เคลมประกัน

“เคลมประกันไม่ได้” ร้องสิทธิ์ความเป็นธรรมได้ยังไง

เชื่อว่าหลายคนอาจยังไม่รู้ว่า หากเกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมจากการเรียกค่าสินไหมทดแทนเมื่อผู้ทำประกันแล้วเกิดความเสียหาย ทั้งปัญหาผู้เอาประกันต้องการเรียกค่าเสียหาย แต่ว่าบริษัทประกันภัยไม่ยอมจ่ายหรือจ่ายน้อยกว่าที่เรียกร้อง รวมไปถึงอาจจ่ายแบบไม่เป็นธรรม แล้วผู้เอาประกันต้องทำอย่างไร เรียกร้องสิทธิ์ความเป็นธรรมช่องทางไหน เราได้รวบรวมขั้นตอนการดำเนินการและข้อมูลทั้งหมดเอาไว้ที่นี้แล้ว

Link ที่เกี่ยวข้อง

คปภ

ร้องเรียนอย่างไร หากประกันไม่ได้รับความเป็นธรรม

ใครเคยมีปัญหาเรียกค่าสินไหมทดแทนไม่ได้ หรือ บริษัทประกันบ่ายเบี่ยงเพราะกรมธรรม์ไม่ครบตามเงื่อนไข และอีกสารพัดเหตุผลที่ทำให้เราได้รับผลประโยชน์ทดแทนอย่างเป็นธรรม

ประกันไม่ให้เคลม แบบไหนเรียกว่าไม่เป็นธรรม

สิ่งแรกที่ผู้ทำประกันอาจต้องกลับไปศึกษาเงื่อนไขกรมธรรม์ ให้ละเอียดอีกครั้ง ถ้าเข้าข่ายบริษัทจ่ายเงินแต่บริษัทไม่จ่าย สามารถยื่นตรวจสอบได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการ

กำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

แต่ก่อนที่จะไปถึงขั้นตอนการร้องเรียน ลองดูกันว่าเหตุการณ์ ไหนบ้างที่เข้าข่ายจ่ายผลประโยชน์ทดแทนไม่เป็นธรรรม
  1. ตีความหรือแปลความหมายของการสูญเสียของผู้เอาประกันชีวิตเป็นไปในทางที่หลีกเลี่ยงไม่ให้ความสูญเสียที่ผู้เอาประกันเรียกร้องอยู่ในเงื่อนไขการความคุ้มครองของสัญญาประกันชีวิตเพื่อเป็นเหตุผลในการปฏิเสธการจ่ายเงินผลประโยชน์ เช่น การตีความระยะว่าโรคมะเร็งระยะที่หนึ่ง ไม่ได้อยู่ในระยะการคุ้มครองโรคร้ายแรงที่จะเรียกพิจารณาจ่ายสินไหมทดแทนได้
  2. ปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงในการรับรู้ข้อมูลหรือหลักฐานที่ฝ่ายของผู้เอาประกันชีวิตนำ เสนอให้พิจารณาเพิ่มเติม เพื่อให้เป็นหลักฐานที่แสดงถึงสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียที่เกิดขึ้นแก่ผู้เอาประกันชีวิต
  3. ตั้งใจที่จะหลีกเลี่ยงการใช้เกณฑ์การพิจารณาการจ่ายผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ที่เป็นไปตามมาตรฐานและเหมาะสมจนทำให้ผู้เอาประกันเสียประโยชน์
  4. ปฏิเสธที่จะจ่ายเงินผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบอย่างเหมาะสมในความสูญเสียของผู้เอาประกันชีวิต และอ้างว่าการสูญเสียที่เรียกร้องนั้นไม่อยู่ในเงื่อนไขความคุ้มครองของสัญญาประกันชีวิตที่ผู้เอาประกันชีวิตได้ทำไว้

ด้วยเหตุการณ์กรณีต่าง ๆ เหล่านี้สามารถยื่นเรื่องร้องเรียนไปที่ฝ่ายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ คปภ. หรือศูนย์รับเรื่องร้องเรียนด้านการประกันภัย (Insurance Complaint Center : ICC) ติดต่อเบอร์ 02-515-3999 ต่อ 1015 และ1016 หรือ สายด่วน 1186

เปิดช่องทางยื่นร้องเรียน ถ้าเคลมประกันไม่ได้

ช่องทางการรับร้องเรียนหากไม่ได้รับความเป็นธรรม กรณีการเรียกผลประโยชน์ทดแทนจากบริษัทประกัน ผู้เอาประกันสามารถยื่นเรื่องได้ที่ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนด้านการประกันภัย (Insurance Complaint Center : ICC) โดยมีช่องทางต่าง ๆ ดังนี้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  1. ยื่นเรื่องร้องเรียน ผ่าน ระบบการรับและพิจารณาข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการประกันภัยและการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ โดยเข้าไปลงทะเบียนตามเว็บไซต์นี้
  2. ผู้เอาประกัน สามารถยื่นผ่านทางไปรษณีย์มายังสำนักงาน คปภ. หรือร้องเรียนด้วยตนเองที่ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนด้านการประกันภัย (Insurance Complaint Center : ICC) ตั้งอยู่ที่สำนักงาน คปภ.ในส่วนกลาง และสำนักงาน คปภ. ภาค/เขต/จังหวัด ในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ

หลังเรื่องร้องเรียนเข้าสู่ระบบการพิจารณาของ คปภ. แล้วเจ้าหน้าที่จะมีขั้นตอนการพิจารณาข้อร้องเรียนและดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัยสรุปได้ ดังนี้

  1. เจ้าหน้าดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และหลักฐานที่เกี่ยวข้อง พร้อมจัดทำหนังสือทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) ไปถึงผู้มีอำนาจของบริษัทประกันภัยเพื่อมาพบเจ้าหน้าที่และชี้แจงข้อเท็จจริง พร้อมแนบคำร้อง/เอกสารที่เกี่ยวข้อง หรือไฟล์เอกสารคำร้อง/เอกสารที่เกี่ยวข้อง
  2. เจ้าหน้าที่มีหน้าที่ในการพิจารณาเรื่องร้องเรียนและไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัยโดยเร็ว
  3. กรณีมีความจำเป็นต้องทราบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่สอบถามข้อเท็จจริงจากผู้ร้องเรียนและบริษัทเพื่อหาข้อยุติ หากจำเป็น ต้องรับฟังคำพยานภายนอก เจ้าหน้าที่สอบถามข้อเท็จจริงไปยังพยานภายนอก หรือหน่วยงานนั้น ๆ เป็นลายลักษณ์อักษร และหากได้พยานหลักฐานเอกสารครบแล้วให้สรุปประเด็นทั้งหมดและเชิญผู้ร้องเรียนมาหารืออีกครั้ง
  4. เจ้าหน้าที่แจ้งคู่กรณีทุกฝ่ายมาพร้อมกันเพื่อหาแนวทางประนอมข้อพิพาท หากสามารถตกลงกันได้ในประเด็นที่พิพาทข้อใดก็ให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ การจัดทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นลายลักษณ์อักษรตามที่กฎหมายกำหนด
  5. กรณีเจ้าหน้าที่ดำเนินการพิจารณาเรื่องร้องเรียนแล้ว หากคู่กรณีตกลงยุติข้อพิพาทกันไม่ได้ หากมีความประสงค์จะเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัยโดยผู้ชำนาญการเจ้าหน้าที่ดำเนินการส่งเรื่องเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัยโดยผู้ชำนาญการต่อไป

ยื่นเรียกร้องผลประโยชน์ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

ผู้เอาประกันภัยที่เรียกร้องผลประโยชน์ทดแทนต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม เพื่อให้การเรียกร้องสินไหมทดแทนของท่านรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยเอกสารประกอบด้วย
  • เล่มกรรมธรรม์
  • ใบรับรองแพทย์
  • ต้นฉบับใบเสร็จรับเงิน (กรณีเบิกค่ารักษาพยาบาลและต้องส่งเอกสารนี้ทางไปรษณีย์เท่านั้น)
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาหน้าบัญชีสมุดเงินฝากธนาคารที่มีผู้ทำประกันเป็นเจ้าของบัญชี

นอกจากนี้ต้องกรอกเอกสาร เพื่อยื่นเรื่องตามลิงก์ด้านล่างนี้

  • แบบข้อร้องเรียนท้ายระเบียบ
  • แบบหนังสือมอบอำนาจ
ส่วนระยะเวลาในการจ่ายผลประโยชน์ทดแทน ประกอบด้วย
  1. บริษัทจะจ่ายไม่เกิน 20 วัน นับแต่วันที่บริษัทได้รับคำเรียกร้อง
  2. บริษัทจะจ่ายไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันที่บริษัทได้รับคำเรียกร้อง
  3. กรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่าการเรียกร้องเพื่อให้บริษัทชดใช้ตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่เป็นไปตามข้อตกลง กำหนดเวลาให้พิจารณาไม่เกิน 90 วัน นับแต่วันที่บริษัทได้รับเอกสารครบถ้วนแล้ว
  4. หากบริษัทไม่อาจจ่ายค่าทดแทนให้แล้วเสร็จ ภายในกำหนดระยะเวลาข้างต้น ต้องรับผิดชอบดอกเบี้นอัตราร้อยละ 15 ต่อปีของจำนวนเงินที่ต้องจ่าย นับแต่วันที่ครบกำหนดชำระ

ปัญหาเคลมประกันไม่ได้ หรือ ประกันไม่จ่ายตามเงื่อนไข จ่ายน้อยกว่าที่ตกลงกันไว้ รวมไปถึงไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการทำประกันภัยไว้ ผู้เอาประกันไม่ต้องกังวลอีกต่อไป สำนักคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ทุกสาขาทั่วประเทศได้ โดยไม่ต้องกังวลอีกต่อไปเพียงแค่ทำตามขั้นตอนเท่านั้น

Link ที่เกี่ยวข้อง

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า