ขั้นตอนการยื่นภาษีประจำปี และข้อมูลการลดหย่อนภาษีที่ควรรู้

ช่วงต้นปีแบบนี้ เหล่าผู้มีรายได้ทุกคนมีนัดประจำปีกับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บางคนเพิ่งเริ่มทำงานและยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการยื่นภาษีบุคคลธรรมดามาก่อน บางคนแม้จะยื่นมาหลายปีแล้วแต่ก็ยังมึนทุกครั้งพอถึงเวลาต้องยื่นเอกสาร วันนี้มาทำความเข้าใจกันอีกรอบดีกว่า ว่าขั้นตอนการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นยังไง จะลดหย่อนภาษีได้ด้วยอะไรบ้าง และภาษีจะเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้จากบทความนี้ สารบัญ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คืออะไร ใครบ้างที่ต้องเสียภาษีเงินได้ ลดหย่อนภาษี จากอะไรได้บ้าง การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา วิธียื่นเสียภาษี ช่องทางการยื่นภาษี Link ที่เกี่ยวข้อง ยื่นแบบและชำระภาษีออนไลน์ ยื่นเสียภาษีผ่าน RD Smart Tax ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คืออะไร ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่คนมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนดจะต้องจ่ายเป็นประจำทุกปี โดยจ่ายเป็นอัตราขั้นบันไดหรืออัตราก้าวหน้า คือยิ่งมีรายได้มากก็ยิ่งเสียภาษีมากตามไปด้วย ซึ่งภาษีเหล่านี้ก็คือเงินที่จะถูกนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศของเรานั่นเอง ใครบ้างที่ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม วิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล รายได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี? เงินได้ (หรือ รายได้) ที่ต้องเสียภาษี หรือ “เงินได้พึงประเมิน” คือรายได้ที่เกิดขึ้นระหว่าง 1 มกราคม - 31 ธันวาคม ของทุกปี ได้แก่  เงิน ทรัพย์สินที่สามารถตีราคาเป็นเงินได้ เช่น รถยนต์ บ้าน นาฬิกา เป็นต้น สิทธิประโยชน์ที่คำนวณเป็นเงินได้ เช่น ลูกจ้างที่ได้รับสิทธิอยู่บ้านฟรี หรือให้อาหารกลางวัน เป็นต้น  เงินค่าภาษีที่คนอื่นออกให้แทน เช่น การหักภาษี ณ ที่จ่าย เครดิตภาษีเงินปันผล เช่น เงินปันผลที่ได้จากหุ้น ประเภทของเงินได้ เงินได้แบ่งออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้ เงินได้ประเภทที่ 1 - เงินเดือน โบนัส เงินบำนาญ เงินได้ประเภทที่ 2 - เงินค่าจ้างทั่วไป ค่านายหน้า ค่าธรรมเนียม เบี้ยประชุม เงินได้ประเภทที่ 3 - เงินได้จากทรัพย์สินทางปัญญาหรือทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน เช่น ค่าลิขสิทธิ์ ค่าแฟรนไชส์ ค่าสิทธิบัตร เป็นต้น เงินได้ประเภทที่ 4 - ดอกเบี้ย เงินปันผลทั้งจากหุ้นและ Cryptocurrency เงินได้ประเภทที่ 5 - เงินจากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินได้ประเภทที่ 6 - ค่าวิชาชีพอิสระ 6 อาชีพ คือ แพทย์ วิศวกร ผู้ตรวจสอบบัญชี จิตรกร สถาปนิก และทนาย เงินได้ประเภทที่ 7 - เงินจากการรับเหมาทั้งค่าแรงและค่าอุปกรณ์ เงินได้ประเภทที่ 8 - เงินได้อื่น ๆ นอกจากข้อ 1 - 7 เช่น เงินได้จากการขายของออนไลน์ เป็นต้น ลดหย่อนภาษี จากอะไรได้บ้าง การลดหย่อนภาษี เป็นสิทธิในการยกเว้นภาษีของผู้มีรายได้ตามที่กรมสรรพากรได้ระบุไว้ ซึ่งทำได้โดยนำรายการลดหย่อนภาษีมาใช้ในการคำนวณ เพื่อสิทธิประโยชน์ในการเสียภาษีน้อยลง หรือได้รับเงินคืนภาษีมากขึ้น โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ รายการลดหย่อน อัตราค่าลดหย่อน 1. ลดหย่อนภาษี กลุ่มครอบครัว ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท (หักอัตโนมัติ) ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท (หักอัตโนมัติ หากคู่สมรสไม่มีรายได้) ค่าลดหย่อนบุตร (ไม่เกิน 3 คน) คนละ 30,000 บาท (หักอัตโนมัติ) ค่าลดหย่อนบิดามารดา คนละ 30,000 บาท (หักอัตโนมัติ) ค่าฝากครรภ์และทำคลอด ครั้งละไม่เกิน 60,000 บาท (หักอัตโนมัติ) ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท (หักอัตโนมัติ สำหรับคนที่ดูแลคนพิการ) 2. ลดหย่อนภาษีกลุ่มประกันและการลงทุน เบี้ยประกันชีวิต ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 25,000 บาท (รวมกับประกันชีวิตสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท) เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ และไม่เกิน 200,000 บาท เงินสมทบประกันสังคม ตามที่จ่ายจริง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และกบข. ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ และไม่เกิน 500,000 บาท กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 13,200 บาท กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ และไม่เกิน 500,000 บาท กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ และไม่เกิน 200,000 บาท เงินลงทุนธุรกิจในกลุ่มวิสาหกิจเพื่อสังคม ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท 3. ลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค เงินบริจาคพรรคการเมือง ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท เงินบริจาคทั่วไป ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน 4. ลดหย่อนภาษีกลุ่มนโยบายพิเศษจากรัฐ ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ค่าธรรมเนียมจากการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิต ตามที่จ่ายจริง นโยบาย “ช้อปดีมีคืน 2565” ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เราสามารถคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากการนำข้อมูลรายได้ ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนภาษี มาคิดตามสูตรคำนวณภาษี โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ            1. อัตราภาษีแบบขั้นบันได สำหรับผู้ที่มีรายได้ประจำเพียงช่องทางเดียว จะมีอัตราเสียภาษีแบบก้าวหน้า อยู่ที่...

ฟรีแลนซ์ก็ไม่ติด มีสิทธิประกันสังคม ม.40 คุ้มครอง

สำหรับคนที่ไม่ได้เป็นพนักงานประจำ ทั้งพ่อค้าแม่ค้า หรือชาวฟรีแลนซ์ อาจเกิดความกังวลต่างๆ มากมาย ทั้งยามเจ็บป่วยไม่สามารถออกไปทำงานได้ ยามเกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆ แต่ความกังวลนี้จะลดลงไป หากได้เป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 ไว้ มาตรานี้จะดีและเป็นประโยชน์อย่างไร ไปหาคำตอบได้ในบทความนี้ สารบัญ ไม่มีนายจ้างก็สมัครได้ หายห่วง วางใจได้ ด้วยทางเลือกความคุ้มครองที่หลากหลาย กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกเบี้ย กรณีสงเคราะห์บุตร วิธีสมัครประกันสังคม ม.40 จะเบิกสิทธิต้องทำอย่างไร Link ที่เกี่ยวข้อง เว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม ตรวจสอบสถานะสิทธิ์โครงการเยียวยา ม. 40 เช็กสถานะและเงินสมทบสะสม เช็กสิทธิรักษาพยาบาล และอื่นๆ คุ้มครองทั้งคนไทยและคนต่างด้าว ผู้มีสิทธิสมัคร ต้องมีอายุระหว่าง 15- 65 ปีบริบูรณ์ สัญชาติไทย หรือ ผู้ถือบัตรประจำตัวซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ที่มีเลขประจำตัวหลักแรกเป็น 0 หรือ 6 หรือ 7 หรือ สองหลักแรก เป็น 00 เช่น ชนกลุ่มน้อยหรือคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในไทยชั่วคราว ไม่มีนายจ้างก็สมัครได้ หายห่วง ประกันสังคมมาตรา 40 เป็นประกันสังคมประเภทหนึ่งที่คนทั่วไปที่ทำงานอิสระไม่มีนายจ้าง เช่น พ่อค้า เกษตรกร แม่ค้าออนไลน์ คนขับแท็กซี่ หรือฟรีแลนซ์ สมัครได้เพียงต้องไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ผู้ไม่มีสิทธิสมัคร ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39   ข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ   ผู้พิการทางสติปัญญา เช่น ออทิสติก ผู้ป่วยจิตเภท วางใจได้ ด้วยทางเลือกความคุ้มครองที่หลากหลาย มาตรา 40 มีทางเลือกในการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมอยู่ 3 ทางเลือก  ซึ่งรัฐออกแบบให้หลากหลายเพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่แตกต่าง เลือกได้ตามความสะดวก [table id=17 /] ในแต่ละความคุ้มครอง จะมีหลักเกณฑ์รับสิทธิประโยชน์ต่างกันไป ในแต่ละกรณี เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น ประกันสังคมจะคุ้มครองในกรณีต่าง โดยเป็นไปตามเงื่อนไข ต่อไปนี้ 1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย ผู้ประกันตนจะเริ่มได้รับความคุ้มครองเมื่อจ่ายเงินสมทบไปแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือนในระยะเวลา 4 เดือนก่อนเกิดเหตุเมื่อเจ็บป่วยผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน โดยสามารถใช้สิทธิบัตรทองหรือประกันสุขภาพที่มีได้ตามปกติ เพราะประกันสังคมมาตรา 40 ไม่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล แต่จะได้รับเงินทดแทนในกรณีต่าง ๆ ดังนี้[table id=18 /] 2. กรณีทุพลภาพ ในกรณีทุพลภาพ ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทน ตามทางเลือกที่นำส่ง โดยมีรายละเอียดดังนี้[table id=20 /] 3. กรณีเสียชีวิต ต้องจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือนในเวลา 12 เดือน ก่อนเดือนที่เสียชีวิต (ยกเว้นกรณีเสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุ (จ่ายเพียง 1 ใน 6 เดือนมีสิทธิได้รับเงินค่าทำศพ) และได้รับเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต (เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 60 เดือน ก่อนเดือนที่เสียชีวิต) โดยมีรายละเอียดดังตารางนี้[table id=19 /] 4. กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกเบี้ย หากคุณเลือกประกันตนใน ทางเลือกที่ 2 หรือ 3 เมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน จะได้รับสิทธิคุ้มครอง ทางเลือกที่ 2 ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ 150 บาท/เดือน (ตามจำนวนงวดที่จ่ายเงินสมทบ พร้อมผลประโยชน์ทดแทน) สามารถฝากออมเงินเพิ่มได้ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท และได้รับเงินออมเพิ่ม 1,000 เมื่อสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ทางเลือกที่ 3 จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ 50 บาท/เดือน (ตามจำนวนงวดที่จ่ายเงินสมทบ พร้อมผลประโยชน์ทดแทน) รับเงินบำเหน็จเพิ่ม 10,000 บาท (เมื่อจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป) สามารถฝากออมเงินเพิ่มได้ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท และได้รับเงินออมเพิ่ม 1,000 บาท เมื่อ สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน [table id=21 /] 5. กรณีสงเคราะห์บุตร ผู้ประกันตน ที่เลือกทางเลือกที่ 3 และจ่ายเงินสมทบแล้วไม่น้อยกว่า 24 เดือน ภายในเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับความคุ้มครอง เมื่อนำส่งครบตามเงื่อนไขแล้ว จะได้รับเงินรายเดือนให้กับบุตรของคุณ ตั้งแต่ แรกเกิด ถึง 6 ปีบริบูรณ์ [table id=22 /]ผู้ประกันตนสามารถใช้ข้อมูลความคุ้มครองทั้ง 5 กรณีของประกันสังคม ม.40 มาเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเลือกสิ่งที่คุ้มค่าและเหมาะกับตัวเอง เมื่อตัดสินใจเลือกได้แล้ว ก็ไปสมัครกันได้เลย วิธีสมัครประกันสังคม ม.40 สมัครที่สำนักงานประกันสังคม ผู้ที่ต้องการสมัคร นำบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางการออกให้ พร้อมกรอกแบบคำขอสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.1-40) ที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) เช็กเอกสารและพื้นที่ให้บริการ สมัครผ่านเว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม เข้าเว็บไซต์ประกันสังคม    เลือกลงทะเบียนผู้ประกันตน ตามมาตรา 40 กรอกข้อมูลผู้สมัครที่จำเป็น  เลือกช่องทางการจ่ายเงินสมทบ กดยอมรับและยืนยันเงื่อนไข รอรับ SMS ยืนยันการลงทะเบียนสำเร็จ สมัครออนไลน์ สมัครผ่านช่องทางอื่น ๆ [table id=23 /] จะเบิกสิทธิต้องทำอย่างไร ผู้ประกันตน ม.40 สามารถขอเบิกสิทธิได้ โดยยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนฯ (สปส. 2-01/ม.40) ได้ที่ สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ พร้อมแนบหลักฐานประกอบการยื่น เช่น ใบรับรองแพทย์ สำเนาเวชระเบียน (ถ้ามี) บัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่หน่วยงานราชการออกให้ ภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่มีสิทธิ และจะต้องมารับเงินภายใน 2 ปีนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งให้มารับเงิน หากไม่มารับภายในเวลากำหนด เงินนั้นจะตกเป็นของกองทุนทันที เช็กขั้นตอนเบิกสิทธิทั้งหมด ประกันสังคมมาตรา 40 ถือเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ทำงานอิสระไม่มีนายจ้าง และต้องการการคุ้มครองให้ความมั่นคงกับชีวิตเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน อีกทั้งยังมีหลากหลายทางเลือกในการจ่ายเงินสมทบ และการให้ความคุ้มครองที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์และความต้องการของคุณ Link ที่เกี่ยวข้อง เว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม ตรวจสอบสถานะสิทธิ์โครงการเยียวยา ม. 40 เช็กสถานะและเงินสมทบสะสม เช็กสิทธิรักษาพยาบาล และอื่นๆ
Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save