ใบอนุญาตเปิดร้านอาหาร

ขอใบอนุญาตเปิดร้านอาหาร ผ่าน Biz Portal การันตีความปลอดภัยให้ลูกค้า

ธุรกิจร้านอาหารเป็นอีกหนึ่งธุรกิจยอดนิยม เพราะทุกคนต้องกินอาหารอยู่ทุกวัน หลายคนที่มีฝีมือทำอาหารและมีความสนใจจะเปิดร้านอาหาร ก็อาจต้องถอดใจไปเพราะไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร ต้องขอใบอนุญาตอะไรบ้าง แต่หากใช้ Biz Portal การจัดการเอกสารเหล่านั้นก็จะง่ายขึ้นในพริบตา มาดูกันว่าจะทำธุรกิจร้านอาหารต้องใช้เอกสาร และมีขั้นตอนขอผ่าน Biz Portal อย่างไรบ้าง

Link ที่เกี่ยวข้อง

ประกันสังคม

“ธุรกิจร้านอาหาร” คืออะไรบ้าง

ธุรกิจร้านอาหาร หมายถึง การทำธุรกิจที่เกี่ยวกับการทำอาหาร หรือขนม ทั้งในรูปแบบการขายให้นั่งกินที่ร้าน หรือขายให้ซื้อกลับไปกินที่บ้าน แต่ธุรกิจร้านอาหารนี้ไม่ได้นับรวมโรงงานผลิตอาหารที่ใช้เครื่องจักรอุตสาหกรรมมาใช้ในการผลิต

จำเป็นต้องมีใบอนุญาตไหม

ขึ้นชื่อว่าขายอาหาร ต้องเน้นที่ความสะอาด ดีต่อสุขภาพ หากร้านนั้นใช้วัตถุดิบปนเปื้อน ภาชนะบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน สถานที่ประกอบอาหารไม่ได้ถูกสุขลักษณะอนามัย ย่อมก่ออันตรายต่อสุขภาพของลูกค้าโดยตรง และหากมีการจัดการขยะจากการประกอบอาหารที่ไม่ถูกต้องด้วยแล้วนั้น ก็ยังถึงส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พรก. และพรบ. การสาธารณสุข 2535 ว่าด้วยตลาด สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร จึงมาช่วยคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม โดยระบุว่า

  • ผู้ที่จัดตั้งธุรกิจโดยไม่มีใบอนุญาตต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท
  • ผู้ใดจัดตั้งสถานที่จำน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารซึ่งมีพื้นที่ไม่เกิน 200 ตารางเมตร โดยไม่มีหนังสือรับรองการแจ้ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 25,000 บาท

นอกจากจะเป็นการปฏิบัติตามข้อกฎหมายแล้ว การมีใบอนุญาตยังจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าไปอีกระดับหนึ่งด้วย

และในยุคโควิดแบบนี้ การมีมาตรฐานอื่น ๆ เสริมเข้ามา ก็จะช่วยให้ลูกค้าและผู้มาใช้บริการ เกิดความสบายใจมากและรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น โดยมาตรฐานรับรองที่ร้านอาหารสามารถขอเพิ่มได้ เช่น

มาตรฐาน SHA+ ( Amazing Thailand Safety and Health Administration (SHA) เป็นเกณฑ์การประเมินร้านสถานประกอบการต่าง ๆ เช่น ร้านอาหาร หรือโรงแรม ห้างสรรพสินค้า สถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ และอื่น ๆ ในช่วงสถานการณ์โควิดที่ผ่านมาว่ามีมาตรการในการให้บริการที่ปลอดโควิดหรือไม่ โดยประเด็นที่พิจารณา เช่น ร้านปฎิบัติตามมาตรการป้องกันโควิดของกระทรวงสาธาณสุข เช่น การตั้งจุดวัดอุณหภูมิ บริการเจลแอลกอฮอล์ การสนับสนุนการชำระเงินทางออนไลน์มากกว่าใช้เงินสด สามารถศึกษารายละเอียดมาตรฐานเพิ่มเติมได้ ที่นี่

มาตรฐาน Covid Free Setting Thai Stop Covid+ มาตรฐานนี้เป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการในหลายธุรกิจ ตั้งแต่โรงแรม ไปจนถึงร้านอาหารทั่วไป เพื่อสร้างความมั่นใจในมาตรการควบคุมโควิดของธุรกิจนั้น ๆ โดยเกณฑ์ในการพิจารณา เช่น ดูว่ามีมาตรการรักษาระยะห่าง ผู้ให้บริการว่าได้รับการฉีดวัคซีนครบตามที่กำหนดหรือไม่ และอื่น ๆ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่

ใครบ้างที่ขอใบอนุญาตได้

ใคร ๆ ก็เป็นเจ้าของธุรกิจร้านอาหารได้ ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เพียงแต่ต้องยื่นเอกสารคำขอให้ถูกต้องและครบถ้วนรวมถึงมีลักษณะของสถานประกอบกิจการที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ซึ่งจะมีการพิจารณาในหลายประเด็น เช่น ต้องมีวิธีการจัดการสถานที่ประกอบอาหาร วัตถุดิบในการประกอบอาหาร กรรมวิธีในการประกอบอาหาร รวมถึงเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ประกอบอาหาร และการรักษาความสะอาดต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกปลอดภัยเมื่อมาใช้บริการ

ประเภทของใบอนุญาตร้านอาหาร

ผู้ประกอบการร้านอาหารจำเป็นต้องขอใบอนุญาตธุรกิจร้านอาหารซึ่งหลัก ๆ แล้วประกอบด้วย

  • ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร(สำหรับร้านที่มีพื้นที่ มากกว่า 200 ตารางเมตร)/หนังสือรับรองการจัดตั้ง (สำหรับร้านที่มีพื้นที่ น้อยกว่า 200 ตารางเมตร)
  • ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร
  • แบบยื่นแสดงภาษีป้าย
  • ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (เช่นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาสูบ)

ซึ่งแต่ละร้านอาจจะต้องการใบอนุญาตแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าอยากจะขายหรือมีบริการเพิ่มเติมอะไรบ้าง โดยผู้ประกอบการสามารถใช้ Smart Quiz เพื่อเลือกดูว่าร้านของตนเองควรมีใบอนุญาตใบไหนบ้างได้เลย

แม้ว่าการขอเอกสารใบอนุญาตในปัจจุบันอาจมีข้อจำกัดบ้าง แต่เชื่อได้เลยว่าในเร็ว ๆ นี้ Biz Portal และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อจะสรรหาวิธีให้บริการการขอใบอนุญาต และเอกสารต่าง ๆ ให้ครบจบในที่เดียวแน่นอน

ขอใบอนุญาตร้านอาหาร ใช้เอกสารอะไรบ้าง

เมื่อตรวจสอบเงื่อนไขการเปิดร้านอาหารครบถ้วนแล้ว ลำดับถัดไปคือการเตรียมเอกสารเพื่อนำไปยื่นคำขอ เอกสารจะมีอะไรบ้าง มาเช็กให้ชัวร์ก่อนกรอกฟอร์มขอใบอนุญาต ดังนี้

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาทะเบียนบ้านของที่ตั้งสถานประกอบการ
  • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล (กรณีผู้ยื่นคำขอเป็นนิติบุคคล)
  • หนังสือยินยอมให้ใช้อาคาร หรือสำเนาหนังสือสัญญาเช่าจากเจ้าของอาคาร
  • ผลการตรวจสุขภาพ หรือใบรับรองแพทย์ของพนักงานผู้สัมผัสอาหาร
  • แผนที่แสดงสถานที่ตั้งสถานประกอบการ
  • หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ หากผู้ยื่นคำขอใบอนุญาตไม่สามารถมายื่นได้ด้วยตนเอง
  • สำเนาใบวุฒิบัตรผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานคร (ถ้ามี)
  • ใบอนุญาตจากส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

ขอใบอนุญาตได้ช่องทางไหนบ้าง

นอกจากช่องทางติดต่อกับภาครัฐโดยตรงแล้วก็ยังมี Biz Portal ที่สามารถขอใบอนุญาตได้ครบจบในฟอร์มเดียวผ่านออนไลน์ โดยช่องทางการขอ สามารถดูได้จากตารางสรุปด้านล่างนี้

ประเภท
สถานที่/ช่องทาง
ระยะเวลาเปิดให้บริการ
ยื่นด้วยตนเอง
  • ยื่นคำขอได้ที่หน่วยงานเจ้าของกระบวนการงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานเขต กทม., สำนักงานเมืองพัทยา, สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล, สำนักงานเทศบาล

วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) ตั้งแต่เวลา 08:30 - 16:30 น.

วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) ตั้งแต่เวลา 08:30 - 16:30 น.
ติดต่อออนไลน์
  • เว็บไซต์ระบบการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จทางอิเล็กทรอนิกส์ (Biz Portal) คลิกที่นี่
เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

ใช้ Biz Portal ขอใบอนุญาตอะไรได้บ้าง

การขออนุญาตเปิดธุรกิจร้านอาหารนั้นในปัจจุบันสะดวกขึ้นอย่างมาก ใครที่อยากเริ่มต้นธุรกิจร้านอาหาร สามารถใช้ Biz Portal มาช่วยเตรียมตัว และลดระยะเวลาเดินทางในการไปติดต่อที่สำนักงานต่าง ๆ เพื่อยื่นขอใบอนุญาตได้ โดยเอกสารที่สามารถขอผ่านช่องทางนี้ ได้แก่

  • หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่ จำหน่ายหรือสะสมอาหาร(ไม่เกิน 200 ตร.ม.)
  • ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่ จำหน่ายหรือสะสมอาหาร(เกิน 200 ตร.ม.)
  • ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร: กรณีพิเศษ
  • ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร: กรณีอาคารขนาดใหญ่ ยื่นที่สำนักการโยธา
  • ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร: กรณีอาคารขนาดใหญ่ ยื่นที่สำนักงานเขต
  • ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร: กรณีอื่น ๆ
  • แบบแสดงรายการภาษีป้าย(ต้องขออนุญาตก่อสร้างป้าย และ/หรือ ติดตั้งป้ายให้แล้วเสร็จก่อน โดยต้องยื่นแบบชำระภาษีป้ายภายใน 15 วันนับจากวันที่ติดตั้งป้ายแล้วเสร็จ)
  • ใบอนุญาตขายสุรา
  • ใบอนุญาตขายยาสูบ
  • ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
  • ขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ : กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่มฯ

การต่อใบอนุญาตธุรกิจอาหาร

หากใบอนุญาตใกล้จะหมดอายุ ก็สามารถทำเรื่องต่ออายุผ่านช่องทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงเว็บไซต์ระบบให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จอย่าง Biz Portal ได้ด้วยเช่นกัน

จะเห็นได้ว่าการขอใบอนุญาตร้านอาหารให้ถูกต้องตามกฏหมายนั้น ไม่ใช่เรื่องยากเลย ยิ่งหากให้ Biz Portal เข้ามาช่วยดูแล เว็บไซต์นี้จะช่วยแนะนำตั้งแต่ข้อมูลทั่วไปว่าจะต้องขอเอกสารอะไรบ้าง เทรนด์และสถิติธุรกิจที่น่าสนใจ เพราะเมื่อเปิดร้านอาหารพร้อมมีเอกสารและใบอนุญาตที่ถูกต้อง ก็ไม่ต้องกังวลหากต้องรับการตรวจสอบ อีกทั้งลูกค้าก็มั่นใจ ทำให้ขายอาหารได้สบายใจมากขึ้น

Link ที่เกี่ยวข้อง

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า