การทำใบขับขี่ใหม่และต่อใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล ต้องทำอย่างไร

สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับการขับรถ คือ “ใบอนุญาตขับรถ” หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกว่า “ใบขับขี่” และใบขับขี่ที่เรากำลังจะพูดถึงก็คือ ใบขับขี่ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญสำหรับคนขับรถ เพื่อใช้ยืนยันว่าได้รับอนุญาตให้ขับขี่รถยนต์ได้ตามกฎหมาย คนขับรถที่ไม่มีใบขับขี่ถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย

หากกำลังมองหาขั้นตอนของการทำใบขับขี่ และการต่ออายุใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล บทความนี้จะช่วยไขข้อข้องใจ ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมตัว เอกสารที่ต้องใช้ และจุดบริการในการทำใบขับขี่

Link ที่เกี่ยวข้อง

ประกันสังคม

เรื่องควรรู้ก่อนทำใบขับขี่

ใบขับขี่ คืออะไร

ใบขับขี่ คือ เอกสารสำคัญสำหรับผู้ใช้รถบนท้องถนน ว่าสามารถใช้งานรถอะไรได้บ้างตามที่กฎหมายกำหนด เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถรับจ้าง เป็นต้น ถือเป็นใบอนุญาตเพื่อให้ขับขี่บนท้องถนนตามที่ได้รับอนุญาต หากไม่มีใบอนุญาตขับขี่ จะถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดตามกฎหมาย มีโทษทางแพ่ง รวมถึงจะเสียสิทธิ์จากการได้รับการคุ้มครองจากประกันภัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับรถอีกด้วย

อายุเท่าไหร่ ถึงทำใบขับขี่ได้

กรมการขนส่งทางบก กำหนดไว้ว่าคนที่จะทำใบขับขี่ได้ จะต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ต้องรู้กฎจราจรและข้อบังคับในการใช้รถ ไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคในการขับรถ เช่น โรคลมชัก ความดัน ฯลฯ หรือมีปัญหาทางสายตา เพราะอาจส่งผลต่อการมองป้ายหรือสัญญาณไฟจราจรนั่นเอง 

ใบขับขี่ชั่วคราว เป็นใบขับขี่ใบแรกที่ได้จากการทำใบขับขี่ มีอายุการใช้งาน 2 ปี เมื่อหมดอายุแล้วต้องไปเปลี่ยนให้เป็นใบขับขี่แบบ 5 ปี โดยต้องต่อก่อนวันหมดอายุ 3 เดือน เว้นแต่จะมีกรณีพิเศษที่สามารถยืดระยะเวลาการต่ออายุออกไปได้

เมื่อไหร่ต้องต่ออายุใบขับขี่

เมื่อใบขับขี่ชนิดชั่วคราวหมดอายุลง คนขับสามารถต่ออายุได้ล่วงหน้า 3 เดือน แต่ต้องไม่ขาดการต่ออายุเกิน 1 ปี ถ้าเกินจะต้องเข้าอบรม 5 ชั่วโมง และสอบข้อเขียนใหม่ แต่ถ้ากลัวว่าจะลืมวันต่ออายุใบขับขี่ สามารถเข้าไปเช็กข้อมูลใบขับขี่ได้จากแอปฯ ทางรัฐจะได้ไม่พลาดวันเวลาที่จะต้องไปต่อใบขับขี่

TIP BOX: เกร็ดความรู้เกี่ยวกับใบขับขี่​

  • ขอมีใบขับขี่ครั้งแรก ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป อายุการใช้งาน 2 ปี  
  • ต่ออายุรอบแรก ต่ออายุจาก 2 ปี เป็น 5 ปี 
  • ต่ออายุต่อทุก ๆ 5 ปี
  • ใบขับขี่ตลอดชีพ มีเฉพาะรถส่วนบุคคล แต่ถูกยกเลิกไปแล้วตั้งแต่ปี 2546

การทำใบขับขี่ สำหรับคนที่ไม่เคยมีใบขับขี่มาก่อน

ใบขับขี่ส่วนบุคคล หรือ ใบขับขี่ประเภท บ. (ส่วนบุคคล) เป็นหลักฐานที่ใช้ยืนยันว่าได้รับการอนุญาตให้ขับขี่รถยนต์ประเภทส่วนบุคคล โดยการที่จะมีใบขับขี่ประเภทนี้ได้จะต้องมีคุณสมบัติ และผ่านการทดสอบตามที่กรมการขนส่งฯ กำหนด
รถส่วนบุคคล นำมาขับแกร็บได้ไหม? รถยนต์ส่วนบุคคล สามารถนำมาให้บริการรับส่งผู้โดยสารได้ แต่ต้องมีการลงทะเบียนเป็นรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และมีใบขับขี่รถสาธารณะก่อน จึงจะนำมาให้บริการได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายได้

การทำใบขับขี่ครั้งแรก

การขอใบขับขี่ครั้งแรก หรือ การขอใบขับขี่ชนิดชั่วคราว (ขอใหม่) สามารถทำได้ ดังนี้

เอกสารที่ต้องใช้

  • สำหรับคนไทย
    1. บัตรประชาชนฉบับจริง
    2. ใบรับรองแพทย์ (อายุไม่เกิน 1 เดือน)
  • สำหรับชาวต่างชาติ
    1. หนังสือเดินทาง (Passport) พร้อมสำเนา สำหรับชาวต่างชาติ
    2. ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) สำหรับชาวต่างชาติ

ขั้นตอนการทำใบขับขี่

 

  1. จองคิวอบรม เป็นขั้นตอนแรกของการทำใบขับขี่ สามารถจองได้ 3 ช่องทาง คือ
    • จองคิวด้วยตัวเองที่จุดบริการ
    • จองคิวผ่านระบบออนไลน์ ทางแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue สามารถดาวน์โหลดได้จาก App Store หรือ Google Play หรือเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก
    • จองคิวทางโทรศัพท์ ผ่านหมายเลข 02-271-8888 ต่อ 4201-4 หรือ โทร 1584
  2. ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
    • ทดสอบการมองเห็นสี (เขียว/เหลือง/แดง)
    • ทดสอบสายตาทางลึก (เลื่อนเสาให้ตรงกัน)
    • ทดสอบสายตาทางกว้าง (บอกสีที่ปรากฏด้านข้าง)
    • ทดสอบปฏิกิริยาเท้า (ความสามารถในการใช้เท้าเหยียบเบรก)

    แต่เนื่องจากขณะนี้เป็นช่วงเวลาของโรคระบาด จึงอาจมีการเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาของการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย สามารถเช็กที่เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบกได้โดยตรง

  3. การอบรม เจ้าหน้าที่จะเป็นผู้อบรมให้ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับวินัยจราจร และการขับรถ โดยจะแบ่งเป็นภาคเช้าและภาคบ่าย นอกจากนี้ ยังมีการอบรมออนไลน์ผ่านระบบ DLT-elearning ซึ่งใบอบรมจะมีอายุการใช้งาน 90 วัน

  4. การทดสอบข้อเขียน เป็นการทดสอบความรู้เกี่ยวกับการขับรถ และสัญญาณจราจรต่าง ๆ เป็นการทำแบบทดสอบผ่านระบบ E-exam ข้อสอบมี 4 ตัวเลือก ทั้งหมด 50 ข้อ ต้องตอบให้ถูกอย่างน้อย 45 ข้อ หากไม่ผ่านจะต้องสอบใหม่ในวันถัดไป หรือไม่เกิน 90 วันหลังการอบรม
  5. ทดสอบขับรถ หลังจากสอบข้อเขียนผ่านแล้ว จะต้องจองคิวสอบภาคปฏิบัติ หรือสอบท่าขับรถ มีทั้งหมด 3 ท่าบังคับ คือ
    • เดินหน้าและถอยหลัง
    • จอดรถเทียบทางเท้าไม่เกินป้ายหยุด
    • ถอยรถเข้าซองโดยใช้ไม่เกิน 7 เกียร์
  6. รอรับใบขับขี่ พร้อมชำระค่าธรรมเนียม หลังจากที่ผ่านการทดสอบครบทุกอย่างแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการถ่ายรูปเพื่อพิมพ์ใบขับขี่ ซึ่งใบขับขี่ที่ได้จะเป็นแบบชั่วคราว มีอายุการใช้งาน 2 ปี

จองคิวทำใบขับขี่ผ่านแอปพลิเคชั่น

แอปพลิเคชัน DLT Smart Queue พร้อมอำนวยความสะดวก ทั้งขั้นตอนการทำใบขับขี่ การต่ออายุใบขับขี่ การชำระภาษีรถยนต์ ตลอดจนการขอใบอนุญาตขับขี่ระหว่างประเทศ เพียงทำตามขั้นตอน ดังนี้

  1. ดาวน์โหลด แอปพลิเคชัน DLT Smart Queue สามารถดาวน์โหลดได้จาก App Store หรือ Google Play
  2. เข้าสู่ระบบ เพียงกดเลือกตามขั้นตอน
    • บัตรประชาชน > กรอกข้อมูลส่วนตัวเพื่อสมัครใช้งาน > สร้างรหัสผ่านเพื่อเข้าสู่ระบบ
  3. เลือกสำนักงานขนส่งที่ต้องการจองคิวต่อใบขับขี่ โดยเลือกสาขาที่ใกล้บ้าน หรือสะดวกต่อการเดินทางไปต่ออายุใบขับขี่มากที่สุด
  4. เลือกประเภทงานบริการเป็น “งานใบอนุญาต”
  5. เลือกประเภทงานที่ต้องการเข้ารับบริการ เช่น ต่อใบขับขี่ 5 ปีเป็น 5 ปี หรือ 2 ปีเป็น 5 ปี หรือจะต่ออายุใบขับขี่รถสาธารณะ 3 ปีเป็น 3 ปี อบรมผ่านระบบ DLT-elearning เป็นต้น
  6. เลือกวันที่ต้องการต่อใบขับขี่
  7. เลือกเวลาที่ต้องการจอง

ถ้าอยากสอบขับรถให้ผ่านฉลุย นอกจากจะต้องฝึกฝนบ่อย ๆ แล้ว การเลือกใช้รถที่เราคุ้นเคย หรือใช้งานอยู่เป็นประจำ ก็จะช่วยให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น ยิ่งใช้รถยนต์ที่มีขนาดเล็กด้วยแล้ว จะยิ่งมีความคล่องตัว และผ่านการทดสอบได้ไม่ยาก

การต่ออายุใบขับขี่ชั่วคราว (2 ปี เป็น 5 ปี)

การต่อใบขับขี่ชนิดนี้ เป็นการต่ออายุจากใบขับขี่ชั่วคราวที่มีอายุ 2 ปี มาเป็น 5 ปี

เอกสารที่ต้องใช้ในการต่อใบขับขี่

  1. ใบขับขี่ชั่วคราวอายุไม่ต่ำกว่า 1 ปี
  2. บัตรประชาชนฉบับจริง
  3. ใบรับรองแพทย์ (มีอายุไม่เกิน 1 เดือน)

ขั้นตอนการต่อใบขับขี่

  1. จองคิวอบรม สามารถไปที่จุดให้บริการของกรมขนส่งฯ ที่อยู่ใกล้บ้าน เพื่อยื่นเอกสารและคำขอต่ออายุใบขับขี่ หรือจองคิวต่อใบขับขี่ออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จาก App Store หรือ Google Play หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก
  2. ตรวจสอบเอกสาร และออกคำขอ
  3. ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ผู้ที่ขอต่อใบขับขี่ จะได้รับการประเมินสมรรถภาพของร่างกาย โดยต้องมีการทดสอบตามหัวข้อ ต่อไปนี้
    • การทดสอบการมองเห็นสี 
    • การทดสอบสายตาทางลึก 
    • การทดสอบสายตาทางกว้าง
    • การทดสอบปฏิกิริยาเท้า

    ดูตัวอย่างการทดสอบสมรรถภาพจากวิดีโอ

  4. ถ่ายรูปพิมพ์ใบขับขี่ เมื่อผ่านการทดสอบทั้งหมดแล้ว ก็ถึงเวลาชำระค่าธรรมเนียม จำนวน 505 บาท (ค่าใบขับขี่ 500 บาท และค่าคำขอ 5 บาท) พร้อมถ่ายรูปเพื่อพิมพ์ใบขับขี่
หมายเหตุ: ผู้ขับขี่สามารถต่อใบขับขี่ล่วงหน้าได้ไม่เกิน 60 วัน หรือ 2 เดือน หากขาดต่ออายุใบขับขี่ กรณีสิ้นอายุเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี จะต้องสอบข้อเขียนใหม่ หากสิ้นอายุเกิน 3 ปี เพิ่มขั้นตอนการอบรม, ทดสอบข้อเขียน และทดสอบขับรถ

การต่ออายุใบขับขี่ชนิด 5 ปี (5 ปี เป็น 5 ปี)

การต่อใบขับขี่ชนิดนี้ เป็นการต่ออายุจากใบขับขี่ชั่วคราวที่มีอายุ 2 ปี มาเป็น 5 ปี
เอกสารที่ต้องใช้ในการต่อใบขับขี่
  1. ใบขับขี่เดิม หรือใบแทน
  2. บัตรประชาชนฉบับจริง
  3. ใบรับรองแพทย์ (มีอายุไม่เกิน 1 เดือน)

ขั้นตอนการต่อใบขับขี่

  1. จองคิวอบรม สามารถไปที่จุดให้บริการของกรมขนส่งฯ ที่อยู่ใกล้บ้าน เพื่อยื่นเอกสารและคำขอต่ออายุใบขับขี่ หรือจองคิวต่อใบขับขี่ออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จาก App Store หรือ Google Play หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบกที่ https://gecc.dlt.go.th
  2. ตรวจสอบเอกสาร และออกคำขอ
  3. ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ขั้นตอนการทดสอบสมรรถภาพของผู้ขอต่อใบขับขี่ชนิด 5 ปี ไม่แตกต่างกับการต่ออายุแบบชั่วคราว ซึ่งมีการทดสอบดังนี้
    • ทดสอบการมองเห็นสี (เขียว/เหลือง/แดง) ของสายตา
    • การเลื่อนเสาให้ตรงกัน เพื่อทดสอบสายตาทางลึก
    • บอกสีด้านข้าง เพื่อทดสอบสายตาทางกว้าง
    • การเหยียบเบรกจำลอง เพื่อทดสอบปฏิกิริยาทางเท้า

    โดยเข้าไปดูตัวอย่าง ขั้นตอนการทดสอบสมรรถภาพ

  4. อบรม ผู้ขอต่อใบขับขี่ชนิด 5 ปี ต้องเข้ารับการอบรมเป็นเวลา 1 ชั่วโมง และในกรณีที่เข้ารับการอบรมผ่านระบบออนไลน์ สามารถรับการอบรมผ่านเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบกได้
  5. รอรับใบขับขี่ หากทดสอบครบทุกขั้นตอนแล้ว ก็ไปยื่นเอกสารพร้อมชำระเงิน 505 (500 บาท เป็นค่าใบขับขี่ และ 5 บาท เป็นค่าคำขอ) สามารถเช็กข้อมูลอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขับรถเพิ่มเติม ได้จากเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก แล้วถ่ายรูปเพื่อรอพิมพ์ใบขับขี่เป็นขั้นตอนสุดท้าย

หมายเหตุ: ผู้ขับขี่สามารถต่อใบขับขี่ล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน หรือ 3 เดือน หากขาดการต่ออายุใบขับขี่ สิ้นอายุเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี จะต้องสอบข้อเขียนใหม่ แต่ถ้าขาดการต่อใบขับขี่สิ้นอายุเกิน 3 ปี ต้องเพิ่มขั้นตอนทดสอบข้อเขียน และทดสอบการขับรถ

  • ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล ไม่ต้องแจ้งความ สามารถขอทำบัตรใหม่กับกรมการขนส่งทางบกได้ทันที
  • ใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ ต้องไปแจ้งความ เพื่อแนบเป็นเอกสารของทำใบขับขี่ใหม่

ช่วงเวลาที่เปิดให้บริการ

กรมการขนส่งทางบกเปิดให้บริการต่อใบขับขี่ตามวันและเวลาราชการ (จันทร์-ศุกร์) โดยไม่มีการพักกลางวัน และสามารถจองคิวออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

การต่ออายุใบขับขี่ไม่ได้มีความยุ่งยากอย่างที่เข้าใจ หากมีการเตรียมตัวที่ดี เพราะใบขับขี่จะหมดอายุตรงกับวันที่เราทำ เราจึงมีเวลาวางแผนและเตรียมการไว้ล่วงหน้าได้ อีกทั้งยังสามารถจองคิวและอบรมออนไลน์ได้ ทำให้ช่วยประหยัดเวลา ไม่ต้องตื่นเช้า หรือต้องลางานเพื่อมารอต่อใบขับขี่อีกต่อไป

Link ที่เกี่ยวข้อง

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า