ประกันสังคม

อยากขับวินมอเตอร์ไซค์ ต้องมีใบขับขี่แบบไหน

ไม่ง่ายเลยกว่าจะขับวินมอเตอร์ไซค์รังจ้างเป็นอาชีพได้ หลายคนเชื่อว่าการขับวินนั้นรายได้ดี แต่รู้หรือไม่ว่าก่อนจะได้ขับวินต้องจัดการหลายอย่าง เสื้อวินก็ไม่ใช่ว่าจะซื้อมาใส่กันได้เลย ต้องมีค่าใช้จ่ายไม่น้อย แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องมีใบขับขี่สาธารณะ เพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าคนขับมีความสามารถในการใช้รถบนท้องถนนได้ ตามกฏหมาย แล้วใบขับขี่ที่ว่าคืออะไร? ถ้าสนใจอยากขับวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ไปศึกษาวิธีการและกฏระเบียบต่างๆ ได้ในบทความนี้

Link ที่เกี่ยวข้อง

ประกันสังคม

ทำไมต้องทำใบขับขี่สำหรับวินมอเตอร์ไซค์

การขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง หรือ วินมอเตอร์ไซค์ เป็นการขับรถรับจ้างเช่นเดียวกับการขับรถแท็กซี่ รถสามล้อ รถตู้ หรือรถสองแถว ใบขับขี่ที่ใช้จึงมีความแตกต่างกัน เพราะคนที่ต้องการขับรถวินมอเตอร์ไซค์ จะต้องมีใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะเพื่อยืนยันว่าสามารถขับรถได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และขับรถถูกประเภท เพราะไม่สามารถนำใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลมาใช้แทนกันได้

แต่การจะทำใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะได้ จะต้องมีใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลมาแล้วเกิน 1 ปี จึงจะสามารถขอทำใบขับขี่เพื่อขับรถวินมอเตอร์ไซค์ได้

ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ ทั้งส่วนบุคคล และสาธารณะ ใช้แทนกันได้ไหม?

แม้ว่าจะเป็นใบขับขี่รถจักรยานยนต์เหมือนกัน แต่ไม่สามารถนำใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล มาใช้ขับรับส่งผู้โดยสารแทนใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะได้ เพราะใช้สำหรับขับขี่ส่วนบุคคลเท่านั้น หากต้องการนำมาขับรับจ้างขนส่งผู้โดยสาร จะต้องใช้ใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะตามข้อกำหนดของกรมการขนส่งทางบก

บัตรประจำตัวคนขับรถ ตรวจสอบให้ดี ก่อนทำใบขับขี่

หากสนใจที่จะขับวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างเป็นอาชีพแล้ว จะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
  1. ต้องได้รับใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
  2. มีอายุ 20 ปีขึ้นไป และมีสัญชาติไทย
  3. มีความรู้ความสามารถในการขับรถ
  4. มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฏจราจร
  5. ไม่เป็นผู้พิการ และไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นอันตรายในการขับขี่ เช่น โรคลมชัก กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  6. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต
  7. ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกยึดหรือเพิกถอนใบขับขี่
  8. ไม่เป็นผู้มีโรคติดต่อน่ารังเกียจตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เช่น โรคเท้าช้าง วัณโรค
  9. ไม่เป็นผู้ติดสุราหรือยาเสพติด
  10. ไม่เคยต้องโทษ หรือถูกปรับตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปในความผิดเกี่ยวกับการขับรถ เว้นแต่จะพ้นโทษครั้งสุดท้าย ไม่น้อยกว่า 6 เดือนแล้ว
  11. กรณีเคยรับโทษ มีหลักเกณฑ์ดังนี้
    • a. รับโทษมาไม่เกิน 3 เดือน ต้องพ้นโทษมาไม่น้อยกว่า 6 เดือน
      b. รับโทษมาไม่เกิน 3 เดือน (คดีเกี่ยวกับการใช้รถ) ต้องพ้นโทษมาไม่น้อยกว่า 1 ปี
      c. รับโทษมาเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี ต้องพ้นโทษมาไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือน
      d. รับโทษมาเกิน 3 ปี ต้องพ้นโทษมาไม่น้อยกว่า 3 ปี
กรณีอื่น ๆ เช่น โดนปรับ คดีรอลงอาญา หรือรอขึ้นศาล ต้องมีเอกสารจากทางคดีจากสถานีตำรวจมายืนยันชี้แจง

อยากมีใบขับขี่รถจักรยานยนต์ ต้องทำยังไง

การเตรียมเอกสารสำหรับทำใบขับขี่รถจักรยานยนต์ ทั้งการทำใบขับขี่ และการต่อใบขับขี่ มีเอกสารที่ต้องใช้ ดังนี้

กรณีทำใบขับขี่
กรณีต่อใบขับขี่
1.ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราวที่ได้รับมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี พร้อมสำเนา 1 ฉบับ 1.ใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ พร้อมด้วยสำเนา 1 ฉบับ
2.บัตรประชาชนฉบับจริง 2.บัตรประชาชนฉบับจริง
3.ใบรับรองแพทย์ที่ขอมาไม่เกิน 1 เดือน ซึ่งระบุว่าผู้ขอไม่มีโรคประจำตัวที่อาจเป็นอันตรายขณะขับรถ และไม่เป็นบุคคลวิกลจริต 3.ใบรับรองแพทย์ที่ออกให้ไม่เกิน 1 เดือน ซึ่งระบุว่าผู้ขอไม่มีโรคประจำตัวที่อาจเป็นอันตรายขณะขับรถ และไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน
หมายเหตุ
  • กรณีใบอนุญาตขับรถสาธารณะที่นำมายื่น หมดอายุเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี จะต้องสอบข้อเขียนใหม่
  • กรณีใบอนุญาตสาธารณะที่นำมายื่น หมดอายุเกิน 3 ปี จะต้องสอบข้อเขียนและสอบปฏิบัติใหม่
การขอทำใบขับขี่สาธารณะนั้นมีค่าธรรมเนียมการขอ 5 บาท ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะอีก 250 บาท และถ้าต้องการบัตรประจำตัวคนขับรถ (บัตรเหลือง) ก็มีค่าธรรมเนียมอีก 20 บาท

สะดวกสบายทำได้ทุกจุดบริการ

ใครที่ต้องการทำใบขับขี่รถจักร์ยานยนต์สาธารณะต้องทำการจองคิวล่วงหน้า ผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue หรือผ่านแอปทางรัฐฯ โดยเลือกวัน เวลา และสำนักงานขนส่งส่วนภูมิภาคสาขาที่อยู่ใกล้บ้านได้

นอกจากนี้ ผู้ทำใบขับขี่ประเภทนี้จะต้องผ่านการตรวจสอบความประพฤติหรือประวัติอาชญากรเพิ่มเติม โดยมีขั้นตอนการยื่นเรื่องขอ/ต่อใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะมีดังนี้

  1. ตรวจสอบหลักฐานและยื่นเอกสาร จัดเตรียมเอกสารประกอบคำขอ แล้วขอทำหนังสือเพื่อจะนำไปยื่นตรวจสอบประวัติอาชญากรซึ่งผู้ขอจะต้องนำหนังสือไปยื่นที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  2. ทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย
  3. ขอตรวจประวัติอาชญากรรม ผู้ขอทำใบขับขี่ จะต้องนำหนังสือที่กรมการขนส่งฯ ออกให้ ไปยื่นที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติด้วยตัวเอง มีระยะเวลาดำเนินการอย่างน้อย 15 วัน
  4. อบรมตามนัดหมายเป็น 3 ชั่วโมงสำหรับรถจักรยานยนต์ จากนั้นสอบภาคทฤษฎี โดยจะต้องสอบให้ได้ 18 คะแนนขึ้นไป จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน
  5. รอผลการตรวจสอบประวัติอาชญากร (30 วันทำการ) หากผลการตรวจสอบประวัติปรากฏว่าไม่พบประวัติอาชญากรรม ก็ถือว่าผ่านขั้นตอนครบถ้วนถูกต้องแล้ว
  6. ผู้ขอชำระเงินค่าธรรมเนียม จากนั้นสำนักงานฯ จะพิมพ์ใบอนุญาตขับขี่และออกใบอนุญาตขับขี่ให้ จึงเป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ และออกรับผู้โดยสารได้อย่างมั่นใจ

การทำใบขับขี่รถสาธารณะนั้นจะมีความยุ่งยากกว่าการทำใบขับขี่ประเภทส่วนบุคคล ทั้งขั้นตอนและเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ในการขอ หากต้องการทำใบขับขี่ประเภทนี้จึงควรเช็กข้อมูลและเตรียมตัวให้พร้อม จะได้ทำครั้งเดียวผ่านฉลุย เพื่อให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนตสาธารณะตระหนักถึงความปลอดภัยในชีวิต ทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการนั่นเอง

Link ที่เกี่ยวข้อง

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า