การขอรับเงิน กบข. ทำได้เมื่อไหร่ ต้องทำอย่างไรบ้าง?

ข้าราชการที่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือ กบข. จะได้รับเงินคืนเมื่อไหร่ มีเงื่อนไขอย่างไร แบบไหนถือว่าพ้นสภาพสมาชิก รวมถึงกรณีเสียชีวิตก่อนเกษียณจะได้เงินชดเชยจากกองทุน กบข. จำนวนเท่าไหร่ และมีช่องทางรับเงินทางไหนบ้าง มีคำตอบมาให้แล้วในบทความนี้

Link ที่เกี่ยวข้อง

สมาชิกรับเงิน กบข.ได้เมื่อไหร่?

สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข. จะได้รับเงินภายใน 30 วันหลังจากสิ้นสุดการเป็นสมาชิก หรือหลังวันสุดท้ายของการทำงาน โดย กบข. จะจ่ายเงินให้กับสมาชิกที่มีสิทธิรับเงิน เว้นแต่สมาชิกที่เป็นลูกหนี้คดีล้มละลาย กบข. จะจ่ายเงินให้แก่เจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ หรือถ้าเป็นลูกหนี้ในคดีแผนกเยาวชนและครอบครัว กบข. จะจ่ายเงินตามคำสั่งศาลเท่านั้น

แบบใดบ้างที่หมายถึงพ้นสภาพสมาชิก

ปัจจัยที่ทำให้ต้องสิ้นสุดสมาชิกสภาพ กบข. นั้นมาจากสาเหตุต่าง ๆ ได้แก่
  • ลาออกเอง
  • ให้ออกตามเงื่อนไข
    • ถูกคำสั่งให้ออก
    • ไล่ออก
    • ปลดออก
    • เกษียณอายุ
  • ทุพพลภาพ หรือตำแหน่งถูกทดแทน
  • เสียชีวิต
    • เสียชีวิตปกติ
    • เสียชีวิตจากความผิดร้ายแรง (ถูกลงโทษ)
    • เสียชีวิตก่อนได้รับบำนาญ
  • ออกรับเบี้ยหวัด ซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะสมาชิกที่เป็นข้าราชการทหารปลดประจำการ
ส่วนกรณีพ้นสภาพสมาชิกด้วยการเกษียณอายุ สมาชิกสามารถยื่นเรื่องขอรับเงินได้ล่วงหน้า 8 เดือน โดย กบข. จะจ่ายเงินคืนให้เมื่อถึงวันพ้นสภาพ (1 ต.ค.ของปีที่เกษียณอายุ)

เงินกองทุน กบข.มีอะไรบ้าง?

เงินกองทุน กบข. ประกอบด้วยเงินจาก 5 ประเภท ซึ่งสมาชิกจะได้รับผลประโยชน์ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสถานะที่สมาชิกเลือก
  1. เงินสะสม เป็นเงินที่สมาชิกเลือกสะสมจากเงินเดือนทุกเดือนเข้ากองทุน กบข. แบบอัตโนมัติ ขั้นต่ำ 3% ของเงินเดือน แต่ถ้าอยากออมเงินเพิ่มสามารถให้หักเงินเดือนมากกว่า 3% ได้แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินเดือน
  2. เงินสมทบ คือ เงินที่รัฐสมทบให้สมาชิก 3% ของเงินเดือนทุกเดือนเช่นกัน โดยรัฐจะไม่มีการเพิ่มเงินสมทบเหมือนกรณีเงินสะสมที่สามารถเพิ่มอัตราเงินสะสมได้
  3. เงินประเดิม คือ เงินที่รัฐจ่ายให้เฉพาะสมาชิกที่รับราชการก่อนวันที่ 27 มี.ค.2540 โดย กบข.จะจ่ายเงินก้อนนี้เมื่อสมาชิกพ้นสภาพและเลือกรับเป็นบำนาญเท่านั้น
  4. เงินชดเชย คือ เงินที่รัฐให้สมาชิกชดเชยสูตรบำนาญที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นอัตรา 2% ของเงินเดือนสมาชิกทุกเดือน โดย กบข. จะจ่ายเมื่อสมาชิกพ้นสภาพและเลือกรับบำนาญ
  5. ผลประโยชน์จากเงินกองทุน คือ ผลตอบแทนหรือดอกผลสูงสุดที่ กบข. นำเงินสมาชิกไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และเงินฝากธนาคารเป็นต้น

ประเมินและคำนวณเงินที่ต้องใช้ในวัยเกษียณ

  1. กำหนดอายุที่จะเกษียณ เพื่อจะได้รู้ว่ามีเวลาเตรียมเงินนานเท่าไหร่
  2. คาดการณ์ช่วงเวลาที่จะใช้ชีวิตหลังวัย 60 ปี เช่น 20 ปี เพื่อให้รู้ว่าต้องใช้เงินไปอีกสักกี่ปี รวมถึงประเมินสุขภาพร่างกายตัวเองด้วย
  3. คาดการณ์ค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน โดยต้องไม่ลืมเรื่องมูลค่าของเงิน (เงินเฟ้อ) จากนั้นให้คำนวณเงินเป็นรายปีตามช่วงอายุหลังเกษียณ
  4. คาดการณ์ว่าจะมีเงินออมไว้ใช้เท่าไหร่ โดยคำนวณจากแหล่งเงินออมต่าง ๆ ที่มี เช่น เงินบำเหน็จบำนาญ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินกองทุนประกันสังคม ประกันชีวิต เงินฝากอื่น ๆ
  5. คำนวณเงินออมที่มี เทียบกับเงินที่จะใช้หลังเกษียณ หากมีเงินไม่มากพอ ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย เช่น ลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย หรือลงทุนออมเงินเพิ่ม เช่น การลงทุนพันธบัตร หุ้นกู้ และกองทุนต่างๆ

เช็กยอดเงิน กบข.ได้อย่างไรบ้าง?

สมาชิกปัจจุบันหรือสมาชิกที่พ้นสภาพสามารถเช็กยอดเงิน กบข. ได้อย่างไรบ้างมาดูกันเลย

การเช็กยอดเงิน กบข.

สมาชิกสามารถใช้บริการตรวจสอบยอดเงิน กบข. ทั้งยอดเงินสะสม หรือ ยอดเงินปัจจุบันได้ทั้งหมด 4 ช่องทาง ได้แก่
  1. แอปพลิเคชัน My GPF
  2. เว็บไซต์ gpf.or.th
  3. Line @gpfcommunity
  4. Contact Center โทร 1179
นอกจากนี้ ยังสามารถดูจากใบแจ้งยอด และผ่านบัตร ATM ของธนาคารกรุงไทย (ต้องใช้ที่ตู้เอทีเอ็มของ ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น) ได้ด้วย

วิธีคำนวณยอดเงิน กบข. เมื่อเกษียณ/พ้นสภาพ ทำอย่างไร?

เมื่อข้าราชการที่เป็นสมาชิกกบข.เกษียณอายุ มีสิทธิได้รับเงินจาก 2 ทางคือ เลือกรับบำเหน็จหรือบำนาญ จากกรมบัญชีกลาง และรับเงินออมจาก กบข.

กรมบัญชีกลาง + กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)

1. กรณีรับบำเหน็จ คำนวณจากเงินเดือนเดือนสุดท้าย แล้วนำมารวมกับเงินออม กบข. ได้แก่ เงินสะสม เงินออมเพิ่ม (ถ้ามี) และเงินสมทบ (+ดอกผล) โดยใช้สูตรการคำนวณ ดังนี้
เงินบำเหน็จ กรมบัญกลาง
+
เงินออม กองทุน กบข.
เงินเดือน
เดือนสุดท้าย
x
เวลาราชการ
(รวม วันทวีคูณ*)
เงินสะสม
(+ดอกผล)
+
เงินออมเพิ่ม
(+ดอกผล)
(ถ้ามี)
+
เงินสมทบ
(+ดอกผล)

* วันทวีคูณ คือ เวลาราชการชนิดหนึ่ง ซึ่งได้มาจากการไปทำงานในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยวันที่ได้สามารถนำไปรวมกับเวลาราชการปกติให้เพิ่มทวีคูณขึ้น เพื่อใช้คำนวณเงิน เบี้ยหวัด หรือบำเหน็จบำนาญ
* ดอกผล คือ ดอกเบี้ย เงินปันผล หรือผลประโยชน์อื่น ๆ ที่งอกเงยขึ้นจากเงินต้น

ตัวอย่าง การคำนวณรับบำเหน็จ
นาง A ทำงานมีอายุราชการ 30 ปี ได้รับเงินเดือน เดือนสุดท้าย 40,000 บาท เมื่อเกษียณอายุจะได้รับเงินจากกองทุน กบข. โดยคำนวณตามสูตร
เงินเดือนสุดท้าย
x
เวลาราชการ
=
เงินบำเหน็จ
40,000
30
1,200,000

จากนั้น ให้นำเงินบำเหน็จที่ได้ มารวมกับ เงินออมที่ได้จากกองทุน กบข. ก็จะเป็นจำนวนเงินที่จะได้รับเมื่อเกษียณ

สูตรคำนวณเงินบำเหน็จ

2. กรณีรับบำนาญ คำนวณจากเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (แต่บำนาญต้องไม่เกิน 70% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย) แล้วนำมารวมกับเงินออม กบข. ได้แก่ เงินสะสม(ดอกผล) เงินออมเพิ่ม (ถ้ามี) เงินสมทบ เงินประเดิม (เฉพาะสมาชิกก่อน 27 มี.ค.2540) และเงินชดเชย (เฉพาะคนที่ลือกรับบำนาญ) โดยใช้สูตรการคำนวณ ดังนี้

เงินบำเหน็จ กรมบัญกลาง
+
เงินออม กองทุน กบข.
เงินเดือน
เดือนสุดท้าย
x
เวลาราชการ
(รวม วันทวีคูณ*)
เงินสะสม
(+ดอกผล)
+
เงินออมเพิ่ม
(+ดอกผล)
(ถ้ามี)
+
เงินสมทบ
(+ดอกผล)
+
เงินประเดิม
(+ดอกผล)
+
เงินชดเชย
(+ดอกผล)
หารด้วย 50

* วันทวีคูณ คือ เวลาราชการชนิดหนึ่ง ซึ่งได้มาจากการไปทำงานในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยวันที่ได้สามารถนำไปรวมกับเวลาราชการปกติให้เพิ่มทวีคูณขึ้น เพื่อใช้คำนวณเงิน เบี้ยหวัด หรือบำเหน็จบำนาญ

ตัวอย่าง การคำนวณรับบำนาญ
นาย B ทำงานมีอายุราชการ 25 ปี มีเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 30,000 บาท เมื่อเกษียณอายุจะได้รับเงินจากกองทุน กบข. โดยคำนวณตามสูตร
เงินเดือนเฉลี่ย
+
เวลาราชการ
=
เงินบำนาญ
30,000
25
15,000 / เดือน
หารด้วย 50
จากนั้น ให้นำเงินบำนาญที่ได้ มารวมกับ เงินออมที่ได้จากกองทุน กบข. ก็จะเป็นจำนวนเงินบำนาญที่จะได้รับในแต่ละเดือนเมื่อเกษียณ
สูตรคำนวณเงินบำนาญ

จะรับเงิน กบข.ได้อย่างไร?

เมื่อพ้นสภาพสมาชิก ขอรับเงินแบบไหนได้บ้าง

สมาชิกที่พ้นสมาชิกภาพ สามารถเลือกวิธีขอรับเงินได้ ดังนี้
  1. ขอรับเงินเป็นก้อนครั้งเดียวทั้งหมด
  2. ขอย้ายโอนเงินสะสมจาก กบข. ไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนอื่นที่เกี่ยวข้องกับการเกษียณ หรือชราภาพ
  3. ฝากให้กองทุน กบข. ช่วยบริหารเงินต่อไป เพื่อหาผลประโยชน์เพิ่มเติม

เอกสารหลักฐาน “กรณีต่าง ๆ” สำหรับขอรับเงิน

กรณีพ้นสภาพสมาชิก
เมื่อสมาชิก กบข. พ้นสภาพสมาชิกสามารถไปยื่นขอรับเงินออมทั้งหมดได้ด้วยตัวเอง โดยต้องมีเอกสารหลักฐานที่นำไปด้วยได้แก่

  • แบบฟอร์ม กบข. รง 008/1/2555 (ขอจาก กบข.)
  • สำเนาหนังสือ หรือ ประกาศออกจากราชการ
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (กรณีเลือกโอนเงินเข้าบัญชี)
  • สำเนาแนบหนังสือสั่งจ่ายบำนาญ(กรณีรับบำนาญ)

กรณีสมาชิกโอนย้ายตำแหน่งไปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะใช้เอกสารรับเงิน คือ
เมื่อสมาชิก กบข. พ้นสภาพสมาชิกสามารถไปยื่นขอรับเงินออมทั้งหมดได้ด้วยตัวเอง โดยต้องมีเอกสารหลักฐานที่นำไปด้วยได้แก่

  • แบบฟอร์ม กบข. รง 008/1/2555
  • สำเนาคำสั่งหรือประกาศออกจากราชการ
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (กรณีเลือกโอนเงินเข้าบัญชี)
  • สำเนาใบแนบหนังสือสั่งจ่ายบำนาญ (กรณีเลือกรับบำนาญ)
  • สำเนาคำสั่งโอนไปส่วนท้องถิ่น
  • สำเนาคำนวณแบบ บ.ท.4 (กรณีเลือกรับบำนาญ)
  • สมุดประวัติ/ กพ. 7 ฉบับจริง (กรณีเลือกรับบำนาญ)

กรณีสมาชิกเสียชีวิต ผู้จัดการมรดกเป็นผู้ยื่นแทน
เมื่อสมาชิก กบข. พ้นสภาพสมาชิกสามารถไปยื่นขอรับเงินออมทั้งหมดได้ด้วยตัวเอง โดยต้องมีเอกสารหลักฐานที่นำไปด้วยได้แก่

  • แบบฟอร์ม กบข. รง 008/2/2562 (ขอจาก กบข.)
  • สำเนาคำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดก
  • สำเนาใบมรณบัตร
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ของผู้จัดการมรดก (กรณีเลือกโอนเงิน)
  • เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี)

กรณีสมาชิกเสียชีวิต ทายาทโดยธรรมเป็นผู้ยื่นแทน
เมื่อสมาชิก กบข. พ้นสภาพสมาชิกสามารถไปยื่นขอรับเงินออมทั้งหมดได้ด้วยตัวเอง โดยต้องมีเอกสารหลักฐานที่นำไปด้วยได้แก่

ช่องทางการยื่นเอกสารขอรับเงินออมจาก กบข.

การขอรับเงินออม กบข. ของสมาชิกที่พ้นสภาพแล้ว สามารถยื่นขอรับเงินได้ 2 ช่องทาง คือ

  1. แจ้งความประสงค์ผ่านระบบ e-Filing
  2. แจ้งความประสงค์ผ่านต้นสังกัดของสมาชิก พร้อมกรอกแบบฟอร์ม กบข. รง 008/1/2555

โดย กบข. จะจ่ายเงินคืนให้สมาชิกได้ภายใน 7 วัน หลังจากได้รับเอกสารและตรวจสอบข้อมูลถูกต้อง โดยจะจ่ายเป็นเช็คขีดคร่อม ธนาณัติ หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารตามที่สมาชิกเลือกรับ

ทั้งนี้ ทุกครั้งที่ กบข. จ่ายเงินคืนจะมีการแจ้งข้อความทาง SMS ให้สมาชิกตามหมายเลขโทรศัพท์ของสมาชิกที่แจ้งไว้ หรือส่งจดหมายแจ้งการจ่ายเงินคืนให้สมาชิกหรือทายาท

หลังเกษียณอยากออมเงินต่อกับ กบข. ได้หรือไม่?

สมาชิกที่เกษียณอายุแล้ว สามารถออมเงินต่อได้ โดยแจ้งความประสงค์กับกองทุน กบข.ว่าจะออมเงินต่อตามแผนการลงทุนสุดท้ายที่สมาชิกเคยเลือกไว้ก่อนพ้นสภาพ โดยผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการออมเงินต่อสามารถเปลี่ยนไปตามผลดำเนินงานของ กบข. และภาวะเศรษฐกิจ โดยบริการออมต่อ เป็นการเพิ่มทางเลือกให้สมาชิกที่ออกจากราชการมีโอกาสเลือกจัดการเงินโดยให้ กบข. ช่วยบริหารเงินต่อ หรือทยอยรับเงินใน 4 รูปแบบคือ

  1. ออมต่อทั้งจำนวน สมาชิกแจ้งให้กบข. บริหารเงินที่ได้รับหลังออกจากราชการทั้งก้อนหรือถ้าอยากใช้เงินก็แจ้งขอรับเงินคืนได้ แต่ต้องมียอดเงินในบัญชีไม่ต่ำกว่า 35,000 บาท ณ วันที่แจ้งว่าจะออมต่อ
  2. ทยอยรับเงินเป็นงวด สมาชิกแจ้งขอทยอยรับเงินคืนเป็นงวด ๆ รายเดือน 3 เดือน 6 เดือน หรือรายปี งวดละไม่ต่ำกว่า 3,000 บาท และยังได้รับผลประโยชน์จากเงินส่วนที่ กบข. ยังบริหารให้อยู่ แต่ต้องมียอดเงินในบัญชีไม่ต่ำกว่า 35,000 บาท
  3. สมาชิกรับเงินบางส่วนไปก่อน ส่วนที่เหลือให้ กบข.บริหารต่อ โดยสมาชิกต้องมีเงินในบัญชีไม่ต่ำกว่า 35,000 บาท
  4. รับเงินบางส่วนและทยอยรับส่วนที่เหลือเป็นงวด ๆ รับเป็นรายเดือน 3 เดือน 6 เดือน และรายปี งวดละไม่ต่ำกว่า 3,000 บาท โดยต้องมีเงินในบัญชีไม่ต่ำกว่า 35,000 บาท

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนการออมเงินในรูแบบต่าง ๆ ได้ทีนี่

กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือ กบข. คือ การปรับระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการมาเป็นระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยเป็นแนวทางที่รัฐบาลส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้ใช้หลังเกษียณ และให้ประโยชน์ตอบแทนแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ พร้อมทั้งจัดสรรสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ให้แก่สมาชิกอีกด้วย

Link ที่เกี่ยวข้อง

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า