รู้หรือไม่ว่าป้ายสี่เหลี่ยมที่ติดหน้ารถ หรือที่เรียกกันติดปากว่าป้ายวงกลมนั้น ได้มาจากการจ่ายภาษีรถยนต์ ไม่ใช่พ.ร.บ.รถยนต์ แล้วป้ายเล็ก ๆ นี้มีความสำคัญ มีขั้นตอนในการได้มาอย่างไร ต้องไปจ่ายที่ไหนถึงจะได้มา มาศึกษาได้ในบทความนี้
Link ที่เกี่ยวข้อง
ไม่ต่อภาษีรถยนต์ ระวังถูกปรับ หรือระงับการใช้รถ
การต่อภาษีรถยนต์ เป็นการจ่ายภาษีประเภทหนึ่งสำหรับผู้ใช้รถ เพื่อภาครัฐจะนำเงินในส่วนนี้ไปใช้เพื่อสนับสนุนงานด้านคมนาคมต่างๆ เช่น นำไปปรับปรุงถนนหนทาง หรือนำไปพัฒนาระบบการคมนาคมอื่น ๆ ให้ดียิ่งขึ้น
แต่ถ้าไม่ต่อภาษีรถยนต์อาจมีโทษตามระยะเวลาที่ขาดต่อไป เช่น
หากขาดต่อ 1-3 ปี
มีโอกาสจะโดนตำรวจโบก เสียค่าปรับ และยังต้องเสียค่าปรับกับกรมขนส่ง 1% ต่อเดือน
หากขาดต่อเกิน 3 ปี
รถจะถูกระงับทะเบียน
ต้องนำรถไปทำเรื่องเพื่อจดทะเบียนภาษีรถยนต์ใหม่ และอาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าตรวจสภาพรถ หรือค่าป้ายใหม่
ภาษีรถยนต์ VS พ.ร.บ.รถยนต์ ต่างกันอย่างไร
ปกติคนส่วนใหญ่นิยมทำทั้งสองอย่างนี้ไปพร้อมกัน แต่จริง ๆ แล้วการไปต่อทะเบียน หมายถึงการต่อภาษีรถยนต์ ซึ่งแตกต่างกับการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ อย่างสิ้นเชิง มีเพียงสิ่งเดียวที่เหมือนกัน คือ ต้องจ่ายทุกปีและถ้าไม่ต่อก็จะมีโทษตามกฎหมาย
จุดประสงค์ในการต่อ | จุดประสงค์ในการต่อ เพื่อไปดูแลรักษาระบบคมนาคมและภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง |
เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงจากเหตุไม่คาดฝัน เช่น บาดเจ็บหรือเสียชีวิต ในรูปแบบของค่ารักษาพยาบาล หรือเงินชดเชยอื่นๆ
และเป็นเอกสารเพื่อใช้ประกอบการต่อภาษีรถยนต์ |
ระยะเวลาที่ต้องชำระ | ชำระก่อนวันหมดอายุที่ระบุไว้ทุกปี | ชำระทุกปี |
โทษหากไม่ต่อ | ผิดกฏหมาย ปรับและระงับทะเบียน | ผิดกฏหมาย ปรับไม่เกิน 10,000 บาท |
สิ่งที่ได้หลังจากต่อ | ป้ายภาษี หรือที่เรียกว่าป้ายวงกลม ป้ายสี่เหลี่ยม | เอกสารกรมธรรม์ พ.ร.บ. รถยนต์ |
สำหรับภาษีรถยนต์ คือ ค่าใช้จ่ายที่เจ้าของรถทุกคนต้องดำเนินการชำระทุกปี เพื่อนำเงินไปดูแลรักษาระบบคมนาคมและภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการที่จะจ่ายภาษี ต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ให้เรียบร้อยก่อน เพื่อนำเอกสาร พ.ร.บ. รถยนต์ ไปต่อภาษี ส่วนระยะเวลาที่ผู้ขับขี่ต้องต่อภาษี สามารถเช็กได้ง่าย ๆ จากวันหมดอายุที่เขียนไว้บนป้ายภาษีหรือที่เรียกว่าป้ายวงกลมหน้ารถได้เลย
รถแต่ละประเภทก็จะมีอัตราค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไป โดยกรมการขนส่งทางบกจัดเก็บภาษีในอัตราต่าง ๆ ตาม พ.ร.บ รถยนต์ พ.ศ. 2522 เช่น รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จัดเก็บตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี) และรถยนต์ประเภทอื่นจัดเก็บเป็นรายคัน เป็นต้น
1. จัดเก็บตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน
- 600 ซีซีแรก ซีซีละ 0.50 บาท
- 601 – 1,800 ซีซี ซีซีละ 1.50 บาท
- เกิน 1,800 ซีซี ซีซีละ 4.00 บาท
รถของนิติบุคคลที่มิได้เป็นผู้ให้เช่าซื้อ
- จ่ายภาษี 2 เท่า
รถที่จดทะเบียนมาแล้ว 5 ปี
จะได้รับการลดหย่อนภาษีประจำปีในปีต่อ ๆ ไป ดังนี้
- ปีที่ 6 ร้อยละ 10
- ปีที่ 7 ร้อยละ 20
- ปีที่ 8 ร้อยละ 30
- ปีที่ 9 ร้อยละ 40
- ปีที่ 10 ขึ้นไป ร้อยละ 50
2. จัดเก็บเป็นรายคัน
- รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท
- รถจักรยานยนต์สาธารณะ คันละ 100 บาท
- รถพ่วงข้างจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ
50 บาท - รถพ่วงชนิดอื่น คันละ 100 บาท
- รถบดถนน คันละ 200 บาท
- รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร คันละ 50 บาท
3. จัดเก็บตามน้ำหนัก
เช็กอัตราตามน้ำหนักและประเภทรถได้ ที่นี่
4. รถพลังงานไฟฟ้า
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ให้เก็บภาษีตามน้ำหนักของรถในอัตรารถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน
- รถพลังงานไฟฟ้าอื่น ๆ ให้เก็บภาษีครึ่งหนึ่งของการเก็บรายคันและตามน้ำหนัก
ต่อภาษีรถยนต์ได้เมื่อไหร่
การต่อภาษีรถยนต์สามารถทำได้ตลอดปี ขึ้นอยู่กับวันหมดอายุของป้ายวงกลมที่ระบุไว้หน้ารถ และสามารถต่อล่วงหน้าได้มากถึง 90 วันก่อนครบกำหนด
หากผู้ขับขี่กลัวว่าจะลืมต่อภาษีรถยนต์ สามารถดาวน์โหลด แอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” เพื่อรับการแจ้งเตือนก่อนครบกำหนดจ่ายภาษี เพราะแอปฯ จะตั้งค่าเตือนผู้ใช้บริการถึง 3 รอบ คือ
- ก่อนหมดอายุ 3 เดือน (90 วัน)
- ก่อนหมดอายุ 1 เดือน (30 วัน)
- ณ วันที่หมดอายุ (แจ้งเตือนครั้งสุดท้าย)
เตรียมเอกสารให้พร้อมก่อนต่อภาษีรถยนต์
การต่อภาษีรถยนต์ใช้เอกสาร ดังนี้
- หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ (ถ้ามี) หรือใบแทน
- หลักฐานการจัดให้มีประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
- หลักฐานการผ่านการตรวจสภาพรถ สำหรับรถยนต์ที่มีเงื่อนไขดังนี้
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย. 2) ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
- รถจักรยานยนต์ (รย.12) ที่มีอายุใช้งานครบ 5 ปี ขึ้นไป
โดยนับอายุรถเริ่มตั้งแต่วันจดทะเบียนครั้งแรก และสามารถเช็กอัตราค่าตรวจสภาพได้ ที่นี่
ต่อภาษีรถยนต์ต้องไปที่ไหน
เมื่อเช็กวันหมดอายุเรียบร้อยแล้ว สามารถไปต่อภาษีได้ทั้งหมด 2 ช่องทางคือ ตามจุดบริการต่าง ๆ เช็กได้ ที่นี่ หรือช่องทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน
จุดบริการ
- สำนักงานขนส่ง / บริการเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax)
- ตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk) ณ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1-5
- ที่ทำการไปรษณีย์
- ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ เช็กได้ ที่นี่
- ธนาคารเพื่อการเกษตร และ สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ
- ศูนย์บริการร่วมคมนาคม เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน
ขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์ง่าย ๆ
เมื่อเลือกวิธีชำระเงินได้แล้ว มาศึกษาขั้นตอนการจ่ายภาษีง่ายๆ เพิ่มความมั่นใจก่อนไปชำระได้ดังนี้
กรณีที่ 1 จ่ายตามจุดบริการ
- เตรียมเอกสารตามข้างบนให้เรียบร้อย
- ยื่นขอคำขอต่อทะเบียนรถ ณ สถานที่ที่รับต่อภาษีรถยนต์ เช่น ตามสำนักงานขนส่ง หรือ เคาน์เตอร์เซอร์วิส
- ดำเนินการตรวจสภาพรถ ณ จุดที่กำหนด (หากดำเนินการนอกขนส่ง จำเป็นต้องขอเอกสารตรวจสภาพรถก่อน)
- ชำระค่าธรรมเนียม โดยสามารถเช็กยอดภาษีได้จากเว็บไซต์ของกรมขนส่ง
- รับเครื่องหมายแสดงการจ่ายภาษี หรือหรับป้ายวงกลมมาติดหน้ารถ
** หากต่อภาษีที่ 7-11 จะมีค่าธรรมเนียมการจัดส่งเอกสาร และสามารถรอรับเอกสาร เช่น ใบเสร็จ และป้ายภาษี ได้ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ **
กรณีที่ 2 จ่ายออนไลน์ผ่านเว็บไซต์
- เข้าเว็บไซต์กรมขนส่งทางบก (e-Service)
- ลงทะเบียนเพื่อขอรับรหัสผ่าน (กรอกชื่อ-นามสกุล เลขบัตรประจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ให้จัดส่งเอกสาร และเบอร์โทรศัพท์)
- กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถ
- กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับหลักฐานการเอาประกัน ตาม พ.ร.บ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 (กรณี พ.ร.บ. ที่มีความคุ้มครองมากกว่า 3 เดือน)
- เลือกวิธีชำระเงิน ได้แก่
- หักบัญชีเงินฝาก เช็กธนาคาร/หน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการ คลิก ที่นี่
- ชำระด้วยบัตรเครดิต/บัตรเดบิตที่มีสัญลักษณ์ VISA , MASTERCARD
- พิมพ์ใบแจ้งชำระภาษีรถแล้วนำไปชำระ ณ เคาน์เตอร์หรือตู้ ATM ของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ
- กรมการขนส่งทางบก จะส่งใบเสร็จรับเงิน เครื่องหมายแสดงการจ่ายภาษี และ กรมธรรม์ พ.ร.บ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ให้ผู้ชำระเงินทางไปรษณีย์
- กรมการขนส่งทางบก จะส่งใบเสร็จรับเงิน เครื่องหมายแสดงการจ่ายภาษี และ กรมธรรม์ พ.ร.บ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ให้ผู้ชำระเงินทางไปรษณีย์
- เจ้าของรถสามารถนำใบคู่มือจดทะเบียนรถไปบันทึกได้ ณ หน่วยงานทะเบียนกรมการขนส่งทางบก ทั่วประเทศ
** หากต่อภาษีออนไลน์ จะมีค่าธรรมเนียมการจัดส่งเอกสาร ค่าธรรมเนียมธนาคารหรือค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต **
หากมีข้อสงสัย สามารถศึกษาข้อมูลการใช้งานระบบออนไลน์เพิ่มเติม ได้ ที่นี่
เอกสารที่ใช้สำหรับการทำใบขับขี่รถสาธารณะ ทั้งการขอใหม่ การต่อใบขับขี่ และกรณีใบขับขี่หาย มีดังนี้
ขาดต่อภาษีเกิน 3 ปี ต้องทำอย่างไร
หากขาดต่อภาษีเป็นเวลามากกว่า 3 ปีขึ้นไป ทางขนส่งจะดำเนินการระงับทะเบียนทันที แต่ก็อย่าได้กังวลใจไป มาลองอ่านวิธีต่อภาษีและทำตามไปพร้อม ๆ กันได้เลย
หากผู้ขับขี่ยังคงต้องการใช้รถคันเดิม ต้องยื่นขอจดทะเบียนรถใหม่ ชำระภาษีรถยนต์ย้อนหลังตามจำนวนปีที่ขาดไปพร้อมทั้งเสียค่าปรับ คืนป้ายทะเบียนเดิม และทำการจดทะเบียนรถใหม่ ก็เป็นอันเสร็จสิ้น โดยมีเอกสารและขั้นตอนดังนี้
เอกสารที่ต้องใช้
- หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ (ยกเว้นรถที่ยังไม่ได้จดทะเบียน)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
- หลักฐานการได้มาของรถ เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าซื้อ ใบเสร็จรับเงิน และใบกำกับภาษีของทุกทอดที่มีการซื้อขาย เว้นแต่การจำหน่ายช่วงแรก (จากบริษัทผู้ผลิต) ไม่ต้องใช้
- หนังสือแจ้งการจำหน่ายจากบริษัทผู้ผลิต กรณีเป็นรถนำเข้าต้องใช้หลักฐานการนำเข้าได้แก่ ใบรับรองการนำเข้า (แบบ 32) จากกรมศุลกากร, ใบเสร็จรับเงินค่าอากรขาเข้า, บัญชีแสดงรายการสินค้า (INVOICE)
- พ.ร.บ.รถยนต์
- กรณีไม่ได้มาดำเนินการด้วยตนเอง
- หนังสือมอบอำนาจ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบ
ขั้นตอน
- ยื่นแบบคำขอจดทะเบียนพร้อมหลักฐานประกอบคำขอ
- นำรถเข้าตรวจสภาพ ณ งานตรวจสภาพรถ
- ตรวจสอบการบรรจุรถในบัญชี ขส.บ.11
- ชำระเงินค่าธรรมเนียมและจ่ายภาษีรถ ดังนี้
- ค่าจดทะเบียนรถใหม่ 315 บาท
- ค่าสมุดคู่มือจดทะเบียนรถ 100 บาท
- ค่าแผ่นป้ายทะเบียนรถ ป้ายละ 100 บาท
- หลักฐานการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535
- อัตราภาษีของรถแต่ละประเภท
- ค่าธรรมเนียมการตรวจสภาพรถยนต์
50 บาท
- รับแผ่นป้ายทะเบียนรถ เครื่องหมายแสดงการจ่ายภาษีและหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
สำหรับรถที่จอดรถทิ้งไว้เฉย ๆ ไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน เลิกใช้รถไปแล้ว หรือรถสูญหาย ผู้ขับขี่ก็ต้องไปแจ้งไม่ใช้รถ ณ สำนักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียนอยู่ ไม่เช่นนั้นหากปล่อยไว้เป็นเวลานานเกิน 3 ปี ทะเบียนก็จะถูกระงับ ต้องจ่ายภาษีและค่าปรับถึงแม้จะไม่ได้ใช้ขับขี่ก็ตาม โดยมีเอกสารและขั้นตอนดังนี้
เอกสารที่ต้องใช้
- ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
- สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน กรณีเป็นนิติบุคคล ใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
- แผ่นป้ายทะเบียนรถ
- แบบคำขอแจ้งไม่ใช้รถ ซึ่งกรอกรายการและลงลายมือชื่อเจ้าของรถเรียบร้อยแล้ว
- กรณีไม่ได้มาดำเนินการด้วยตนเอง
- หนังสือมอบอำนาจ
- บัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบ
ขั้นตอน
- ยื่นคำขอแจ้งไม่ใช้รถ พร้อมหลักฐานและแผ่นป้ายทะเบียนรถ
- ชำระค่าธรรมเนียม ค่ายื่นคำร้อง 25 บาท/คัน
- รับใบเสร็จรับเงิน และใบคู่มือจดทะเบียนรถ
นอกจากที่ผู้ขับขี่รถยนต์จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายการจราจรบนท้องถนนแล้ว สิ่งที่สำคัญอีกอย่างที่ควรให้ความสำคัญ คือการต่อภาษีรถยนต์ เพื่อที่รัฐจะนำเงินไปพัฒนาถนนและระบบคมนาคมให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นผู้ขับขี่ทุกคนควรหมั่นสังเกตวันหมดอายุที่ป้ายป้าษีหน้ารถยนต์ เพื่อที่จะไม่ต้องจ่ายค่าปรับหรือเดินเรื่องต่อภาษีใหม่