นอกจากความสามารถในการขับรถ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎจราจรแล้ว สิ่งที่คนขับรถต้องมีและเตรียมให้พร้อมก่อนนำรถออกไปวิ่งบนท้องถนน คือ ใบขับขี่ หรือใบอนุญาต ที่ช่วยยืนยันว่าคนที่เป็นเจ้าของใบขับขี่สามารถขับรถได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งใบขับขี่สามารถแบ่งได้หลายลักษณะและการใช้งาน บทความนี้ชวนมาทำความรู้จักใบขับขี่ให้มากขึ้นว่ามีกี่ประเภท และแตกต่างกันอย่างไร เพื่อจะได้ใช้งานใบขับขี่ได้อย่างถูกต้อง และไม่ผิดกฎจราจร
Link ที่เกี่ยวข้อง
ชนิดของใบขับขี่
ใบขับขี่ สามารถแบ่งตามชนิด และรูปแบบการใช้งานของยานพาหนะ โดยแบ่งเป็น 11 ชนิด คือ
1.ใบขับขี่รถชนิดชั่วคราว | ในตอนแรกที่ไปทำใบขับขี่ ผู้ขอทำใบขับขี่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นรถชนิดใดก็ตาม จะได้รับเพียงใบขับขี่แบบชั่วคราวก่อน ซึ่งมีอยู่ 3 ประเภท
|
|
2.ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล | เมื่อใช้งานใบขับขี่รถยนต์ประเภทชั่วคราวจนครบอายุการใช้งานแล้ว สามารถนำใบขับขี่มาต่ออายุเป็นใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลที่มีอายุการใช้งาน 5 ปี | |
3.ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล | มีเงื่อนไขคล้าย ๆ ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล คือ ทำครั้งแรกจะได้ใบขับขี่แบบชั่วคราวก่อน เมื่อแบบชั่วคราวหมดอายุ สามารถต่อเป็นใบขับขี่แบบ 5 ปีได้ | |
4.ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล | สามารถทำได้เมื่อมีอายุ 20 ปีขึ้นไป และต้องได้รับใบขับขี่รถจักรยานยนต์แบบชั่วคราวมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี | |
5.ใบขับขี่สากล หรือใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ | ใบขับขี่สากล เป็นใบขับขี่ที่อนุญาตให้ขับรถได้ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาค ไม่มีการกำหนดอายุขั้นต่ำในการทำ แต่ต้องมีใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลมาแล้ว และมีสำเนาหนังสือเดินทางประกอบ จึงจะสามารถยื่นเรื่องทำใบขับขี่สากลได้ ใบขับขี่ชนิดนี้มีอายุ 1 ปี สามารถใช้ได้ในประเทศที่ยอมรับใบขับขี่สากล ได้ที่นี่ | |
6.ใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ | เป็นใบขับขี่สำหรับคนที่ประกอบอาชีพขับรถสาธารณะ เช่น ขับแท็กซี่ บริการรถยนต์ส่วนตัว (GrabCar) คนขับรถส่งของ เป็นต้น โดยต้องได้รับใบขับขี่รถยนต์ชั่วคราวมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือมีใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลอยู่แล้ว และสามารถทำได้เมื่อมีอายุ 22 ปีขึ้นไป | |
7.ใบขับขี่รถยนต์สามล้อสาธารณะ | ใบขับขี่รถสามล้อ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ รถตุ๊กตุ๊ก มีเงื่อนไขว่าต้องทำใบขับขี่แบบชั่วคราวก่อน เช่นกันกับใบขับขี่ของรถยนต์ และจะมีอายุการใช้งานได้ 5 ปีเช่นกัน | |
8.ใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ | คนที่จะทำใบขับขี่ชนิดนี้ได้ จะต้องมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ และมีใบขับขี่จักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราวมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยใบขับขี่มีอายุการใช้งาน 3 ปี คนที่ทำงานเป็นไรเดอร์ ขับรถส่งของ ส่งอาหาร ต้องมีใบขับขี่ประเภทนี้ | |
9.ใบขับขี่รถบดถนน | สำหรับใบขับขี่รถบดถนนนั้น ผู้ขับจะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรพิเศษต่างๆ เช่น หลักสูตร กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยทางหลวง และกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก) เพื่อให้สามารถใช้งานรถบดถนนที่มีความอันตรายสูงได้อย่างปลอดภัย โดยใบขี่ประเภทนี้ สามารถทำได้เมื่อมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป | |
10.ใบขับขี่รถแทรกเตอร์ | ใบขับขี่สำหรับขับรถแทรกเตอร์ คนขับจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และใบขับขี่จะมีอายุการใช้งาน 5 ปี | |
11.ใบขับขี่รถชนิดอื่นนอกจาก (1) - (9) | ใบขับขี่ประเภทนี้คือใบอนุญาตสำหรับผู้ขอขับรถชนิดอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวมาในข้อ 1 ถึง ข้อ 9 เช่น รถใช้งานเกษตรกรรม เป็นต้น ซึ่งใบขับขี่ประเภทนี้มีอายุการใช้งาน 5 ปีเช่นเดียวกัน |
จองคิวทำใบขับขี่ล่วงหน้า ผ่านระบบออนไลน์
สำหรับการต่อใบขับขี่ ณ จุดบริการ จะต้องทำการจองคิวล่วงหน้า ผ่านแอปพลิเคชั่น DLT Smart Queue Google play, iOS หรือผ่านเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบกก่อนเช่นกัน แล้วจึงเดินทางไปที่สำนักงานขนส่งเพื่อใช้บริการ
นอกจากนี้ ยังสามารถอบรมออนไลน์ผ่านระบบDLT e-learningเพียงเข้าไปกรอกข้อมูล และรับการอบรมผ่านทางออนไลน์ ได้ทุกที่ ทุกเวลา
ปัจจุบันมีผู้เข้ารับบริการทำใบขับขี่ค่อนข้างหนาแน่น และด้วยในยุค New Normal และ การ Social Distancing ที่จำกัดจำนวนผู้รับบริการเพื่อความปลอดภัยจากโรคระบาด COVID-19 จึงเป็นการดีที่จะต้องจองคิวผ่านระบบออนไลน์ไปก่อน เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
เตรียมพร้อมไปให้ครบ เสร็จจบในรอบเดียว
1.บัตรประชาชนตัวจริง | 1.บัตรประชาชนตัวจริง |
2.ใบรับรองแพทย์ขอไว้ไม่เกิน 1 เดือน | 2.ใบรับรองแพทย์ขอไว้ไม่เกิน 1 เดือน |
3.ใบขับขี่เดิม |
ใบขับขี่หาย ไม่ต้องตกใจ และไม่ต้องแจ้งความ สามารถจองคิวผ่านแอปฯ DLT Smart Queue หรือแอปฯ ทางรัฐ พื่อขอทำใบขับขี่ใบใหม่ได้เลย โดยไม่ต้องไปแจ้งถามให้ยุ่งยาก แต่ถ้าเป็น ใบขับขี่รถยนต์สาธารณะหาย ยังต้องไปแจ้งความที่สถานีตำรวจเหมือนเดิม แล้วนำใบแจ้งความไปยื่นเป็นเอกสารเพื่อขอทำใบขับขี่ใบใหม่
การจะนำรถยนต์ออกมาวิ่งบนท้องถนนได้นั้น คนขับต้องมีใบขับขี่ที่ตรงกับประเภทการใช้งานก่อนเป็นอย่างแรก เพื่อให้การใช้รถบนท้องถนนมีความปลอดภัยและถูกต้องตามข้อกฎหมาย อีกทั้งยังทำให้ผู้ขับขี่ได้รับความคุ้มครองเมื่ออยู่บนท้องถนน ไม่ว่าจะเป็นการไม่โดนปฏิเสธการจ่ายค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุ การได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์ หรือการยืนยันตัวตนเมื่อตำรวจจราจรขอดูใบขับขี่ เป็นต้น แต่การมีใบขับขี่อย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ยังต้องเพิ่มความระมัดระวัง และมีน้ำใจกับเพื่อนร่วมทางบนท้องถนนเพื่อความปลอดภัยของทุกคนด้วย