวลาตรวจสอบสิทธินาน 15 วัน จึงจะสามารถใช้สิทธิกับหน่วยบริการใหม่ได้

เงื่อนไขการเปลี่ยนหน่วยบริการ สิทธิบัตรทองผ่านออนไลน์ กำหนดไว้ดังนี้ คือ 

  1. ผู้ใช้งานต้องมีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 
  2. อายุ 15 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป
  3. ลงทะเบียนด้วยตนเอง ไม่สามารถทำแทนบุคคลในครอบครัวได้
  4. เปลี่ยนหน่วยบริการได้มากกว่า 1 ครั้ง แต่ไม่เกิน 4 ครั้งต่อปี

ย้ายสิทธิบัตรทองเป็นประกันสังคม ใช้ได้ทันทีหรือไม่?

การย้ายสิทธิจากบัตรประกันสังคมมาเป็นสิทธิบัตรทองไม่สามารถทำได้ทันที เนื่องจากผู้ใช้สิทธิบัตรประกันสังคมจะต้องออกจาการเป็นผู้ประกันตนนานกว่า 6 เดือนจึงจะสามารถยื่นขอลงทะเบียนใช้สิทธิบัตรทองได้

ช่องทางขอย้ายสิทธิบัตรทองมีที่ไหนบ้าง

ช่องทางในการย้ายสิทธิ “บัตรทอง” สามารถทำได้ง่ายๆด้วยตัวเอง ซึ่งปัจจุบัน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช ) ได้ช่องทางย้ายสิทธิเอาไว้ 3 ช่องทางคือ
  1. แอปพลิเคชัน สปสช. ใช้งานเพื่อย้ายสิทธิบัตรทอง ได้ทั้งระบบ Android และ iOS
  2. ผ่านทาง LINE Official Account สปสช. ค้นหา @nhso ในแอปพลิเคชัน Line แล้วเพิ่มเพื่อน เพื่อขอย้ายสิทธิด้วยตัวเอง
  3. ย้ายสิทธิผ่านจุดบริการ ซึ่งสามารถไปขอใช้สิทธิได้ที่สำนักงานเขต หรือ รพ.สต. ของแต่ละพื้นที่ ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และ ตจว.

ย้ายสิทธิผ่านที่สำนักงานเขต หรือ รพ.สต

สำหรับผู้ที่ถือบัตรทอง แต่ไม่สะดวกที่จะดำเนินการผ่านไลน์ หรือ แอปพิเคชันของ สปสช เตรียมเอกสารไปตามสถานที่ดังต่อไปนี้
  1. ผู้ที่พักอาศัยอยู่ในต่างจังหวัด ต้องไปติดต่อย้ายสิทธิบัตรทอง ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หรือโรงพยาบาลของรัฐใกล้บ้าน
  2.  ผู้ที่พักอาศัยในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ สามารถไปดำเนินการยื่นเรื่องย้ายสิทธิบัตรทอง ณ สำนักงานเขต ทั้ง 19 แห่ง ประกอบด้วย สำนักงานเขตคลองเตย, คลองสามวา, ธนบุรี, บางกะปิ, บางขุนเทียน, บางแค, บางพลัด, ประเวศ, พระโขนง, มีนบุรี, ราชเทวี, ราษฎร์บูรณะ, ลาดกระบัง, ลาดพร้าว, สายไหม, หนองแขม, หนองจอก, หลักสี่ และห้วยขวาง
   สิ่งที่ไม่ต้องกังวล สำหรับผู้ที่ย้ายสิทธิบัตรทอง คือการเลือก โรงพยาบาล สามารถเลือก สิทธิ รพ.สต .ใกล้บ้านได้ เพราะบัตรทองครอบคลุมค่าส่งต่อในการรักษาไปยังโรงพยาบาลที่เชี่ยวชาญได้ฟรี

ผู้ถือบัตรทอง ย้ายสิทธิรักษา ไม่ย้ายทะเบียนบ้านได้หรือไม่

ผู้ที่มีความประสงค์ย้ายโรงพยาบาลตามสิทธิบัตรทอง สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง เพียงเตรียมเอกสารให้ครบ จากนั้นเดินทางไปยังจุดบริการ เพื่อยื่นเอกสารพร้อมกรอกเอกสารขอเปลี่ยนหน่วยบริการ ไม่ต้องย้ายทะเบียนบ้าน ได้ดังนี้
  1. สำเนาบัตรประชาชนของเราและใบขอเปลี่ยนหน่วยบริการย้ายสิทธิบัตรทอง
  2. ทะเบียนบ้านของผู้ใช้สิทธิบัตรทอง โดยไม่ต้องย้ายทะเบียนบ้าน
  3. เตรียมหลักฐานการพักอาศัยปัจจุบัน เช่น บิลค่าน้ำ ค่าไฟ หรือ หนังสือรับรองเจ้าของบ้าน
โดยผู้ต้องการย้ายสิทธิบัตรทองสามารถนำเอกสารทั้งหมดยื่นต่อเจ้าหน้าที่ได้ที่ รพ.สต หรือ โรงพยาบาลที่ต้องการได้เลย

ขั้นตอนการย้ายสิทธิบัตรทองเสร็จในวันเดียว

การขอย้ายสิทธิเปลี่ยนแปลงหน่วยบริการทางการแพทย์ “บัตรทอง” สามารถทำเสร็จในระบบออนไลน์ในวันเดียว คือย้ายหน่วยบริการ สามารถใช้สิทธิได้ทันที จากเดิมที่ต้องรอเจ้าหน้าที่ตรวจเอกสารกว่า 15  วัน ก็สามารถทำให้เสร็จได้ภายใน 1 วัน ผ่านระบบออนไลน์ในช่องทางที่สะดวก หรือไปใช้บริการที่จุดบริการใกล้บ้าน 

การย้ายสิทธิบัตรทองออนไลน์ ทำแทนคนอื่นได้หรือไม่?

การย้ายสิทธิบัตรทองออนไลน์ ไม่สามารถทำแทนคนอื่นได้ เพราะมีระบบยืนยันตัวตน  ต้องทำด้วยตัวเองเท่านั้น

ย้ายสิทธิบัตรทองไม่ทันเวลา ต้องทำอย่างไร?

ย้ายสิทธิบัตรทองไม่ทันเวลา ผู้ถือบัตรต้องเข้าบริการที่ รพ.ต้นสังกัดที่ขึ้นทะเบียนไว้ หากผู้ถือบัตรป่วยฉุกเฉินตามเงื่อนไขสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกทีฟรีใน 72 ชั่วโมง

6 อาการที่เข้าข่ายฉุกเฉินวิกฤติ

  1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ  
  2. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรงหายใจติดขัดมีเสียงดัง ซึมลง 
  3. เหงื่อแตก ตัวเย็น  
  4. เจ็บหน้าอกเฉียบพลันรุนแรง  
  5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกพูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วนหรือชักต่อเนื่องไม่หยุด  
  6. อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิต หากพบอาการที่เข้าข่าย

การย้ายสิทธิบัตรทองไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไป จากเดิมต้องรอทุกวันที่ 15 หรือ 28 ของทุกเดือน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ต้องทำการตรวจสอบสิทธิของประชาชนที่มายื่นมาเป็นไปตามเอกสารถูกต้องหรือไหม  แต่ปัจจุบัน ผู้ใช้สิทธิบัตรทองที่มีการเดินทางย้ายถิ่นฐานบ่อยสามารถย้ายสิทธิการรักษาพยาบาลเสร็จภายในวันเดียวไม่ต้องรอถึง 15 วันอีกต่อไป

Link ที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า