การขอย้ายสิทธิรักษาพยาบาลบัตรทองสามารถทำด้วยตัวเองได้ โดยมีขั้นตอนง่าย ๆ ที่สามารถทำผ่านระบบออนไลน์ บนแอปพลิเคชันของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) หรือการแอดไลน์ สปสช. @nhso ซึ่งมีความสะดวกกว่าการไปขอย้ายสิทธิที่จุดบริการ โดยการขอย้ายสิทธิบัตรทองผ่านออนไลน์สามารถทำตามขั้นตอนในบทความนี้ได้เลย
Link ที่เกี่ยวข้อง
การย้ายสิทธิบัตรทอง ทำได้หรือไม่
การย้ายสิทธิบัตรทอง สามารถทำได้ เมื่อผู้ถือบัตรทองไม่สบายแล้วไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่มีสิทธิในการรักษา สามารถยื่นขอย้ายโรงพยาบาลหรือหน่วยบริการในการรักษาพยาบาลได้ด้วยตัวเอง โดยช่องทางที่เร็วที่สุด คือ การขอย้ายสิทธิผ่านระบบออนไลน์ได้ภายในวันเดียว
จากเดิมผู้ถือบัตรต้องเดินทางไปยื่นความจำนงกับเจ้าหน้าที่ ณ จุดบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. ต้องใช้เวลาตรวจสอบสิทธินาน 15 วัน จึงจะสามารถใช้สิทธิกับหน่วยบริการใหม่ได้
ย้ายสิทธิบัตรทองโดยไม่ต้องย้ายทะเบียนบ้านได้หรือไม่
หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าการย้ายสิทธิบัตรทองไม่ต้องย้ายทะเบียนบ้าน เพราะการย้ายสิทธิบัตรทองเป็นเพียงการย้ายสิทธิการรักษา จึงไม่จำเป็นต้องย้ายทะเบียนบ้านตามไปด้วย
ประโยชน์ต่อธุรกิจ
- ทำให้เกิดความมั่นคงในการประกอบธุรกิจ ในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้นไม่ว่าจะเกิดกับทรัพย์สินหรือชีวิตของเจ้าของกิจการ
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากในการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กย่อมดำเนินอยู่บนความเสี่ยง
- ช่วยให้เกิดเสถียรภาพด้านต้นทุนการผลิต เพราะการทำประกันภัย คือ การโอนความเสี่ยงภัยไปให้กับบริษัทประกันภัย โดยการจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยจำนวนหนึ่งที่มีจำนวนแน่นอน ช่วยให้การคำนวณต้นทุนใกล้เคียงกับความเป็นจริง
ช่องทางขอย้ายสิทธิบัตรทองได้ที่ไหนบ้าง
ช่องทางในการย้ายสิทธิ “บัตรทอง” สามารถทำได้ง่ายๆด้วยตัวเอง ซึ่งปัจจุบัน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ช่องทางย้ายสิทธิเอาไว้ 3 ช่องทาง คือ
- แอปพลิเคชัน สปสช. ใช้งานเพื่อย้ายสิทธิบัตรทอง ได้ทั้งระบบ Androidและ iOS
- ผ่านทาง LINE Official Account สปสช. ค้นหา @nhso ในแอปพลิเคชัน Line แล้วเพิ่มเพื่อน เพื่อขอย้ายสิทธิด้วยตัวเอง
- ย้ายสิทธิผ่านจุดบริการ ซึ่งสามารถไปขอใช้สิทธิได้ที่สำนักงานเขต หรือ รพ.สต. ของแต่ละพื้นที่ ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และ ตจว.
การย้ายสิทธิบัตรทองออนไลน์ ทำแทนคนอื่นได้หรือไม่?
การย้ายสิทธิบัตรทองออนไลน์ ไม่สามารถทำแทนคนอื่นได้ เพราะมีระบบยืนยันตัวตน ต้องทำด้วยตัวเองเท่านั้น
การย้ายสิทธิผ่านที่จุดบริการ สำนักงานเขต หรือ รพ.สต
สำหรับผู้ที่ถือบัตรทอง แต่ไม่สะดวกที่จะดำเนินการผ่านไลน์ หรือ แอปพลิเคชันของ สปสช. เตรียมเอกสารไปตามสถานที่ดังต่อไปนี้
- ผู้ที่พักอาศัยอยู่ในต่างจังหวัด ต้องไปติดต่อย้ายสิทธิบัตรทอง ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หรือโรงพยาบาลของรัฐใกล้บ้าน
- ผู้ที่พักอาศัยในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ สามารถไปดำเนินการยื่นเรื่องย้ายสิทธิบัตรทอง ณ สำนักงานเขต ทั้ง 19 แห่ง ประกอบด้วย สำนักงานเขตคลองเตย, คลองสามวา, ธนบุรี, บางกะปิ, บางขุนเทียน, บางแค, บางพลัด, ประเวศ, พระโขนง, มีนบุรี, ราชเทวี, ราษฎร์บูรณะ, ลาดกระบัง, ลาดพร้าว, สายไหม, หนองแขม, หนองจอก, หลักสี่ และห้วยขวาง
เอกสารที่ต้องเตรียมเมื่อต้องการ ย้ายสิทธิรักษา
ผู้ที่ต้องการย้ายสิทธิบัตรทอง สามารถทำได้ด้วยตนเอง เพียงเตรียมเอกสารให้ครบ ดังนี้
- สำเนาบัตรประชาชน
- ใบขอเปลี่ยนหน่วยบริการย้ายสิทธิบัตรทอง
- ทะเบียนบ้านปัจจุบันของผู้ใช้สิทธิบัตรทอง
กรณีที่อยู่ปัจจุบันไม่ตรงกับทะเบียน สามารถให้ทะเบียนของผู้ใช้สิทธิโดยไม่ต้องย้ายทะเบียนบ้านพร้อมเตรียมหลักฐานการพักอาศัยปัจจุบัน เช่น บิลค่าน้ำ ค่าไฟ หรือ หนังสือรับรองเจ้าของบ้าน
ย้ายสิทธิบัตรทองไม่ทันเวลา ต้องทำอย่างไร?
ย้ายสิทธิบัตรทองไม่ทันเวลา ผู้ถือบัตรต้องเข้ารับบริการที่ รพ.ต้นสังกัดที่ขึ้นทะเบียนไว้ แต่ถ้าผู้ถือบัตรเกิดป่วยฉุกเฉินสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกที่ ฟรีใน 72 ชั่วโมง ตามเงื่อนไขของ UCEP
6 อาการที่เข้าข่ายฉุกเฉินวิกฤติ
- หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
- หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรงหายใจติดขัดมีเสียงดัง ซึมลง
- เหงื่อแตก ตัวเย็น
- เจ็บหน้าอกเฉียบพลันรุนแรง
- แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกพูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วนหรือชักต่ฮเนื่องไม่หยุด
- อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิต หากพบอาการที่เข้าข่าย
การย้ายสิทธิบัตรทอง จะไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไป เพราะมีช่องทางที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ทำได้ง่ายขึ้น จากเดิมที่ต้องรอทุกวันที่ 15 หรือวันที่ 28 ของทุกเดือน ก็ทำได้ภายในวันเดียว โดยผู้ถือสิทธิบัตรทองสามารถขอย้ายสิทธิผ่านช่องทางออนไลน์ได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องไปที่จุดบริการหรือต้องรอถึง 15 วันอีกต่อไป