1669

เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ฟรีทุกสิทธิ 72 ชม. ทุกรพ. จริงหรือ?

รู้่หรือไม่ “เจ็บป่วยฉุกเฉิน” รักษาฟรีทุกโรงพยาบาล โดยโรงพยาบาลไม่มีสิทธิเรียกเก็บเงิน ตามนโยบาย UCEP (Universal Coverage for Emergency Patients ) เพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดจนพ้นวิกฤตหรือภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง มาดูรายละเอียดเพิ่มเติมกัน

Link ที่เกี่ยวข้อง

สิทธิ UCEP คืออะไร ใครมีสิทธิบ้าง?

ในช่วงภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉิน ทุกคนจะได้รับ สิทธิ UCEP หรือ Universal Coverage for Emergency Patients คือสิทธิการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตามนโยบายรัฐ สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนพ้นภาวะวิกฤติ หรือภายใน 72 ชั่วโมงนับจากวันที่เข้ารับการรักษา

เจ็บป่วยแค่ไหน ถึงเรียกว่า “ฉุกเฉิน”

หลายคนอาจยังสงสัยว่า แบบไหนนะ ถึงเรียกว่าเจ็บป่วยฉุกเฉินที่เข้าข่าย สิทธิ UCEP ซึ่งคำจำกัดความของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ระบุว่า
“เจ็บป่วยฉุกเฉิน” คือ การได้รับอุบัติเหตุ หรือมีอาการเจ็บป่วยกระทันหัน ซึ่งเป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิต หรือการทำงานของอวัยวะสำคัญ จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันการเสียชีวิต หรืออาการบาดเจ็บนั้น มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น

อาการผู้ป่วยฉุกเฉินทางการแพทย์ 5 ระดับ

  • สีแดง มีภาวะคุกคามที่อาจทำให้เสียชีวิต ต้องได้รับการรักษาทันที เช่น ภาวะหัวใจหยุดเต้น ผู้ป่วยมีอาการชัก
  • สีชมพู มีภาวะเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ควรได้รับการตรวจภายใน 10 นาที เช่น ชีพจรเต้นผิดปกติ เจ็บหน้าอก
  • สีเหลือง ผู้ป่วยฉุกเฉิน ที่ต้องได้รับการตรวจภายใน 30 นาที เช่น มีไข้สูง 40 องศา สูญเสียการมองเห็นฉับพลัน
  • สีเขียว ผู้ป่วยเจ็บเล็กน้อย ต้องได้รับการตรวจภายใน 1 ชั่วโมง คือ ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเล็กน้อย แต่ไม่มีภาวะเร่งด่วนทางการแพทย์ เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะ อาเจียน มีไข้ต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส
  • สีขาว ผู้ป่วยนอกทั่วไป หรือผู้ป่วยที่มารับยากลับบ้านซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ ควรได้รับการตรวจภายใน 2 ชั่วโมง

TIP BOX: UCEP Plus  คืออะไร?

ในช่วง สถานการณ์ การแพร่ระบาดของโควิด 19 หลายคนอาจจะเริ่มสับสนระหว่างสิทธิ UCEP กับ UCEP Plus คืออะไร? แตกต่างกันอย่างไร?

จำกันง่าย ๆ UCEP Plus คือ ระบบที่จัดทำขึ้นมาเพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด 19 ที่เข้าข่ายตามเกณฑ์ที่กำหนด สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ทุกแห่งได้ฟรี ส่วนสิทธิ UCEP คือสิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉินทั่วไปที่สามารถรักษาฟรีใน 72 ชั่วโมง

แล้วผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้าข่าย รับสิทธิ UCEP Plus แบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ ดังนี้

  • ผู้ป่วยสีเขียว รักษาที่บ้าน (HI/CI First) มีระบบติดตามประเมินอาการอย่างสม่ำเสมอ
  • ผู้ป่วยสีเขียวที่อาการของโรคโควิดไม่ได้รุนแรง
  • ผู้ป่วยสีเหลืองปอดอักเสบ 2 ระดับ คือ ต้องใช้เครื่องให้ออกซิเจนแคนนูลา และต้องใช้ออกซิเจนแบบไฮโฟลว์
  • ผู้ป่วยสีแดง ที่เป็นผู้ป่วยวิกฤติในไอซียู หรือ จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

ใครบ้างได้สิทธิ ฉุกเฉินรักษาฟรี

ต้องบอกว่าใครก็ตามที่เป็นประชาชนคนไทย ไม่ว่าจะเป็นสิทธิข้าราชการ สิทธิประกันสังคม สิทธิบัตรทอง หรือ ไม่ได้มีสิทธิการรักษาอะไรเลย หากมีอาการ เจ็บป่วย ฉุกเฉิน สามารถรักษาฟรี โดยผู้ป่วยที่มีอาการฉุกเฉินต้องมี 6 อาการที่เข้าข่าย ดังนี้

เช็ค 6 อาการเข้าข่าย ภาวะฉุกเฉินวิกฤติ

หากไม่รู้ว่าตัวเองมีอาการที่เข้าข่ายฉุกเฉินตามคำนิยามเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือไม่ ลองเช็กอาการเบื้องต้นหากพบ 6 อาการเข้าข่ายฉุกเฉินวิกฤติ เข้ารับการรักษาได้ทุก รพ. ทั้งรัฐและเอกชน โดยแพทย์จะประเมินว่าเข้าข่ายเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินหรือไม่

  1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
  2. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรงหายใจติดขัดมีเสียงดัง
  3. ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น
  4. เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
  5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกพูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วนหรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
  6. อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิต หากพบอาการที่เข้าข่าย

เจ็บป่วยฉุกเฉิน โทร.1669 เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ โดยไม่ต้องสำรองจ่าย โดยจะมีเจ้าหน้าที่แพทย์ฉุกเฉินทำหน้าที่ประสานงานรถของการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งจะเป็น รถฉุกเฉิน หรือรถพยาบาลในพื้นที่ให้มารับผู้ป่วย

ขั้นตอนการใช้สิทธิ ต้องทำอย่างไร

ก่อนจะใช้สิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถดำเนินการตามขั้นตอนได้ ดังนี้

  1. ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด โดยให้แจ้ง รพ.ว่าใช้สิทธิ UCEP
  2. โรงพยาบาลประเมินอาการ และคัดแยกระดับความฉุกเฉิน
  3. ระหว่างโรงพยาบาลประเมินอาการ ติดต่อ ศูนย์ประสานงานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หมายเลข 02-872-1669
  4. กรณีเข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤต จะได้รับความคุ้มครองตามสิทธิ UCEP ทันทีแต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง หรือ พ้นวิกฤติ
  5. กรณีไม่เข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤตให้รีบประสานโรงพยาบาลตามสิทธิหากประสงค์รักษาต่อต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

สถานพยาบาลไม่สามารถปฏิเสธการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินได้

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจร่วมกันว่าสิทธิ UCEP เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศบังคับใช้กับสถานพยาบาล หากมีผู้ป่วยฉุกเฉินเข้ารับการรักษา ไม่มีสิทธิปฏิเสธ

ตาม พ.ร.บ. สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 มาตรา 36 และมาตรา 66 มีหลักดังนี้ สถานพยาบาลต้องควบคุมและดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วย ซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้ป่วยพ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพและประเภทของสถานพยาบาลนั้น ๆ หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนั้น ผู้เสียหายยังเรียกค่าเสียหายได้อีก ที่โรงพยาบาลปฏิเสธการรักษาคนไข้ ถือเป็นเรื่องไร้จรรยาบรรณอย่างร้ายแรงมาก และยังผิดกฎหมายด้วย

หาก สงสัยสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) โทร. 02-872-1669 หรือ E-mail ucepcenter@niems.go.th ติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง

หรือ ติดต่อ 1669 / 1330 หากผู้ป่วยเข้าข่ายฉุกเฉิน สามารถเข้ารับการรักษาได้ โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่าย

ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร หากเป็นผู้ป่วยที่เข้าข่าย อาการป่วยฉุกเฉิน ตาม 6 อาการด้านบน สามารถเข้ารับการรักษา โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ตามนโยบาย UCEP โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนพ้นวิกฤตและสามารถคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง

Link ที่เกี่ยวข้อง

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า