co working space

ขอเปิด Co-working Space ผ่าน Biz Portal มีขั้นตอน และเอกสารอะไรบ้าง

Co-working Space เป็นธุรกิจที่ลงทุนเพียงครั้งเดียวให้มีสถานที่สะอาด สวย ๆ มีเอกลักษณ์ ก็สามารถสร้างรายได้งาม ๆ ในอนาคตได้ ทั้งยังมีลูกค้าหลายกลุ่มตั้งแต่เด็กนักเรียนจนถึงวัยทำงาน ตอบโจทย์ไลฟสไตล์คนรุ่นใหม่ จนหลายคนก็สนใจอยากเริ่มธุรกิจนี้ แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ต้องขอใบอนุญาตในการจัดตั้งหรือไม่ บทความนี้จึงจะพาไปทำความรู้จักการขอใบอนุญาตผ่าน Biz Portal เพื่อช่วยให้การเปิด Co-working Space ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

Link ที่เกี่ยวข้อง

ประกันสังคม

ธุรกิจ Co-working Space คืออะไร

“Co-working space” เป็นคำที่หลายคนคุ้นหูกันมานานแล้วตั้งแต่ช่วงหลายปีก่อน ธุรกิจรูปแบบนี้มักจะเป็นการให้บริการพื้นที่เพื่อประชุม อ่านหนังสือ เรียนพิเศษ โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น อินเตอร์เน็ต เครื่องดื่มประเภทชากาแฟและขนมเพิ่มเติม อาจคิดค่าบริการเป็นแพ็กเกจรายชั่วโมง รายวันหรือรายเดือน หรือในอีกอีกนัยหนึ่งก็คล้ายๆ กับการเช่าห้องทำงานหรือประชุมรายวันก็ว่าได้

ทำไม Co-working Space เป็นที่นิยมมากขึ้น

หลาย ๆ คนเวลาอยู่ที่บ้านหรือ Work from Home นาน ๆ อาจรู้สึกอยากออกไปเปลี่ยนบรรยากาศดูสังคมข้างนอกบ้าง และการทำงานในสมัยนี้ที่หลายบริษัทให้ทำงานจากที่ไหนก็ได้ Co-working space จึงเป็นหนึ่งในทางเลือกนั้น

จริง ๆ แล้วธุรกิจ Co-working space เป็นที่นิยมกันในต่างประเทศมาสักพัก แต่สำหรับในปประเทศไทย ธุรกิจนี้ เริ่มเป็นที่นิยมขึ้นหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพฯ ปี 2554 (ที่มา: Surachet) ในช่วงนั้นพนักงานบริษัทจำนวนมากไม่สามารถสัญจรไปทำงานได้ เลยเลือกทำงานจากบ้านแทน และหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมสงบลง หลายบริษัทก็ให้พนักงานทำงานจากบ้านได้ co-working space จึงเป็นตัวเลือกสำหรับคนทำงานที่ต้องการความยืดหยุ่นด้านสถานที่แทน รวมถึงดึงดูดคนทำงานอิสระอย่างฟรีแลนซ์และนักศึกษาที่มารวมกลุ่มติวหนังสือ หรือสอนพิเศษ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

หลังจากนั้น Co-working space ก็เริ่มขยายตัวไปยังจังหวัดอื่น ๆ ในบริเวณที่เป็นตัวเมือง เช่น เชียงใหม่ ที่มักจะมี Co-working space ให้เลือกมากมายเพื่อดึงดูดทั้งคนไทยและชาวต่างชาติที่มาประเทศไทยเพื่อมาเที่ยวแต่ก็ยังอยากทำงานระหว่างทริปไปด้วย หรือที่เรียกว่า Workation ก็ว่าได้

ปัจจุบัน Co-working space หลาย ๆ ที่เริ่มขยายบริการให้ครบวงจรมากขึ้น เช่น เป็นพื้นที่ให้จัดสัมนา workshop ต่าง ๆ หรือมีขนมขบเคี้ยวมาขาย เป็นต้น เพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าหลาย

ข้อควรรู้ ก่อนเปิด Co-working Space

เมื่อ Co-working space เป็นเทรนด์ธุรกิจที่น่าสนใจ แต่ก่อนจะเริ่มต้นทำธุรกิจประเภทนี้ เจ้าของกิจการควรทำความเข้าใจข้อควรรู้เกี่ยวกับ Co-working space ในประเด็นเหล่านี้ เช่น

  • วางแผนธุรกิจและแผนการตลาด
    การจะเริ่มธุรกิจใด ๆ ควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีแผนธุรกิจ เพื่อจะได้ดำเนินงานได้อย่างราบรื่น โดยอาจวางแผนตั้งแต่ กลุ่มลูกค้าคือใคร เช่น ลูกค้าวัยทำงาน อาจเพิ่มอุปกรณ์อำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการประชุม หรือถ้าอยากให้บริการลูกค้าวัยเรียน ก็อาจจะมีห้องสำหรับติวข้อสอบ อ่านหนังสือเงียบ ๆ
  • หาแหล่งเงินทุน วางแผนงบประมาณ
    หลังจากวางแผนธุรกิจและแผนการตลาดแล้ว เราก็ต้องหาแหล่งเงินทุนเพื่อเริ่มทำให้แผนนั้นขึ้นเป็นจริง การวางแผนและการเลือกหาเงินลงทุนที่ตอบโจทย์กับแผนของเรา เช่น วงเงินอนุมัติ ดอกเบี้ยรายปี หรือ ระยะเวลาการกู้ยืม เป็นต้น
  • ฟังก์ชั่นของร้าน
    อย่างแรกเลยคือ Co-working spacee ของเราจะบริการอะไรแก่ลูกค้าได้บ้าง บางที่อาจเป็นพื้นที่โล่ง ๆ มีโต๊ะ มีเก้าอี้รองรับคนมานั่งทำงานและอินเทอร์เน็ต มีห้องสำหรับประชุมแยก บางที่อาจมีห้องสำหรับทำกิจกรรมอบรม สัมนาเพิ่มเติม ในขณะเดียวกันบางที่ก็อาจมีคาเฟ่เล็ก ๆ อยู่ในร้านก็ได้
  • กลุ่มลูกค้า
    การให้บริการของร้านควรคำนึงถึงกลุ่มลูกค้า เช่น ลูกค้าวัยทำงาน อาจเพิ่มอุปกรณ์อำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการประชุม หรือถ้าอยากให้บริการลูกค้าวัยเรียน ก็อาจจะมีห้องสำหรับติวข้อสอบ อ่านหนังสือเงียบ ๆ เพิ่มด้วยก็ได้
  • อุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่น ๆ
    นอกเหนือจากบริการพื้นฐานอย่างอินเทอร์เน็ต บริการเครื่องดื่มอย่างชา กาแฟและขนมนมเนยไว้ทานระหว่างทำงานก็จะตอบโจทย์อย่างยิ่ง 2 สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เมื่อต้องการจะเปิด Co-working space บางที่อาจจะมีเครื่องปริ้นเตอร์ ห้องสมุดขนาดเล็กหรือบอร์ดเกมส์ให้ลูกค้าเล่นด้วย
  • การเก็บค่าบริการ
    ลูกค้าส่วนใหญ่ของร้าน Co-working space มักเป็นฟรีแลนซ์และ start up และเยาวรุ่นนักศึกษา การคิดค่าบริการจึงควรเป็นมิตรแก่กลุ่มคนเหล่านี้ โดยอาจแบ่งเรทราคาเป็นรายวัน รายอาทิตย์ หรือรายเดือนและเพิ่มส่วนลดเพื่อดึงดูดพวกเขาอยู่เรื่อย ๆ
  • ทำเลที่ตั้ง
    อีกปัจจัยที่ควรพิจารณาในการเปิด Co-working space คือทำเลในการเปิดร้าน ทั้งโซนของที่ดิน หรือรายละเอียดข้อบัญญัติต่าง ๆ ในแต่ละพื้นที่ เช่น ที่ดินเขตพื้นที่โซนสีแดง ซึ่งอนุญาตเพื่อใช้ในเชิงพานิชยกรรม เป็นพื้นที่ธุรกิจ ย่านการค้าสำคัญ มีผู้คนพลุกพล่าน การเดินทางเข้าถึงง่าย และส่วนมากจะอยู่ในเขตตัวเมือง การเปิด Co-working space ในพื้นที่แบบนี้ อาจช่วยให้ร้านมีลูกค้าแวะเวียนมาเป็นจำนวนมากได้

ใบอนุญาตเกี่ยวกับ Co-working Space ที่ขอใน Biz Portal

สำหรับการขอใบอนญาต Co-working space นั้นจะไม่ได้มีใบอนุญาติพิเศษเจาะจงที่ต้องขอ/ใบอนุญาติลักษณะพิเศษที่ต้องขอแต่ขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจว่าต้องการเพิ่มเติมอะไรบ้าง เช่น หากจะปรับปรุงอาคาร หรือมีขายอาหาร ก็จะต้องขอใบอนุญาติที่เกี่ยวกับประเด็นนั้น โดยด้านล่างนี้จะเป็นใบอนุญาตหลัก ๆ ที่สามารถยื่นคำขอได้ผ่าน Biz Portal

  • ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร
    ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย
  • หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่ จำหน่ายหรือสะสมอาหาร(ไม่เกิน 200 ตร.ม.)
  • ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่ จำหน่ายหรือสะสมอาหาร(เกิน 200 ตร.ม.)
  • ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ : กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่มฯ
  • ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ : กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง

เพื่อให้มั่นใจยิ่งขึ้นว่าขอใบอนุญาตครบถ้วน สามารถใช้ Smart Quizในเว็บไซต์เพื่อดูว่ามีอะไรที่ต้องขอบ้างก็ได้เช่นกัน

เงื่อนไขและเอกสารที่ใช้ในการขอใบอนุญาต Co-working Space

ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สามารถเป็นเจ้าของกิจการ Co-working space ได้ โดยนิติบุคคลที่ต้องการทำธุรกิจประเภทนี้ จะต้องจดทะเบียนนิติบุคคลที่ระบุจุดประสงค์ในการขอเปิดธุรกิจ Co-working Space ให้ถูกต้อง

การเปิด Co-working Space ไม่ได้ใช้เอกสารเฉพาะเจาะจงในการยื่นขอใบอนุญาต โดยส่วนใหญ่แล้วเอกสารที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องใช้ในการยื่น มีดังต่อไปนี้

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาทะเบียนบ้านของที่ตั้งสถานประกอบการ
  • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล (กรณีผู้ยื่นคำขอเป็นนิติบุคคล)
  • หนังสือยินยอมให้ใช้อาคารหรือสำเนาหนังสือสัญญาเช่าจากเจ้าของอาคาร

แต่เพื่อให้มั่นใจยิ่งขึ้นว่าเอกสารครบถ้วน สามารถใช้ Smart Quiz ในเว็บไซต์ หรือแชทสอบถามเจ้าหน้าที่เพื่อดูว่ามีเอกสารอะไรที่ต้องใช้บ้าง ซึ่งจะช่วยให้การเปิดธุรกิจนี้ง่ายกว่าเดิมแน่นอน

ช่องทางการขอใบอนุญาต

นอกจากช่องทางติดต่อกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยตรงแล้วก็ยังมี Biz Portal ที่สามารถขอใบอนุญาตได้ครบจบในเว็บเดียวผ่านออนไลน์ โดยช่องการขอต่าง ๆ สามารถศึกษาได้จากตารางสรุปด้านล่างนี้

ประเภท
สถานที่
เวลาทำการ
ยื่นแบบฟอร์มกระดาษ
  • สำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร
  • สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล
  • สำนักงานเทศบาลสำหรับ Co-working space ที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล
  • สำนักงานเมืองพัทยา
วันจันทร์ ถึง วันศุกร์
(ยกเว้นวันหยุดราชการ)
ตั้งแต่เวลา 08:30 - 16:30 น.
ยื่นคำขอออนไลน์
  • เว็บไซต์ระบบการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จทางอิเล็กทรอนิกส์ (Biz Portal)คลิ๊กที่นี
เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

ในยุคที่จะทำธุรกิจให้ตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ เช่น การทำธุรกิจ Co- Working Space นี้ กระบวนการขอเอกสารก็จะง่าย และรวดเร็ว และเป็นระบบมากขึ้นถ้าใช้ Biz Portal มาช่วยให้การติดต่อขอเอกสาร กระบวนการนี้ทำได้ทุกเวลาทางออนไลน์ จนมีเวลาที่จะไปวางแผนธุรกิจให้เจ๋งกว่าเดิมได้อีกขั้น

Link ที่เกี่ยวข้อง

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า