ประกันสังคม

ประกันสังคม ม.33 คืออะไร? ให้สิทธิอะไรคนทำงานบ้าง

ประกันสังคม มีความสำคัญกับคนทำงานมากกว่าที่คิด ไม่เพียงให้สิทธิประโยชน์และความคุ้มครองในการใช้ชีวิตเท่านั้น แต่ยังเป็นหลักประกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นตลอดชีวิตการทำงานด้วย แต่หลายคนก็ยังไม่รู้ว่าประกันสังคม มีความสำคัญอย่างไร ให้สิทธิอะไรบ้าง ตามมาอ่านกันได้เลย

สารบัญ

Link ที่เกี่ยวข้อง

ประกันสังคม

ทำไมต้องทำประกันสังคม ม.33

คนทำงานหลายคนอาจจะยังไม่ค่อยเห็นความสำคัญของประกันสังคม แต่ในทางกลับกัน ประกันสังคมจะเป็นแหล่งพึ่งพาในวันที่ต้องการความช่วยเหลือ ให้ผู้ประกันตนมีรายได้เจือจุน เสมือนเป็นหลักประกันที่ช่วยสร้างความมั่นคงในการใช้ชีวิต แถมด้วยสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองต่าง ๆ ให้กับคนทำงาน คนทำงานจึงต้องสมทบเงินเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน

ผู้ที่มีสิทธิสมัครเป็นผู้กันตน ม.33 จะต้องเป็นมนุษย์เงินเดือนที่ทำงานตามบริษัทเอกชนทั่วไป หรือพนักงานประจำที่มีนายจ้าง ซึ่งมีช่วงอายุ 15-60 ปีบริบูรณ์ โดยนายจ้างจะเป็นผู้แจ้งขึ้นทะเบียนต่อสำนักงานประกันสังคมให้ลูกจ้าง ซึ่งความคุ้มครองที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จะได้รับมีดังนี้ 

ประกันสังคม

สิทธิประโยชน์ และความคุ้มครอง

  • ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย 
  • คลอดบุตร 
  • ทุพพลภาพ 
  • เสียชีวิต 
  • สงเคราะห์บุตร  
  • ชราภาพ 
  • ว่างงาน

สมทบเงินไว้ ให้ได้รับสิทธิ

สำนักงานประกันสังคมกำหนดให้จ่ายเงินเข้าประกันสังคม โดยคำนวณจาก 5% ของเงินเดือน (คำนวณจากฐานเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท) ดังนั้น ผู้ประกันตนจึงจ่ายเงินสมทบสูงสุด ไม่เกิน 750 บาท/เดือน นอกจากนี้ นายจ้าง และรัฐบาล จะร่วมจ่ายเงินสมทบในแต่ละเดือนให้ด้วย

ตัวอย่างการคำนวณเงินสมทบ

เงินเดือนอัตราเงินสมทบ (%)จำนวนเงินสมทบ
(บาท/เดือน)
15,000
(คำนวณจากฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท)
ลูกจ้าง (5%)750
นายจ้าง (5%)750
รัฐบาล (2.75%)412.5
ยอดรวมเงินสมทบลูกจ้าง + นายจ้าง + รัฐบาล1,912.5
* ยอดรวมเงินสมทบ (เงินที่ผู้ประกันตนจ่ายเอง + เงินสมทบที่ได้จากนายจ้าง และรัฐบาล) สามารถขอรับเงินคืนได้เมื่อถึงวัยเกษียณ

สุข-ทุกข์ ก็ได้รับสิทธิความคุ้มครอง

ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิความคุ้มครองใน 7 กรณีหลัก ดังนี้
 สิทธิประโยชน์เงื่อนไขการได้รับความคุ้มครอง
กรณีเจ็บป่วย
  • รักษาพยาบาลในโรงพยาบาล/สถานพยาบาล ตามสิทธิ
  • ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
  • ได้รับค่าทำฟัน 900 บาท / ปี
  • ค่าตรวจสุขภาพทั่วไปประจำปี
  • ได้รับการบำบัดกรณี ต่อไปนี้
    • ทดแทนไตกรณีไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
    • ปลูกถ่ายไขกระดูก
    • การผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ (หัวใจ ปอด ตับ ตับอ่อน)
    • เปลี่ยนอวัยวะ
    • อุปกรณ์ในการบำบัดรักษา
  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ สูงสุด 250 บาท ( ไม่เกิน 90 วัน/ครั้ง และ 180 วัน/ปี)
จ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนเดือนที่เกิดเหตุทุพพลภาพ
กรณีคลอดบุตร
  • ได้รับเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 15,000 บาท/การคลอด 1 ครั้ง แต่ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
  • เงินสงเคราะห์การหยุดงาน 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย*เป็นเวลา 90 วัน เบิกได้ไม่เกิน 2 ครั้ง
  • ค่าตรวจและรับฝากครรภ์ตามอายุครรภ์
*ผู้ประกันตนชายจะได้รับเฉพาะเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 15,000 บาท
จ่ายเงินสมทบครบ 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนเดือนที่คลอด
กรณีทุพพลภาพ
  • ทุพพลภาพไม่รุนแรง คือ มีระดับความสูญเสีย ร้อยละ 35 แต่ไม่ถึงร้อยละ 50 จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาตามประกาศฯ กำหนด
  • ทุพพลภาพรุนแรง คือ มีระดับความสูญความสูญเสียตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้าง*เป็นรายเดือน ตลอดชีวิต
จ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนเดือนที่เกิดเหตุทุพพลภาพ
กรณีเสียชีวิต
  • ค่าทำศพ 50,000 บาท
  • ไม่ได้รับเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต

จ่ายเงินสมทบครบ 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือนก่อนเสียชีวิต
  • ค่าทำศพ 50,000 บาท
  • ได้รับเงินสงเคราะห์ เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย* 2 เดือน
จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน
  • ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท
  • ได้รับเงินสงเคราะห์ เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย* 6 เดือน
จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป
กรณีสงเคราะห์บุตรได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 บาท/ 1 คน แต่ไม่เกิน 3 คน
(เด็กแรกเกิด จนถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์)
จ่ายเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือนก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
กรณีชราภาพเงินบำเหน็จชราภาพได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ เฉพาะส่วนที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเข้ามา แต่จะไม่ได้เงินส่วนที่นายจ้างสมทบมาให้จ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน
(จ่ายเงินสมทบ 1-11 เดือน)
ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ ทั้งส่วนที่ผู้ประกันตนสมทบ และส่วนที่นายจ้างสมทบให้จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป
(จ่ายเงินสมทบ 12-179 เดือน)
เงินบำนาญชราภาพได้รับเงินบำนาญ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย* 60 เดือนสุดท้าย โดยจะได้รับเป็นรายเดือน
จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 180 เดือน
(ต้องจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน หรือ 15 ปี)
ได้รับเงินบำนาญเพิ่มอีก 1.5% ทุก ๆ 1 ปี (ได้รับเพิ่มจาก 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย* 60 เดือนสุดท้าย)
จ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน

กรณีว่างงาน
  • กรณีถูกเลิกจ้างจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในช่วงว่างงาน 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย* ครั้งละไม่เกิน 180 วัน
  • กรณีที่ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ช่วงว่างงาน 30% ของค่าจ้างเฉลี่ย* ครั้งละไม่เกิน 90 วัน
  • การว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย เช่น การเกิดโรคระบาด (ตัวอย่างเช่น การแพร่ระบาดของ COVID-19) จนเป็นเหตุให้นายจ้างต้องหยุดกิจการชั่วคราว หรือหน่วยงานภาครัฐสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว ทำให้ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
หมายเหตุ:
ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานและรายงานตัวทาง เว็บไซต์ DOE ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างฯ เพื่อรักษาสิทธิในการรับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีว่างงาน หรือ รายงานตัวกรณีว่างงานได้ที่ DGA Contact Center 02-612-6060
ส่งเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน

*ฐานเงินเดือนสูงสุดที่นำมาใช้คำนวณ ไม่เกิน 15,000 บาท

สะดวกสบาย ส่งเงินง่าย เช็กได้ทุกเมื่อ

การสมทบเงินเข้ากองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตน ม.33 นั้น ไม่ต้องจ่ายด้วยตัวเอง เพราะบริษัทจะเป็นคนจัดการให้ โดยหักจากเงินเดือนทุกเดือน ผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบจำนวนเงินสมทบ หรือสิทธิการรักษาพยาบาลและเรื่องต่าง ๆ ผ่านทาง แอปพลิเคชันทางรัฐ   และช่องทาง ต่อไปนี้ 

ประกันสังคม

SSO Connect Android | iOS

โทร 1506
(ตลอด 24 ชั่วโมง)

วันนี้คุณรู้สิทธิประโยชน์ของมนุษย์เงินเดือนครบถ้วนแล้วหรือยัง? ถ้ายังลองศึกษาข้อมูลและติดตามข่าวสารที่จะได้รับจาก ม.33 จากช่องทางที่สะดวก เพื่อจะได้เข้าใจสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ผู้ประกันตนทุกคนจะได้รับ ไม่ว่าคุณจะเจ็บป่วย คลอดบุตร พิการ เสียชีวิต หรือแม้แต่ชราภาพ เมื่อเข้าใจรายละเอียดเป็นอย่างดีแล้ว จะช่วยให้ใช้สิทธิได้โดยไม่เสียสิทธิดี ๆ ที่จะได้จากประกันสังคมไป

Link ที่เกี่ยวข้อง

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save