กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) คือ การเงินออมของข้าราชการไทยที่อยู่ในรูปแบบกองทุนการออมเงินเพื่อการเกษียณอายุ เป็นวิธีการออมเงินเพื่อให้มีเงินไว้ใช้หลังเกษียณ ออมเงินกับ กบข. แล้วดีอย่างไร? สมาชิกได้ลดหย่อนภาษียังไงบ้าง? มาหาคำตอบกันจากบทความนี้กันได้เลย
Link ที่เกี่ยวข้อง
กบข. คืออะไร?
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข. คือ ระบบการออมเกษียณภาคบังคับสำหรับข้าราชการของประเทศไทย เปิดโอกาสให้ข้าราชการที่รับราชการก่อนกฏหมายจัดตั้งกองทุน กบข. ที่บังคับใช้เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2540 สามารถเลือกได้ว่าจะสมัครเป็นสมาชิก กบข. หรือไม่ แต่คนที่เข้ารับราชการหลังวันดังกล่าว จะต้องเป็นสมาชิก กบข. ทุกคนตามที่กฏหมายกำหนด
การทำงานของ กบข.
กบข. มีลักษณะเป็นกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุ ให้บริการข้อมูลทางการเงิน บริหารเงินออมของสมาชิก คำนวณเงินเกษียณ และเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์ ตอบแทนการรับราชการเมื่อออกจากราชการ
- ออมเงิน: กบข. ทำหน้าที่ส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก ในรูปแบบเงินสะสม เงินสมทบ เงินชดเชย เงินสำรอง และเงินสะสมส่วนเพิ่ม
- ลงทุน: กบข. มีหน้าที่ดูแลและบริหารเงินออมของข้าราชการ โดยนำเงินจากสมาชิกและส่วนราชการไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยระยะยาวที่เหมาะสมภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ตามนโยบายการลงทุนที่กำหนดไว้ในกฏหมาย
- วางแผนเกษียณ: กบข. ช่วยเหลือสมาชิกในการวางแผนการเงินไว้ใช้หลังเกษียณอายุ ราชการให้เหมาะสมเพียงพอ โดยเน้นให้ความสำคัญกับแผนการทยอยถอนเงินตามช่วงเวลา เช่น บริการออมเงินต่อ
ใครบ้างที่สามารถสมัครสมาชิก กบข. ได้?
เนื่องจาก กบข. เป็นระบบการออมภาคบังคับที่เพิ่งก่อตั้ง และเริ่มบังคับใช้ตามกฏหมายเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2540 ที่ผ่านมา จึงได้แบ่งสมาชิกเป็น กลุ่มที่รับราชการมาก่อนหน้านั้น สามารถสมัครใจว่าจะสมัครสมาชิก กบข. หรือไม่ก็ได้ และสมาชิกกลุ่มที่รับราชการหลังวันดังกล่าว จะต้องเป็นสมาชิก กบข. ทุกคน ประกอบด้วย ข้าราชการ 12 ประเภท ได้แก่
- ข้าราชการพลเรือน
- ข้าราชการตุลาการ
- ข้าราชการอัยการ
- ข้าราชการรัฐสภา
- ข้าราชการตำรวจ
- ข้าราชการทหาร
- ข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษา
- ข้าราชการครูและบุคลากรการศึกษา
- ข้าราชการศาลรัฐธรรมนูญ
- ข้าราชการศาลปกครอง
- ข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
- ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการ ป.ป.ช.
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของสมาชิก กบข.
สมาชิก กบข. จะได้รับสิทธิต่าง ๆ ดังนี้ คือ
- สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับเงินสะสมและเงินออมเพิ่มที่สมาชิกส่งเข้า กบข. ไม่เกินปีละ 5 แสนบาท
- สวัสดิการพิเศษเฉพาะสมาชิก กบข. เท่านั้น โดยสามารถกดรับสิทธิ์ได้สะดวกทันทีทุกวันที่ My GPF Application
- เมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพ จะได้รับเงินเป็น 2 ส่วน ได้แก่
- ส่วนแรก เงินบำเหน็จ หรือ เงินบำนาญรายเดือนจากกรมบัญชีกลาง
- ส่วนที่สอง คือ เงินจาก กบข.ประกอบด้วย เงินสะสม เงินสมทบ เงินชดเชย เงินประเดิม (กรณีรับราชการก่อน 27 มีนาคม 2540 ) พร้อมผลประโยชน์จากเงินทั้ง 4 ส่วนดังกล่าว
ออมเงินกับ กบข. แล้วดีอย่างไร?
ทำไม กบข. เป็นระบบออมเงินเกษียณที่ดีที่สุดของข้าราชการ?
กองทุนบำเหน็จบำนาญ หรือ กบข. เป็นระบบออมเงินเกษียณภาคบังคับที่ดีที่สุดของข้าราชการ เพราะ กบข. มีแผนการลงทุนให้สมาชิกเลือกเยอะกว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กองทุนประกันสังคมของบริษัทเอกชน นอกจากนั้นสมาชิกยังสามารถขอเปลี่ยนแผนการลงทุนได้เอง
ข้อดี-ข้อเสียของการออมเงินกับ กบข.
- ข้อดี คือ เป็นกองทุนการออมเงินเพื่อการเกษียณอายุ ที่เป็นหลักประกันในวัยเกษียณและให้ผลประโยชน์ตอบแทนการรับราชการเมื่อออกจากราชการ ส่งเสริมให้สมาชิกมีการออมทรัพย์ รวมทั้งสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
- ข้อเสีย คือ อาจมีความเสี่ยงจากการนำเงินของสมาชิกไปลงทุน โดยเฉพาะสมาชิกที่ไม่เข้าแผนการลงทุน ซึ่งอาจทำให้ยอดเงินออมลดลงได้ รวมทั้งไม่มีการจ่ายเงินปันผลรายปีเมื่อเทียบกับสหกรณ์ออมทรัพย์
คนที่รับราชการก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540
มีสิทธิสมัครใจเลือกเป็นสมาชิก กบข. หรือไม่ก็ได้ โดยมีข้อดีและข้อเสีย ดังนี้
- ข้อดี กรณีเลือกเป็นสมาชิก กบข. คือ จะมีทางเลือกในการออมเงินเพิ่มขึ้น ทั้งเงินส่วนผสม ระหว่างเงินออมของสมาชิก เงินสมทบ และเงินชดเชยบำนาญที่ลดลงจากรัฐ และผลประโยชน์จากการลงทุนที่กบข. หาได้ ทำให้เมื่อเกษียณอายุจะได้รับเงินเกษียณที่มากพอไว้ใช้ในวัยเกษียณ
- ข้อเสีย กรณีไม่เป็นสมาชิก กบข. คือ เมื่อเกษียณอายุจะได้รับแค่เงินบำเหน็จหรือบำนาญจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีเงินออม เงินสมทบจากรัฐ หรือผลประโยชน์จากการลงทุนใด ๆ เลย
โปรแกรมช่วยวางแผนการเงิน โดย กบข.
กองทุนบำเหน็จบำนาญหรือ กบข. ได้พัฒนาเครื่องมือวางแผนการเงิน ซึ่งเป็นโปรแกรมที่จะช่วยวางแผนการเงินครอบคลุมทั้งการบริหารรายรับรายจ่าย การออมเงิน การลงทุน การจัดการหนี้ วางแผนภาษี ประกันชีวิต และประกันสุขภาพ เพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการด้านการเงินของสมาชิก
เครื่องมือวางการเงิน
เครึ่องมือวางแผนการเงิน เป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาจากการให้คำปรึกษาแก่สมาชิก กบข.
( GPF Financial Assistant Center ) มีหัวข้อวิเคราะห์การงินของสมาชิก 5 หัวข้อ ได้แก่
- ตรวจสุขภาพทางการเงิน เพื่อช่วยประเมินสถานะทางการเงินของสมาชิกในปัจจุบัน และเปรียบเทียบระหว่างทรัพย์สินและหนี้สินอัตโนมัติ
- วางแผนการลงทุนตามเป้าหมาย ช่วยให้รู้ว่าควรออมเงินหรือลงทุนอย่างไรให้ได้ตามเป้าหมายและตามเวลาที่ต้องการ
- วางแผนสินเชื่อและจัดการหนี้ เป็นเครื่องมือช่วยประเมินความสามารถการขอสินเชื่อและช่วยบริหารจัดการหนี้
- วางแผนภาษีให้ถูกต้อง ครบถ้วน และใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อช่วยประหยัดภาษีที่จ่ายให้น้อยลงหรือไม่มากเกินไป
- วางแผนประกันชีวิต จะช่วยประเมินสถานการณ์ได้ว่าควรทำประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพ ตามที่ต้องการและเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดคิดมาก่อน
ปฏิทินการอบรม
กองทุน กบข. ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ จัดโครงการส่งเสริมความรู้ทางการเงินแก่สมาชิก กบข. ในปี 2565 นี้ เพื่อเสริมความรู้ ทักษะทางการเงิน สร้างวินัยการออม วางแผนการเงินเพื่อการเกษียณอายุอย่างมีคุณภาพ ผ่านกบข. ในหลักสูตรต่าง ๆ อาทิ การวางแผนภาษีสไตล์มนุษย์เงินออม บริหารเงินหลังเกษียณสไตล์วัยเก๋า ครบเครื่องเรื่องพอร์ตลงทุน การออมและการลงทุน สามารถดูช่วงเวลากิจกรรมอมรบได้ที่ ปฏิทินการอบรม
สมาชิก กบข. ลดหย่อนภาษีอย่างไร?
สมาชิก กบข. หรือ คนที่จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน กบข. สามารถนำเงินนั้นไปใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินสะสมตามที่จ่ายจริง แต่กฎหมายกำหนดเพดานให้หักลดหย่อนได้ไม่เกินปีละ 5 แสนบาท
ขอลดหย่อนภาษีระหว่างเป็นสมาชิก และพ้นสภาพสมาชิก
ระหว่างเป็นสมาชิก กบข. มีสิทธิขอลดหย่อนภาษีจากเงินออมสะสมได้ปีละไม่เกิน 5 แสนบาท แต่เมื่อพ้นสมาชิกภาพ กบข. จากการเกษียณอายุ ทุพพลภาพ เสียชีวิต หรือลาออกตามโครงการของรัฐ มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเฉพาะเงินออมที่ได้รับจากกบข. หรือ กรณีสมาชิกออมต่อ จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเฉพาะเงินต้นและผลประโยชน์จากการออมต่อ ส่วนถ้าสิ้นสุดสมาชิกด้วยเหตุอื่น ๆ จะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีจากเงินที่ได้รับจาก กบข. ยกเว้นเงินต้นสะสม แต่กรณีที่ออมต่อก็จะได้รับการยกเว้นภาษีเมื่อขอรับเงินคืนตอนอายุ 60 ปีเท่านั้น
การส่งเงินเข้ากบข.
สมาชิกกบข.ต้องศึกษาสัดส่วนการส่งเงิน และวิธีหักเงินเข้ากบข. โดยมีรายละเอียดดังนี้
สัดส่วนการส่งเงินเข้า กบข.
สมาชิก กบข. ทุกคนจะมีเงินออมในบัญชี เริ่มตั้งแต่เป็นสมาชิกจนถึงปัจจุบัน โดยเงินออมที่สมาชิกสะสมเข้ากองทุนอยู่ที่ 3% ของเงินเดือนสมาชิก ซึ่งเงินเดือนดังกล่าวไม่รวมกับเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนหรือเงินเพิ่มอย่างอื่น
กรณีส่งเงินสะสมส่วนเพิ่มสามารถส่งได้ตั้งแต่ 1- 12% ของเงินเดือน และเมื่อรวมกันแล้วเงินสะสมต้องไม่เกิน 15% ของเงินเดือนของสมาชิก
วิธีหักเงินเข้า กบข.
ส่วนราชการต้นสังกัดของสมาชิก จะทำหน้าที่หักเงินสะสมของสมาชิกจากเงินเดือนและนำส่งเข้ากบข.
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข. เป็นกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุภาคบังคับของข้าราชการ เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญให้และตอบแทนการรับราชการ จนเกษียณอายุ รวมกับสวัสดิการและสิทธิประโยขน์อื่น ๆ ของสมาชิก ดังนั้นข้าราชการต้องไม่พลาดการวางแผนและออมเงินกับกบข. เพื่อให้อุ่นใจ และมีเงินใช้หลังเกษียณอย่างแน่นอน