ประกันสังคม

ขั้นตอนการยื่นภาษีประจำปี และข้อมูลการลดหย่อนภาษีที่ควรรู้

ช่วงต้นปีแบบนี้ เหล่าผู้มีรายได้ทุกคนมีนัดประจำปีกับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บางคนเพิ่งเริ่มทำงานและยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการยื่นภาษีบุคคลธรรมดามาก่อน บางคนแม้จะยื่นมาหลายปีแล้วแต่ก็ยังมึนทุกครั้งพอถึงเวลาต้องยื่นเอกสาร วันนี้มาทำความเข้าใจกันอีกรอบดีกว่า ว่าขั้นตอนการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นยังไง จะลดหย่อนภาษีได้ด้วยอะไรบ้าง และภาษีจะเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้จากบทความนี้

สารบัญ

Link ที่เกี่ยวข้อง

ประกันสังคม

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คืออะไร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่คนมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนดจะต้องจ่ายเป็นประจำทุกปี โดยจ่ายเป็นอัตราขั้นบันไดหรืออัตราก้าวหน้า คือยิ่งมีรายได้มากก็ยิ่งเสียภาษีมากตามไปด้วย ซึ่งภาษีเหล่านี้ก็คือเงินที่จะถูกนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศของเรานั่นเอง

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษีเงินได้

  • บุคคลธรรมดา
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
  • ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
  • กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
  • วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม
  • วิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

รายได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี?

เงินได้ (หรือ รายได้) ที่ต้องเสียภาษี หรือ “เงินได้พึงประเมิน” คือรายได้ที่เกิดขึ้นระหว่าง 1 มกราคม – 31 ธันวาคม ของทุกปี ได้แก่ 

  1. เงิน
  2. ทรัพย์สินที่สามารถตีราคาเป็นเงินได้ เช่น รถยนต์ บ้าน นาฬิกา เป็นต้น
  3. สิทธิประโยชน์ที่คำนวณเป็นเงินได้ เช่น ลูกจ้างที่ได้รับสิทธิอยู่บ้านฟรี หรือให้อาหารกลางวัน เป็นต้น 
  4. เงินค่าภาษีที่คนอื่นออกให้แทน เช่น การหักภาษี ณ ที่จ่าย
  5. เครดิตภาษีเงินปันผล เช่น เงินปันผลที่ได้จากหุ้น

ประเภทของเงินได้

เงินได้แบ่งออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้
  • เงินได้ประเภทที่ 1 – เงินเดือน โบนัส เงินบำนาญ
  • เงินได้ประเภทที่ 2 – เงินค่าจ้างทั่วไป ค่านายหน้า ค่าธรรมเนียม เบี้ยประชุม
  • เงินได้ประเภทที่ 3 – เงินได้จากทรัพย์สินทางปัญญาหรือทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน เช่น ค่าลิขสิทธิ์ ค่าแฟรนไชส์ ค่าสิทธิบัตร เป็นต้น
  • เงินได้ประเภทที่ 4 – ดอกเบี้ย เงินปันผลทั้งจากหุ้นและ Cryptocurrency
  • เงินได้ประเภทที่ 5 – เงินจากการให้เช่าทรัพย์สิน
  • เงินได้ประเภทที่ 6 – ค่าวิชาชีพอิสระ 6 อาชีพ คือ แพทย์ วิศวกร ผู้ตรวจสอบบัญชี จิตรกร สถาปนิก และทนาย
  • เงินได้ประเภทที่ 7 – เงินจากการรับเหมาทั้งค่าแรงและค่าอุปกรณ์
  • เงินได้ประเภทที่ 8 – เงินได้อื่น ๆ นอกจากข้อ 1 – 7 เช่น เงินได้จากการขายของออนไลน์ เป็นต้น

ลดหย่อนภาษี จากอะไรได้บ้าง

การลดหย่อนภาษี เป็นสิทธิในการยกเว้นภาษีของผู้มีรายได้ตามที่กรมสรรพากรได้ระบุไว้ ซึ่งทำได้โดยนำรายการลดหย่อนภาษีมาใช้ในการคำนวณ เพื่อสิทธิประโยชน์ในการเสียภาษีน้อยลง หรือได้รับเงินคืนภาษีมากขึ้น โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
รายการลดหย่อน
อัตราค่าลดหย่อน
1. ลดหย่อนภาษี กลุ่มครอบครัว
ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท (หักอัตโนมัติ)
ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท
(หักอัตโนมัติ หากคู่สมรสไม่มีรายได้)
ค่าลดหย่อนบุตร (ไม่เกิน 3 คน) คนละ 30,000 บาท (หักอัตโนมัติ)
ค่าลดหย่อนบิดามารดา คนละ 30,000 บาท (หักอัตโนมัติ)
ค่าฝากครรภ์และทำคลอด ครั้งละไม่เกิน 60,000 บาท (หักอัตโนมัติ)
ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท
(หักอัตโนมัติ สำหรับคนที่ดูแลคนพิการ)
2. ลดหย่อนภาษีกลุ่มประกันและการลงทุน
เบี้ยประกันชีวิต ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 25,000 บาท
(รวมกับประกันชีวิตสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท)
เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้
และไม่เกิน 200,000 บาท
เงินสมทบประกันสังคม ตามที่จ่ายจริง
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และกบข. ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้
และไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 13,200 บาท
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้
และไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้
และไม่เกิน 200,000 บาท
เงินลงทุนธุรกิจในกลุ่มวิสาหกิจเพื่อสังคม ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
3. ลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค
เงินบริจาคพรรคการเมือง ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
เงินบริจาคทั่วไป ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
4. ลดหย่อนภาษีกลุ่มนโยบายพิเศษจากรัฐ
ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
ค่าธรรมเนียมจากการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิต ตามที่จ่ายจริง
นโยบาย “ช้อปดีมีคืน 2565” ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เราสามารถคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากการนำข้อมูลรายได้ ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนภาษี มาคิดตามสูตรคำนวณภาษี โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
           1. อัตราภาษีแบบขั้นบันได
    • สำหรับผู้ที่มีรายได้ประจำเพียงช่องทางเดียว จะมีอัตราเสียภาษีแบบก้าวหน้า อยู่ที่ 5 – 35%
(ตามตารางเทียบ)
ตารางเทียบอัตราภาษีขั้นบันได
ขั้นที่
ขั้นเงินได้สุทธิ (บาท)
เงินได้สุทธิสูงสุดของแต่ละขั้น
อัตราภาษี
ภาษีสูงสุดของขั้น
ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น
1
1 - 150,000
150,000
5%
ยกเว้น
0
2
150,001 - 300,000
150,000
5%
7,500
7,500
3
300,001 - 500,000
200,000
10%
20,000
27,500
4
500,001 - 750,000
250,000
15%
37,500
65,000
5
750,001 - 1,000,000
250,000
20%
50,000
115,000
6
1,000,001 - 2,000,000
1,000,000
25%
250,000
365,000
7
2,000,001 - 5,000,000
3,000,000
30%
900,000
1,265,000
8
5,000,001 ขึ้นไป
ไม่จำกัด
35%
ไม่จำกัด
ไม่จำกัด
    2. อัตราภาษีแบบเหมา สำหรับผู้มีรายได้หลายช่องทาง นอกเหนือจากการทำงานประจำ และมีรายได้ตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป
    สูตรคำนวณ (รายได้ทุกประเภท – เงินเดือน) x 0.5%
    หมายเหตุ: ผู้ที่มีรายได้จากหลายช่องทาง ต้องใช้สูตรคำนวณทั้งสองสูตรเพื่อหาจำนวนภาษีที่ต้องจ่าย โดยให้เลือกจ่ายยอดที่สูงกว่า แต่หากยอดจ่ายภาษีแบบเหมาไม่เกิน 5,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษี

ขั้นตอนการคำนวณภาษีเงินได้

การคำนวณภาษีเงินได้ ให้ทำเป็น 3 ขั้นตอน คือ
  1. คำนวณเงินได้สุทธิ
  2. คำนวณภาษี 2 แบบ (ภาษีขั้นบันได และ ภาษีแบบเหมา)
  3. เปรียบเทียบและสรุป

1. คำนวณเงินได้สุทธิ

ตัวอย่าง นาย A เป็นพนักงานบริษัท มีรายได้จากงานประจำ 1,119,000 บาท/ปี ให้คำนวณหาเงินได้สุทธิของนาย A โดยใช้รายละเอียดของ เงินได้ ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อยภาษี ตามสูตร ดังนี้
รายการ
จำนวน (บาท)
รายการ 1,119,000
หัก ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 100,000
หัก ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000
หัก ค่าลดหย่อนประกันสังคม 9,000
หัก ค่าลดหย่อนประกันชีวิต 75,000
หัก ค่าลดหย่อนประกันสุขภาพ 25,000
รวม เงินได้สุทธิ
850,000
สูตรการคำนวณ เงินได้สุทธิ
รายได้ - ( ค่าใช้จ่าย + ค่าลดหย่อนภาษี ) = เงินได้สุทธิ
รวมเงินได้สุทธิ ของนาย A ก่อนหักภาษี 850,000 บาท

2. คำนวณภาษี 2 แบบ
แบบที่ 1 - การคำนวณภาษีแบบขั้นบันได

จากตารางข้อมูล นาย A จะมีเงินได้สุทธิ เท่ากับ 850,000 บาท จากนั้นให้เอาเงินได้สุทธิมาคำนวณ โดยเทียบตามตารางอัตราภาษีขั้นบันได เพื่อคำนวณหาภาษีที่ต้องจ่าย
แต่การคำนวณภาษีแบบขั้นบันได ไม่ใช่การเอาเงินได้สุทธิ มาคูณ กับอัตราภาษี แล้วจบ เพราะการคำนวณภาษีแบบขั้นบันไดเป็นการเสียภาษีแบบก้าวหน้า โดยมี วิธีการที่ถูกต้อง คือ การเอาเงินได้ในแต่ละขั้นมาคำนวณกับอัตราภาษี แล้วจะได้เป็นภาษีที่ต้องจ่ายในขั้นนั้น ๆ
เราต้องรู้ก่อนว่าเงินได้สุทธิของเราในแต่ละปีนั้น มีกี่ขั้น แล้วจึงนำมาคำนวณ ก็จะได้เป็นภาษีที่ต้องจ่ายในปีนั้น
สูตรการคำนวณ ภาษีแบบขั้นบันได
เงินได้สุทธิแต่ละขั้น x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย

ตัวอย่าง นาย A มีเงินได้สุทธิ 850,000 บาท จึงต้องคำนวณภาษี ทั้งหมด 5 ขั้น ดังนี้

ขั้นที่
1 - เพดานเงินได้สูงสุด
2 - เพดานเงินได้
ต่ำสุด
3 - เงินได้สุทธิแต่ละขั้น
(1)- (2)
4 - อัตราภาษี (%)
5 - ภาษีที่ต้องจ่าย
(3) x (4)
1
150,000 0 150,000 ยกเว้น 0
2
300,000 150,000 150,000 5% 7,500
3
500,000 300,000 200,000 10% 20,000
4
750,000 500,000 250,000 15% 37,500
5
850,000 750,000 100,000 20% 20,000
85,000
เมื่อคำนวณภาษีทั้ง 5 ขั้นแล้ว ให้นำภาษีในแต่ละขั้นมารวมกัน ก็จะได้เป็นภาษีที่ต้องจ่าย คือ 85,000 บาท

แบบที่ 2 - การคำนวณภาษีแบบเหมา

การคำนวณภาษีแบบเหมา จะถูกนำมาใช้ก็ต่อเมื่อมีรายได้มากกว่า 1 ช่องทาง หากรายได้ในช่องทางอื่นมีมูลค่ารวมกัน 120,000 บาทขึ้นไป ให้คำนวณภาษีแบบเหมา ตามสูตรนี้
สูตรการคำนวณ ภาษีแบบเหมา
(รายได้ทุกประเภท - เงินเดือน) x 0.5% = ภาษีแบบเหมา
เนื่องจาก นาย A เป็นพนักงานบริษัทที่มีรายได้ทางเดียว คือ เงินเดือน จึงไม่ต้องคำนวณภาษีแบบเหมา

3. เปรียบเทียบและสรุป

ขั้นตอนนี้ เป็นการเปรียบเทียบการคำนวณภาษีทั้ง 2 แบบ (แบบขั้นบันได และ แบบเหมา) หากวิธีใดคำนวณออกมาแล้วเสียภาษีสูงกว่า ให้เลือกการเสียภาษีแบบนั้น

วิธียื่นเสียภาษี

การยื่นเสียภาษี เป็นการใช้ข้อมูลเงินของปีก่อนหน้า เพื่อนำมาคำนวณและยื่นเสียภาษีประจำปี มีขั้นตอน ดังนี้

เลือกประเภทของแบบฟอร์ม

  • ภ.ง.ด. 91 คือ ผู้ที่มีรายได้จากช่องทางเดียว เช่น พนักงานบริษัท
  • ภ.ง.ด. 90 คือ ผู้ที่มีรายได้หลายช่องทาง เช่น ฟรีแลนซ์ หรือพ่อค้าแม่ค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคล เป็นต้น

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายหรือใบ 50 ทวิ สำหรับพนักงานออฟฟิศหรือผู้ที่เคยถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้
  • รายการลดหย่อนภาษีของทั้งปี
  • เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี สำหรับใช้เป็นหลักฐานในการยื่นเรื่อง
  • บัญชีธนาคารที่ผูกกับพร้อมเพย์สำหรับรับเงินในกรณีที่ได้ภาษีคืน ซึ่งวิธีนี้จะได้เงินเร็วกว่าการสั่งจ่ายเงินแบบเช็คและส่งผ่านทางไปรษณีย์

วิธีการชำระ

  1. ชำระผ่านช่องทางออนไลน์
    • ชำระด้วย E – Payment
    • ชำระด้วยบัตรเครดิตและบัตรเดบิต
    • ชำระด้วย Internet Banking และ Mobile Banking
    • ชำระผ่านแอป True Money และ easyBills
  2. ชำระผ่านช่องทางออฟไลน์
    • ชำระผ่านตู้ ATM
    • ชำระผ่าน Tele Banking ของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ
    • ชำระได้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส บิ๊กซี และโลตัส
    • ชำระได้ที่ที่ทำการไปรษณีย์
    • ชำระได้ที่ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ
    • ชำระด้วยบัตรเอเทีเอ็ม บัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต ได้ที่สำนักงานสรรพากรสาขาที่กำหนด
    • ชำระด้วยเช็คหรือดราฟต์ ได้ที่สำนักงานสรรพากรสาขาที่กำหนด
    • ชำระด้วยธนาณัติ สำหรับผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพเท่านั้น

การขอผ่อนชำระ

  • มียอดเสียภาษีเกิน 3,000 บาท
  • สามารถยื่นเรื่องขอผ่อนชำระได้ ทั้งในกรณียื่นภาษีออนไลน์และยื่นที่สรรพากร
  • สามารถแบ่งจ่ายได้ 3 งวด งวดละเท่ากัน โดยไม่เสียดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แต่หากไม่จ่ายภายในระยะเวลาที่กำหนด จะถูกคิดดอกเบี้ย 1.5% ของยอดภาษีที่ค้างจ่าย/เดือน
    • งวดที่ 1 จ่ายในวันที่ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    • งวดที่ 2 จ่ายภายใน 1 เดือน หลังจากการจ่ายงวดที่ 1
    • งวดที่ 3 จ่ายภายใน 1 เดือน หลังจากการจ่ายงวดที่ 2

ช่องทางการยื่นภาษี

ยื่นแบบกระดาษ
ยื่นออนไลน์
ยื่นผ่านแอปพลิเคชัน
กรมสรรพากร,ที่ทำการไปรษณีย์
www.rd.go.th
RD Smart Tax

Tips: ปีภาษี 2564 ยื่นภาษีได้ถึงเมื่อไหร่?

ยื่นแบบกระดาษ
ยื่นออนไลน์
ยื่นผ่านแอปพลิเคชัน
1 ม.ค. - 31 มี.ค. 2565
1 ม.ค. - 8 เม.ย. 2565
1 ม.ค. - 8 เม.ย. 2565

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอาจจะดูเข้าใจยากและซับซ้อนสำหรับมือใหม่หัดยื่นภาษี แต่ถ้าเราลองศึกษาและทำความเข้าใจ จะเห็นได้ว่าไม่ยากอย่างที่คิดเลย หากเราเข้าใจกลไกของการเสียภาษีเงินได้บุคคลอย่างดีแล้ว เราจะเห็นช่องทางของการบริหารการเสียภาษี และสามารถหาสิ่งที่จะมาช่วยลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมได้ ใครยังอยากศึกษาหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถ
โทร 1161 วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 18.00 น. กันได้เลย

Link ที่เกี่ยวข้อง

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save