ทุกๆต้นปี เหล่าผู้มีรายได้ทุกคนมีนัดประจำปีกับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บางคนเพิ่งเริ่มทำงานและยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการยื่นภาษีบุคคลธรรมดามาก่อน บางคนแม้จะยื่นมาหลายปีแล้วแต่ก็ยังมึนทุกครั้งพอถึงเวลาต้องยื่นเอกสาร เรามาทำความเข้าใจกันอีกรอบดีกว่า ว่าขั้นตอนการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นยังไง จะลดหย่อนภาษีได้ด้วยอะไรบ้าง และภาษีจะเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้จากบทความนี้
Link ที่เกี่ยวข้อง
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คืออะไร
ใครบ้างที่ต้องเสียภาษีเงินได้
- บุคคลธรรมดา
- ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
- ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
- กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
- วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม
- วิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
รายได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี?
เงินได้ (หรือ รายได้) ที่ต้องเสียภาษี หรือ “เงินได้พึงประเมิน” คือรายได้ที่เกิดขึ้นระหว่าง 1 มกราคม – 31 ธันวาคม ของทุกปี ได้แก่
- รายได้ หรือ เงินที่ได้รับระหว่างปีภาษี
- ทรัพย์สินที่สามารถตีราคาเป็นเงินได้ เช่น รถยนต์ บ้าน นาฬิกา เป็นต้น
- สิทธิประโยชน์ที่คำนวณเป็นเงินได้ เช่น ลูกจ้างที่ได้รับสิทธิอยู่บ้านฟรี หรือให้อาหารกลางวัน เป็นต้น
- เงินค่าภาษีที่คนอื่นออกให้แทน เช่น การหักภาษี ณ ที่จ่าย
- เครดิตภาษีเงินปันผล เช่น เงินปันผลที่ได้จากหุ้น
ประเภทของเงินได้
- เงินได้ประเภทที่ 1 – เงินเดือน โบนัส เงินบำนาญ
- เงินได้ประเภทที่ 2 – เงินค่าจ้างทั่วไป ค่านายหน้า ค่าธรรมเนียม เบี้ยประชุม
- เงินได้ประเภทที่ 3 – เงินได้จากทรัพย์สินทางปัญญาหรือทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน เช่น ค่าลิขสิทธิ์ ค่าแฟรนไชส์ ค่าสิทธิบัตร เป็นต้น
- เงินได้ประเภทที่ 4 – ดอกเบี้ย เงินปันผลทั้งจากหุ้นและ Cryptocurrency
- เงินได้ประเภทที่ 5 – เงินจากการให้เช่าทรัพย์สิน
- เงินได้ประเภทที่ 6 – ค่าวิชาชีพอิสระ 6 อาชีพ คือ แพทย์ วิศวกร ผู้ตรวจสอบบัญชี จิตรกร สถาปนิก และทนาย
- เงินได้ประเภทที่ 7 – เงินจากการรับเหมาทั้งค่าแรงและค่าอุปกรณ์
- เงินได้ประเภทที่ 8 – เงินได้อื่น ๆ นอกจากข้อ 1 – 7 เช่น เงินได้จากการขายของออนไลน์ เป็นต้น
ลดหย่อนภาษี จากอะไรได้บ้าง
ค่าลดหย่อนส่วนตัว | 60,000 บาท (หักอัตโนมัติ) | |
ค่าลดหย่อนคู่สมรส | 60,000 บาท
(หักอัตโนมัติ หากคู่สมรสไม่มีรายได้) |
|
ค่าลดหย่อนบุตร (ไม่เกิน 3 คน) | คนละ 30,000 บาท (หักอัตโนมัติ) | |
ค่าลดหย่อนบิดามารดา | คนละ 30,000 บาท (หักอัตโนมัติ) | |
ค่าฝากครรภ์และทำคลอด | ครั้งละไม่เกิน 60,000 บาท (หักอัตโนมัติ) | |
ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ | คนละ 60,000 บาท
(หักอัตโนมัติ สำหรับคนที่ดูแลคนพิการ) |
|
เบี้ยประกันชีวิต | ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท | |
เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง | ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 25,000 บาท (รวมกับประกันชีวิตสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท) |
|
เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา | ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท | |
เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ | ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ และไม่เกิน 200,000 บาท |
|
เงินสมทบประกันสังคม | ตามที่จ่ายจริง | |
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และกบข. | ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ และไม่เกิน 500,000 บาท |
|
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) | ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 13,200 บาท | |
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) | ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ และไม่เกิน 500,000 บาท |
|
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) | ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ และไม่เกิน 200,000 บาท |
|
เงินลงทุนธุรกิจในกลุ่มวิสาหกิจเพื่อสังคม | ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท | |
เงินบริจาคพรรคการเมือง | ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท | |
เงินบริจาคทั่วไป | ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน | |
เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ | ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน | |
ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย | ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท | |
ค่าธรรมเนียมจากการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิต | ตามที่จ่ายจริง | |
นโยบาย “ช้อปดีมีคืน 2565” | ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท |
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เราสามารถคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากการนำข้อมูลรายได้ ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนภาษี มาคิดตามสูตรคำนวณภาษี โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. อัตราภาษีแบบขั้นบันได
- สำหรับผู้ที่มีรายได้ประจำเพียงช่องทางเดียว จะมีอัตราเสียภาษีแบบก้าวหน้า อยู่ที่ 5 – 35% (ตามตารางเทียบ)
1 - 150,000 | |||||
150,001 - 300,000 | |||||
300,001 - 500,000 | |||||
500,001 - 750,000 | |||||
750,001 - 1,000,000 | |||||
1,000,001 - 2,000,000 | |||||
2,000,001 - 5,000,000 | |||||
5,000,001 ขึ้นไป |
-
2. อัตราภาษีแบบเหมา สำหรับผู้มีรายได้หลายช่องทาง นอกเหนือจากการทำงานประจำ และมีรายได้ตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป
สูตรคำนวณ (รายได้ทุกประเภท – เงินเดือน) x 0.5%
หมายเหตุ: ผู้ที่มีรายได้จากหลายช่องทาง ต้องใช้สูตรคำนวณทั้งสองสูตรเพื่อหาจำนวนภาษีที่ต้องจ่าย โดยให้เลือกจ่ายยอดที่สูงกว่า แต่หากยอดจ่ายภาษีแบบเหมาไม่เกิน 5,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษี
ขั้นตอนการคำนวณภาษีเงินได้
- คำนวณเงินได้สุทธิ
- คำนวณภาษี 2 แบบ (ภาษีขั้นบันได และ ภาษีแบบเหมา)
- เปรียบเทียบและสรุป
1. คำนวณเงินได้สุทธิ
รายการ | 1,119,000 |
หัก ค่าใช้จ่ายส่วนตัว | 100,000 |
หัก ค่าลดหย่อนส่วนตัว | 60,000 |
หัก ค่าลดหย่อนประกันสังคม | 9,000 |
หัก ค่าลดหย่อนประกันชีวิต | 75,000 |
หัก ค่าลดหย่อนประกันสุขภาพ | 25,000 |
850,000 |
2. คำนวณภาษี 2 แบบ
แบบที่ 1 - การคำนวณภาษีแบบขั้นบันได
จากตารางข้อมูล นาย A จะมีเงินได้สุทธิ เท่ากับ 850,000 บาท จากนั้นให้เอาเงินได้สุทธิมาคำนวณ โดยเทียบตามตารางอัตราภาษีขั้นบันได เพื่อคำนวณหาภาษีที่ต้องจ่าย
แต่การคำนวณภาษีแบบขั้นบันได ไม่ใช่การเอาเงินได้สุทธิ มาคูณ กับอัตราภาษี แล้วจบ เพราะการคำนวณภาษีแบบขั้นบันไดเป็นการเสียภาษีแบบก้าวหน้า โดยมี วิธีการที่ถูกต้อง คือ การเอาเงินได้ในแต่ละขั้นมาคำนวณกับอัตราภาษี แล้วจะได้เป็นภาษีที่ต้องจ่ายในขั้นนั้น ๆ
เราต้องรู้ก่อนว่าเงินได้สุทธิของเราในแต่ละปีนั้น มีกี่ขั้น แล้วจึงนำมาคำนวณ ก็จะได้เป็นภาษีที่ต้องจ่ายในปีนั้น
ตัวอย่าง นาย A มีเงินได้สุทธิ 850,000 บาท จึงต้องคำนวณภาษี ทั้งหมด 5 ขั้น ดังนี้
2 - เพดานเงินได้ ต่ำสุด |
(1)- (2) |
(3) x (4) |
|||
---|---|---|---|---|---|
150,000 | 0 | 150,000 | ยกเว้น | 0 | |
300,000 | 150,000 | 150,000 | 5% | 7,500 | |
500,000 | 300,000 | 200,000 | 10% | 20,000 | |
750,000 | 500,000 | 250,000 | 15% | 37,500 | |
850,000 | 750,000 | 100,000 | 20% | 20,000 | |
85,000 |
แบบที่ 2 - การคำนวณภาษีแบบเหมา
3. เปรียบเทียบและสรุป
ขั้นตอนนี้ เป็นการเปรียบเทียบการคำนวณภาษีทั้ง 2 แบบ (แบบขั้นบันได และ แบบเหมา) หากวิธีใดมีจำนวนสูงกว่า ให้เลือกจำนวนภาษีนั้นเป็นจำนวนที่ต้องเสียสำหรับปีภาษีนั้น เนื่องจากเป็นจำนวนที่ครอบคลุมรายรับทั้งหมด และเพื่อหลีกเลี่ยงการโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง
วิธียื่นเสียภาษี
การยื่นเสียภาษี เป็นการใช้ข้อมูลเงินของปีก่อนหน้า เพื่อนำมาคำนวณและยื่นเสียภาษีประจำปี มีขั้นตอน ดังนี้
เลือกประเภทของแบบฟอร์ม
- ภ.ง.ด. 91 คือ ผู้ที่มีรายได้จากช่องทางเดียว เช่น พนักงานบริษัท
- ภ.ง.ด. 90 คือ ผู้ที่มีรายได้หลายช่องทาง เช่น ฟรีแลนซ์ หรือพ่อค้าแม่ค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคล เป็นต้น
เอกสารที่ต้องเตรียม
- หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายหรือใบ 50 ทวิ สำหรับพนักงานออฟฟิศหรือผู้ที่เคยถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้
- รายการลดหย่อนภาษีของทั้งปี
- เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี สำหรับใช้เป็นหลักฐานในการยื่นเรื่อง
- บัญชีธนาคารที่ผูกกับพร้อมเพย์สำหรับรับเงินในกรณีที่ได้ภาษีคืน ซึ่งวิธีนี้จะได้เงินเร็วกว่าการสั่งจ่ายเงินแบบเช็คและส่งผ่านทางไปรษณีย์
วิธีการชำระ
- ชำระผ่านช่องทางออนไลน์
- ชำระด้วย E – Payment
- ชำระด้วยบัตรเครดิตและบัตรเดบิต
- ชำระด้วย Internet Banking และ Mobile Banking
- ชำระผ่านแอป True Money และ easyBills
- ชำระผ่านช่องทางออฟไลน์
- ชำระผ่านตู้ ATM
- ชำระผ่าน Tele Banking ของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ
- ชำระได้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส บิ๊กซี และโลตัส
- ชำระได้ที่ที่ทำการไปรษณีย์
- ชำระได้ที่ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ
- ชำระด้วยบัตรเอเทีเอ็ม บัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต ได้ที่สำนักงานสรรพากรสาขาที่กำหนด
- ชำระด้วยเช็คหรือดราฟต์ ได้ที่สำนักงานสรรพากรสาขาที่กำหนด
- ชำระด้วยธนาณัติ สำหรับผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพเท่านั้น
การขอผ่อนชำระ
- มียอดเสียภาษีเกิน 3,000 บาท
- สามารถยื่นเรื่องขอผ่อนชำระได้ ทั้งในกรณียื่นภาษีออนไลน์และยื่นที่สรรพากร
- สามารถแบ่งจ่ายได้ 3 งวด งวดละเท่ากัน โดยไม่เสียดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แต่หากไม่จ่ายภายในระยะเวลาที่กำหนด จะถูกคิดดอกเบี้ย 1.5% ของยอดภาษีที่ค้างจ่าย/เดือน
- งวดที่ 1 จ่ายในวันที่ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- งวดที่ 2 จ่ายภายใน 1 เดือน หลังจากการจ่ายงวดที่ 1
- งวดที่ 3 จ่ายภายใน 1 เดือน หลังจากการจ่ายงวดที่ 2
ช่องทางการยื่นภาษี
Tips: ปีภาษี 2564 ยื่นภาษีได้ถึงเมื่อไหร่?
การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอาจจะดูเข้าใจยากและซับซ้อนสำหรับมือใหม่หัดยื่นภาษี แต่ถ้าเราลองศึกษาและทำความเข้าใจ จะเห็นได้ว่าไม่ยากอย่างที่คิดเลย หากเราเข้าใจกลไกของการเสียภาษีเงินได้บุคคลอย่างดีแล้ว เราจะเห็นช่องทางของการบริหารการเสียภาษี และสามารถหาสิ่งที่จะมาช่วยลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมได้ ใครยังอยากศึกษาหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถโทร 1161 วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 18.00 น. กันได้เลย