การจะนำรถแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์ หรือรถสามล้อมาขับรับจ้างได้นั้น นอกจากต้องมีความสามารถในการขับรถ และเข้าใจกฎจราจรเป็นอย่างดีแล้ว จะต้องมีใบขับขี่ที่ใช้สำหรับการขับรถประเภทนั้น ๆ โดยเฉพาะด้วย เช่น ใบขับขี่แท็กซี่ เพื่อให้การขับขี่เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ใบขับขี่รถสาธารณะเป็นสิ่งสำคัญที่คนขับรถรับจ้างทุกคนต้องมี แม้จะเป็นเอกสารที่คล้ายกันกับใบขับขี่รถส่วนบุคคล แต่ก็มีความแตกต่างที่คนขับรถสาธารณะทุกคนต้องรู้ ส่วนจะมีขั้นตอนและวิธีการทำใบขับขี่สาธารณะอะไรบ้างนั้น อ่านรายละเอียดทั้งหมดจากบทความนี้ได้เลย
Link ที่เกี่ยวข้อง
ใบขับขี่รถสาธารณะ คืออะไร?
- ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ
- ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ
- ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ
ใครบ้างที่ทำใบขับขี่รถสาธารณะ ใบขับขี่แท็กซี่ได้
คนที่จะทำใบขับขี่รถสาธารณะได้ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
- มีใบขับขี่รถส่วนบุคคลประเภทต่าง ๆ มาไม่น้อยกว่า 1 ปี เช่น รถยนต์ส่วนบุคคล รถสามล้อส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
- ทำใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ เช่น ใบขับขี่แท็กซี่ และรถยนต์สามล้อสาธารณะ ต้องมีอายุ 22 ปีขึ้นไป ส่วนใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ ต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป
- มีความสามารถในการขับรถ และเข้าใจกฏจราจร
- ไม่มีโรคประจำตัว และร่างกายไม่พิการจนไม่สามารถขับรถได้
- ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน
- ไม่อยู่ระหว่างถูกยึดหรือเพิกถอนใบขับขี่
- ไม่เคยมีคดีเกี่ยวกับการขับรถ หรือโดนปรับตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป
- ไม่เคยต้องโทษจำคุกในคดีต่าง ๆ แต่หากเคยรับโทษ ต้องพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าระยะเวลาที่กำหนด ดังนี้
- กรณีจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ต้องพ้นโทษมาไม่น้อยกว่า 6 เดือน
- กรณีจำคุกเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี ต้องพ้นโทษมาไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือน
- กรณีจำคุกเกิน 3 ปี ต้องพ้นโทษมาไม่น้อยกว่า 3 ปี
- กรณีอื่น ๆ เช่น โดนปรับ รอลงอาญา รอขึ้นศาล ต้องมีเอกสารทางคดีจากสถานีตำรวจมายืนยันชี้แจงเกี่ยวกับคดีความ
ขั้นตอนเหมือนเดิม เพิ่มเติมแค่ตรวจประวัติ
การทำใบขับขี่สาธารณะมีขั้นตอน ดังต่อไปนี้
- จองคิวล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue หรือเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก หรือผ่านแอปฯ ทางรัฐ (จองคิวอบรมใบขับขี่)
- ยื่นเอกสารและคำขอ
- ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย เช่น ทดสอบการมองเห็นสีที่จำเป็นในการขับรถ ทดสอบสายตาทางลึก ทดสอบสายตาทางกว้าง และทดสอบปฏิกิริยาเท้า (ความสามารถในการใช้เบรกเท้า)
- รับการอบรม
- รถยนต์สาธารณะ และ รถยนต์สามล้อสาธารณะ ใช้เวลาอบรม 5 ชั่วโมง
รถจักรยานยนต์สาธารณะ อบรม 3 ชั่วโมง - รถยนต์สาธารณะ และ รถยนต์สามล้อสาธารณะ ใช้เวลาอบรม 5 ชั่วโมง
รถจักรยานยนต์สาธารณะ อบรม 3 ชั่วโมง
- รถยนต์สาธารณะ และ รถยนต์สามล้อสาธารณะ ใช้เวลาอบรม 5 ชั่วโมง
- การสอบข้อเขียน โดยจะต้องสอบให้ได้ 28 คะแนนขึ้นไป จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน
- ขอตรวจสอบความประพฤติ หรือประวัติอาชญากร นำหนังสือที่ได้จากกรมการขนส่งทางบกไปยื่นที่กองทะเบียนประวัติอาชญากร ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติด้วยตนเอง เพื่อดำเนินการตรวจประวัติ โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 15-45 วัน โดยจะได้รับการแจ้งผลตรวจทางข้อความ SMS และผลตรวจจะถูกส่งไปที่กรมการขนส่งโดยอัตโนมัติ
- ชำระค่าธรรมเนียม (ปิดชำระค่าธรรมเนียม 15.30 น.)
- ถ่ายรูปพิมพ์ใบขับขี่ และรอรับใบขับขี่สาธารณะ
ผู้ขอสามารถไปทำใบขับขี่ได้ที่ สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ โดยเช็กรายชื่อได้จากเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบกโดยการทำใบขับขี่รถสาธารณะจะใช้เวลานานกว่าการทำใบขับขี่ส่วนบุคคล แต่ไม่เกิน 2 เดือน เพราะมีขั้นตอนการตรวจประวัติอาชญากรรมกับทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติรวมอยู่ด้วย
เอกสารที่ใช้ในการทำใบขับขี่
การทำใบขับขี่รถสาธารณะ (ขอใหม่) | การต่อใบขับขี่รถสาธารณะ | กรณีใบขับขี่รถสาธารณะหาย |
---|---|---|
|
|
|
ขั้นตอนการทำใบขับขี่สาธารณะแบบขอใหม่ กับการต่อใบขับขี่ มีขั้นตอนที่ต่างกันไม่มาก เช่น เอกสารที่ต้องเตรียม การสอบข้อเขียน (การต่อใบขับขี่ ไม่มีการสอบข้อเขียน) แต่หากใบอนุญาตขับขี่รถยนต์สาธารณะเกิดหาย จะต้องไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ หรือแจ้งความออนไลน์ เพื่อนำใบแจ้งความมาใช้เป็นเอกสารในการขอออกใบขับขี่ใหม่
สิ่งที่ต้องระมัดระวัง คือ ระยะเวลาในการต่อใบขับขี่ก่อนหมดอายุ โดยต้องไม่ปล่อยให้ใบขับขี่หมดอายุเกิน 1 ปี หากเกิน 1 ปีไปแล้ว แต่ยังไม่ถึง 3 ปี ต้องทดสอบข้อเขียนอีกครั้ง และในกรณีที่หมดอายุเกิน 3 ปี ต้องเริ่มต้นทำใหม่หมดเหมือนการทำใบขับขี่ครั้งแรก
เมื่อได้รู้ขั้นตอนของการขอรับใบขับขี่สาธารณะแล้ว ก่อนที่จะไปทำใบขับขี่เราต้องเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน เพื่อความรวดเร็ว ซึ่งจะเห็นได้ว่าขั้นตอนในการทำจะมีความแตกต่างจากการทำใบขับขี่ส่วนบุคคลเล็กน้อย ตรงที่มีการเพิ่มขั้นตอนในการตรวจสอบประวัติอาชญกรรมเข้ามา ทั้งนี้ผู้ขับขี่รถสาธารณะทุกคนจะต้องมีใบอนุญาตขับรถสาธารณะให้ตรงกับประเภทของรถ เช่น คนขับรถแท็กซี่ก็ต้องมีใบขับขี่แท็กซี่โดยเฉพาะ เพื่อความถูกต้องและปลอดภัยของทั้งตัวผู้ขับและผู้โดยสารนั่นเอง