เช็คกรมธรรม์

ลืมว่าทำประกันไว้ที่ไหนบ้าง เช็กกรมธรรม์ ยังไง?

หลายคนอาจจะจำไม่ได้ว่าทำประกันชีวิตเอาไว้ที่ไหนบ้าง หรืออาจเกิดเหตุไม่คาดคิดกับคนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัว แล้วจะตรวจสอบกรมธรรม์กันอย่างไร ทำประกันไว้ที่ไหน จะจัดการอย่างไร คำถามเหล่านี้ หาคำตอบได้ที่นี่

Link ที่เกี่ยวข้อง

คปภ

จะรู้ได้อย่างไร ทำประกันอะไรไว้บ้าง?

หลายคนอาจจะเคยลืมว่าทำประกันภัยเอาไว้ที่บริษัทอะไรบ้าง หรือทำกรมธรรม์หาย ไม่ต้องตกใจ สามารถขอตรวจสอบข้อมูลได้จากหลายช่องทางดังนี้
  1. ตรวจสอบผ่านออนไลน์ ด้วย แอปพลิเคชัน “กรมธรรม์ของฉัน” หรือ MyPolicy บน LINE Official Account “คปภ. รอบรู้ (@OICConnect)” ซึ่งสามารถตรวจสอบสืบค้นข้อมูลกรมธรรม์ประกันภัย จากบริษัทประกันภัยทั่วประเทศ

    ส่วนขั้นตอนการตรวจสอบผ่านออนไลน์ก็ไม่ยาก เพียงแค่ทำตามขั้นตอนดังนี้
    1. ค้นหาและ Add Line Official Account (@OICConnect)
    2. ลงทะเบียนทำการยืนยันตัวตนด้วยภาพถ่ายบัตรประชาชน และภาพถ่ายตนเองคู่กับบัตรประชาชน
    3. ใส่หมายเลขโทรศัพท์ เพื่อขอรับรหัส OTP
    เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วก็สามารถกดเลือกใช้บริการ “กรมธรรม์ของฉัน” หรือ MyPolicy ได้ทันที
วิธีตรวจสอบกรมธรรม์

2. ตรวจสอบกรมธรรม์ได้กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)หรือ ไปที่เว็บไซต์ โดยมี สายด่วนประกันภัย 1186, เบอร์โทรศัพท์ 02-515-3999 ต่อ 5360 ,5362 ,5304
3. สามารถยื่นเรื่องตรวจสอบข้อมูลประกันภัยด้วยตัวเองที่สำนักงาน คปภ.ประจำเขตพื้นที่ หรือ คปภ.ประจำจังหวัดในวันและเวลาราชการ
4. สามารถยื่นเรื่องตรวจสอบไปที่ฐานข้อมูลกลางประกันวินาศภัย (TID) หรือ บริษัทที่รวบรวมฐานข้อมูลกลางด้านการรับประกันวินาศภัยทุกประเภทของธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงและแลกเปลี่ยนข้อมูลการประกันภัยระหว่างบริษัทประกันด้วยกัน โดยสามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์, เบอร์โทรศัพท์ 02-108-8388 ต่อ 4308-4312 หรือ info@insure.co.th

ขั้นตอนการยื่นคำร้องกับ คปภ.

ส่วนขั้นตอน การยื่นขอคัดหรือขอตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัย สามารถดาวโหลดแบบฟอร์มคำขอได้ที่นี่ แล้วกรอกข้อมูลและลงลายมือชื่อ พร้อมแนบเอกสารหลักฐานประกอบแล้วถ่ายสำเนาเอกสารทั้งหมดส่งมาที่ 1186-eservice@oic.or.th

ใครบ้าง? สามารถยื่นคำร้องได้

การยื่นคำร้องขอตรวจสอบเอกสารแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี
กรณีที่ 1 ผู้ถือกรมธรรม์สามารถยืนตรวจสอบด้วยตัวเอง กรณีที่ลืมว่าทำประกันไว้กับบริษัทอะไรบ้าง
กรณีที่ 2 กรณี เกิดเหตุไม่คาดคิดกับคนใกล้ชิด แต่ไม่รู้ว่าเขาทำประกันภัยเอาไว้ที่ไหนบ้าง ทายาทหรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถยื่นคำร้องขอตรวจสอบการทำประกันชีวิตได้ที่ “สำนักคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)” ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อดำเนินการตรวจสอบ

ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ยื่นขอตรวจสอบประกัน

สำหรับกรณีที่ไม่มีผู้ใดเลยทราบว่า “คนใกล้ชิดทำประกันชีวิตไว้หรือไม่” สามารถนำเอกสารประกอบคำร้องขอตรวจสอบการทำประกันชีวิต

  • ใบมรณบัตรของผู้เสียชีวิตที่ต้องการตรวจสอบ
  • สำเนาทะเบียนบ้านและบัตร ปชช. ของผู้ยื่นคำร้อง

ส่วนกรณีผู้ทำประกัน ต้องการยื่นคำร้อง ต้องใช้เอกสาร ประกอบด้วย

  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำร้อง
  • สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้ยื่นคำร้อง

ประโยชน์ของการตรวจสอบการทำประกัน

การตรวจสอบประกันว่าเราทำเอาไว้ที่ไหนบ้างมีความจำเป็นมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีสินค้าหลายชนิดที่นำเอาระบบประกันเข้ามารวมให้บริการด้วย เช่น บัตร ATM, บัตรเครดิต โดยที่ ผู้เอาประกัน อาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองได้ทำประกันประเภทไหน การตรวจสอบ กรมธรรม์ จะทำให้ผู้เอาประกันรับรู้สิทธิของตัวเอง แค่เสียเวลาเข้าไปตรวจสอบประกัน ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ตั้งแต่ชื่อแบบประกันภัย, ประเภทประกันภัย, เลขกรมธรรม์, วันที่เริ่มสัญญา และวันครบกำหนดสัญญา และสามารถตรวจสอบสิทธิ และสถานะกรมธรรม์, จำนวนเบี้ยประกันภัยที่ต้องชำระต่อปี, ความคุ้มครองอื่น ๆ ได้ด้วย การตรวจสอบประกันชนจึงจะได้ประโยชน์ดังต่อไปนี้

ประโยชน์ของผู้เอาประกัน

  1. วางแผนบริหารความเสี่ยง การต่ออายุกรมธรรม์
  2. วางแผนซื้อประกันเพิ่ม
  3. บริหารจัดการเงิน เพื่อวางแผนชำระประกันแต่ละงวด
  4. ตรวจสอบสถานะใบอนุญาตตัวแทนประกันภัย และนายหน้าประกันภัย

ประโยชน์ต่อธุรกิจ

การตรวจสอบทำให้เกิดความมั่นคงในการประกอบธุรกิจ ในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้นไม่ว่าจะเกิดกับทรัพย์สินหรือชีวิตของเจ้าของกิจการ

ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากในการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กย่อมดำเนินอยู่บนความเสี่ยง

ช่วยให้เกิดเสถียรภาพด้านต้นทุนการผลิต เพราะการทำประกันภัย คือ การโอนความเสี่ยงภัยไปให้กับบริษัทประกันภัย โดยการจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยจำนวนหนึ่งที่มีจำนวนแน่นอน ช่วยให้การคำนวณต้นทุนใกล้เคียงกับความเป็นจริง

ประโยชน์ต่อสังคม

ช่วยแบ่งเบาภาระของสังคมและลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการสงเคราะห์จากภาครัฐ ทำให้สังคมมีหลักประกันความปลอดภัย มีความมั่นใจว่าเมื่อเกิดอุบัติภัยและความเสียหายขึ้นผู้ประสบภัยจะได้รับการชดเชยค่าสินไหมทดแทน

เช็กประกันหมดอายุความ เรียกเงินคืนได้หรือไม่

ประกันถึงเวลาสิ้นสุดลง หรือ ครบเวลาชำระที่ประกันหมดอายุแล้ว หลายคนอาจไม่รู้ว่าต้องติดต่อบริษัทประกันภัยอย่างไร
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าประกันของเราหมดอายุจากสาเหตุอะไรบ้าง
  1. ประกันหมดระยะเวลาการคุ้มครองสิ้นสุด
  2. การกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการคุ้มครอง ซึ่งมักจะเป็นรายปี และเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในกรมธรรม์แล้ว ก็เท่ากับเป็นการสิ้นสุดความคุ้มครองและบริษัทฯ ซึ่งการคุ้มครองอาจถูกตัดให้โดยอัตโนมัติ

  3. หมดอายุเพราะขาดส่งเบี้ยประกัน
  4. การขาดส่งเบี้ยประกัน ไม่ต่างจากการถูกบอกยกเลิกประกันโดยบริษัทฯ เพราะไม่จ่ายค่าเบี้ยตามระยะเวลาที่กำหนด ประกันก็สามารถสิ้นสุดหรือประกันถูกตัดได้

  5. ยอดการเคลมประกันครบตามสัญญา
  6. หากยอดการเคลมประกันครบตามสัญญาผู้ทำประกันสามารถเบิกเคลมประกัน เรียกร้องสินไหมต่าง ๆ ครบตามยอดที่ระบุไว้ในกรมธรรม์แล้ว ก็จะทำให้สัญญาประกันภัยสิ้นสุดการคุ้มครอง หรือประกันหมดอายุลงก่อนกำหนดระยะเวลาตามกรมธรรม์ได้เช่นกัน

ประกันหมดอายุ หรือประกันถูกตัด ต้องทำยังไง?

คำถามใหญ่หลังจากตรวจสอบแล้วพบว่าประกันหมดอายุ หรือประกันถูกตัดเพราะขาดส่ง แล้วต้องทำอย่างไร ต้องติดต่อหาบริษัทประกันภัยอีกครั้งหรือไม่ แล้วเงินที่ส่งไปจะได้คืนหรือไม่ มาดูรายละเอียดกันว่าเราจะทำอะไรกันได้บ้าง

ประกันครบกำหนดอายุสัญญา

ถ้ากรณีครบอายุตามกรมธรรม์ บริษัทฯ จะยกเลิกประกันให้อัตโนมัติ โดยที่ผู้ทำประกันไม่ต้องทำเรื่องแจ้งยกเลิก หรือส่งเอกสารเพิ่มเติม ยกเว้นผู้ทำประกันยังอยากต่ออายุสัญญาประกัน ให้ติดต่อแจ้งบริษัทที่ทำประกันเอาไว้

ประกันหมดอายุ เพราะขาดส่งเบี้ยประกัน

การขาดส่งเบี้ยประกัน โดยปกติแล้วจะมีจดหมายแจ้งให้ทราบก่อน แต่หลังจากนั้นหากยังไม่มีการชำระเบี้ยตามที่ได้แจ้งไว้ บริษัทฯ จะทำการยกเลิกประกันตามที่ได้แจ้งไว้ในเอกสารเบื้องต้น หากผู้ทำประกันประสงค์จะส่งเบี้ยประกันต่อ บริษัทจะแปลงมูลค่ากรมธรรม์ไปเป็นการชำระค่าเบี้ยในช่วงที่ขาดส่งไปแล้วครับ แต่ต้องติดต่อสอบถามตัวแทนอีกครั้ง

ประกันหมดอายุจากการเคลมครบวงเงิน

การเบิกเคลมครบยอด ทางบริษัทฯ จะมีการแจ้งให้ผู้ทำประกันทราบและขอทำการยกเลิกประกันให้โดยอัตโนมัติ ซึ่งการยกเลิกในกรณีนี้เป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่ได้แจ้งไว้ในกรมธรรม์ และหลังจากที่ประกันได้ยกเลิกแล้ว ผู้ทำประกันไม่จำเป็นต้องเตรียมหรือส่งเอกสารให้กับทางบริษัทฯ เช่นเดียวกันกับกรณีอื่น ๆ

สำหรับคนที่สงสัยว่าหากประกันหมดอายุแล้วแต่ไม่เคยเคลมสามารถขอรับเงินคืนได้ไหม กรณีนี้ผู้ทำประกันต้องติดต่อตัวแทนประกัน เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของตัวเอง

ประกันไม่ครบสัญญา ประกันหมดอายุแบบไหนเรียกเงินคืนได้

หลายคนอาจจะยังสงสัยว่า หากต้องยกเลิกกรมธรรม์กลางทาง จ่ายไม่ไหว หรือทำประกันแบบไหนสามารถเรียกเงินคืนได้ ซึ่งการเรียกเงินประกันคืนมี 3 กรณี ดังต่อไปนี้
  1. กรมธรรม์ครบสัญญาตามเงื่อนไข สามารถยื่นขอเงินคืนได้โดยนำกรมธรรม์ พร้อมบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ไปติดต่อบริษัทเพื่อรับเงินคืนได้
  2. กรณีส่งเบี้ยประกันไม่ครบสัญญา และไม่ประสงค์ส่งเบี้ยประกันต่อด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม สามารถเสนอเรื่องเพื่อขอเวนคืนประกันและรับเงินที่ได้ชำระไปแล้วเมื่อเทียบกับกรมธรรม์ครบตามสัญญา
  3. กรณีผู้เอาประกันเสียชีวิต ทายาทสามารถยื่นรับเงินเต็มทุนประกันที่ทำไว้ที่บริษัทประกันได้เลย

วิธีเช็กประกัน ผ่านระบบออนไลน์

  1. กดเข้าไปยังเว็บไซต์ คปภ
  2. เพิ่มเพื่อนทาง Line คปภ. รอบรู้ เพื่อสอบถาม และเช็กข้อมูลกรรมธรรม์
เว็บไซต์ คปภ.

ประกันหมดอายุความ เช็กได้ยังไงบ้าง

สำหรับคนที่จำไม่ได้ว่าทำประกันไว้ที่ไหนบ้าง จนกรรมธรรม์หมดอายุความไปแล้ว ก็ไม่ต้องตกใจไป เพราะยังสามารถตรวจสอบสิทธิ และยื่นขอรับเงินได้ โดยผ่านช่องทางต่อไปนี้
  1. กองทุนประกันชีวิต (กปช.) โดยกรอกข้อมูลผ่านเว็บไซต์กองทุนประกันชีวิต เช่น เลขประจำตัวประชาชน ชื่อ-นามสกุลของผู้เอาประกัน หรือยื่นข้อมูลด้วยตัวเอง ณ ที่ทำการกองทุนฯ หรือ สำนักงาน คปภ. จังหวัด
  2. แอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ผู้เอาประกันสามารถเช็กกรรมธรรม์ที่หมดอายุความแล้ว ผ่านแอปฯ ทางรัฐ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดและใช้งานได้ทั้ง iOS และ Android
โดยมีขั้นตอน ดังนี้
  • ล็อกอินเข้าใช้งานแอปฯ ทางรัฐ
  • เลือก กรรมธรรม์พ้นอายุความ ซึ่งอยู่ใต้หมวด ข้อมูลภาครัฐ
  • กรอกข้อมูล (เลขกรรมธรรม์ เลขบัตรประชาชน ชื่อ-นามสกุล) เพื่อขอรับเงินจากกรรมธรรม์ที่หมดอายุความ

หลังจากนี้หากใครจำไม่ได้ว่าทำประกันภัยไว้ที่ไหนบ้าง หรือ พบกับสถานการณ์ไม่คาดคิด กับคนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัว ไม่รู้ว่าทำประกันเอาไว้หรือไม่ สามารถขอให้ตรวจสอบการทำประกันที่สำนักคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ทุกสาขาทั่วประเทศได้ โดยไม่ต้องกังวลอีกต่อไปเพียงแค่ทำตามขั้นตอนเท่านั้น

Link ที่เกี่ยวข้อง

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า