ใบอนุญาต ผลิตเครื่องสำอาง

ขอใบอนุญาตผลิตเครื่องสำอางผ่าน Biz Portal ทำอย่างไร

รู้หรือไม่ว่าธุรกิจความสวยความงามเป็นเรื่องที่อยู่คู่กับคนในสังคมมานาน และสร้างเม็ดเงินมหาศาล หลาย ๆ คนอาจสนใจอยากเริ่มธุรกิจนี้ แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร บทความนี้ จะพาไปทำความรู้จักกับขั้นตอน เงื่อนไขที่ควรรู้ก่อนเริ่มต้นเป็นเจ้าของแบรนด์เครื่องสำอาง รวมถึงการขอใบอนุญาตประกอบกิจการผ่าน Biz Portal ที่ง่ายและทำตามได้เลย

Link ที่เกี่ยวข้อง

ประกันสังคม

เตรียมตัวอย่างไร กรณีไหนต้องขอใบอนุญาต

ผู้ที่สนใจทำธุรกิจเครื่องสำอาง จำเป็นต้องรู้ความหมายของเครื่องสำอาง ซึ่งหมายถึงสิ่งที่ใช้กับร่างกายภายนอก โดยวิธี ทา ถู พ่น อบ นวด โรย อบ หยอด ใส่ เพื่อจุดประสงค์ด้านความสะอาด ความสวยงาม หรือให้เกิดการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ยังนับรวมสิ่งที่ใช้กับฟัน ระงับกลิ่นกาย หรือเครื่องประทินผิวต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงาม สะอาดสะอ้าน

โดยก่อนจะเริ่มทำธุรกิจเครื่องสำอาง ผู้ประกอบการควรศึกษาข้อมูลต่าง ๆ และพิจารณาให้รอบด้านก่อนลงทุน เพื่อจะได้เข้าใจผู้บริโภค กระบวนการทำธุรกิจ ตลอดจนข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้ผู้บริโภค และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับคนที่ทำธุรกิจผลิตเครื่องสำอางด้วย

การเริ่มต้นทำธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องสำอาง ไม่ว่าจะเป็นการผลิตหรือนำเข้าเครื่องสำอางได้นั้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องขอใบอนุญาตจดแจ้งเครื่องสำอาง ในกรณีต่อไปนี้

  • การผลิตเครื่องสำอาง
  • การนำเข้าเครื่องสำอาง
  • การรับจ้างผลิตเครื่องสำอาง

การขออนุญาตเกี่ยวกับเครื่องสำอางมีรายละเอียดต่าง ๆกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเช่น ระเบียบข้อห้ามในการโฆษณา และความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางให้เหมาะสม ผู้ที่จะยื่นขอใบอนุญาตควรศึกษาข้อมูลรายละเอียด และข้อมูลที่เกี่ยวกับใบอนุญาตเครื่องสำอางให้ถี่ถ้วน สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ ที่นี่

ใครขอใบอนุญาตได้บ้าง

ใคร ๆ ก็สามารถขอใบอนุญาตเป็นผู้ผลิตเครื่องสำอางแบรนด์ของตัวเองได้ หากมีคุณสมบัติตรงตามกำหนด ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม โดยต้องมีคุณสมบัติดังนี้

บุคคลธรรมดา
นิติบุคคล
- มีสัญชาติไทย
- อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
- จดทะเบียนนิติบุคคลในประเทศไทยเท่านั้น

ใช้เอกสารอะไรบ้าง

เมื่อผู้ประกอบการได้ศึกษารายละเอียดต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่สำคัญไม่แพ้กันคือการจัดเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน โดยเอกสารที่จำเป็นต้องแนบในการยื่นขออนุญาตจดแจ้งเครื่องสำอาง มีดังนี้

  • แบบคำขอจดแจ้งเครื่องสำอาง (แบบ จ.ค.1)
  • บันทึกข้อความใบควบคุมกระบวนงาน (F-C2-1)
  • ใบตรวจรับเอกสาร (F-C2-2)
  • หนังสือมอบอำนาจที่ผ่านการประทับตรารับรอง (F-C2-11)
  • เอกสารสูตรเครื่องสำอางซึ่งออกโดยผู้ผลิต
  • ใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมใบรับจดแจ้ง
  • หนังสือมอบอำนาจ (F-C2-11 (0-28/04/58)) ที่ผ่านการรับรอง
    LETTER OF AUTHORIZATION
  • เอกสารสูตรเครื่องสำอางซึ่งออกโดยผู้ผลิต
  • หนังสือยินยอมให้แบ่งบรรจุซึ่งออกโดยผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าเครื่องสำอาง (กรณีผู้ยื่นคำขอเป็นผู้ผลิต หรือผู้รับจ้างผลิตประเภทแบ่งบรรจุเฉพาะผลิตภัณฑ์เดี่ยว)
  • หนังสือยินยอมให้รวมบรรจุซึ่งออกโดยผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าเครื่องสำอาง (กรณีผู้ยื่นคำขอเป็นผู้ผลิต หรือผู้รับจ้างผลิตประเภทรวมบรรจุ)
  • เอกสารแนบอื่นๆ

สำหรับเอกสารเฉพาะอื่น ๆ สามารถคลิก ที่นี่ เพื่ออ่านรายละเอียดเอกสารเพิ่มเติม

ช่องทางการยื่นขอใบอนุญาต

ผู้ประกอบการที่มีความสนใจผลิตหรือนำเข้าแบรนด์เครื่องสำอา ง สามารถยื่นคำขออนุญาตด้วยตนเองที่สำนักงาน หรือยื่นผ่านทางออนไลน์ตามรายละเอียดด้านล่าง โดยผู้สนใจยังสามารถใช้ Biz Portal ช่วยในการขอใบอนุญาตเกี่ยวกับการทำธุรกิจเครื่องสำอาง ในการขอเอกสารเฉพาะเกี่ยวกับเครื่องสำอางก็ได้เช่นกัน

ใบอนุญาตที่ขอได้ผ่าน Biz Portal

รายชื่อใบอนุญาตที่สามารถขอได้ผ่าน Biz Portal มีดังนี้

  • ขอยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย(ต้องขออนุญาตก่อสร้างป้าย และ/หรือ ติดตั้งป้ายให้แล้วเสร็จก่อน โดยต้องยื่นแบบชำระภาษีป้ายภายใน 15 วันนับจากวันที่ติดตั้งป้ายแล้วเสร็จ)
  • ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ : กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด

แม้ว่าปัจจุบันจะยังไม่สามารถยื่นขอใบอนุญาตผ่าน Biz Portal โดยตรงครบ 100% แต่ Biz Portal ได้รวบรวมเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องเอาไว้เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเชื่อมต่อไปยังหน้าเว็บไซต์เหล่านั้นได้ภายในคลิกเดียว ดังนี้

  • ขอใบจดแจ้งเพื่อผลิตหรือขายเครื่องสำอาง (ผ่าน SKYNET ของ อย.)
  • ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานประเภท 3 (โรงงานที่ไปใช้เครื่องจักรเกิน 50 แรงม้า)
  • หนังสือแจ้งรับฟังความเห็นประชาชนเกี่ยวกับโรงงานประเภท 3
  • แจ้งเริ่มกิจการโรงงานประเภท 3
ประเภท
สถานที่/ช่องทางให้บริการ
ระยะเวลาเปิดให้บริการ
ยื่นคำขอด้วยตนเอง ใบอนุญาตเกี่ยวกับเครื่องสำอาง
    - ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ (OSSC) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
    - สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด
ใบอนุญาตเกี่ยวกับโรงงาน
    - ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลสำนักงานเขต
เปิดให้บริการวันจันทร์ ถึง วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดที่ทางราชการกำหนด) ตั้งแต่เวลา 08:30 - 16:30 น. (มีพักเที่ยง)

*ปิดรับบัตรคิวเวลา 15.30 น.

เปิดให้บริการวันจันทร์ ถึง วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดที่ทางราชการกำหนด) ตั้งแต่เวลา 08:00 - 16:00 น.
ยื่นคำขอออนไลน์
    - เว็บไซต์ privus.fda.moph.go.th
    - เว็บไซต์ระบบการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จทางอิเล็กทรอนิกส์ (Biz Portal)
เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
ตั้งแต่วันจันทร์ (08:30 น.) ถึงวันศุกร์ (16:30 น.) ยกเว้นวันหยุดที่ทางราชการกำหนด หากขอยื่นจดแจ้งเครื่องสำอางหลัง 16.30 น. ระบบจะถือว่าเป็นการยื่นคำขอในวันถัดไป

เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

การต่อใบอนุญาต

ปกติแล้วใบจดแจ้งเครื่องสำอางที่ได้รับจะมีอายุ 3 ปี ผู้ประกอบการจำเป็นต้องขอต่อใบรับแจ้งอย่างน้อย 6 เดือนก่อนที่ใบรับจดแจ้งจะหมดอายุ โดยสามารถต่ออายุใบอนุญาตผ่านระบบของกรมควบคุมเครื่องสำอาง คณะกรรมการอาหารและยาได้

การจะผลิตหรือขายเครื่องสำอางควรทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย จะเห็นได้ว่าการขอใบอนุญาตก่อนเริ่มการผลิตหรือนำเข้าแบรนด์เครื่องสำอางนั้นไม่ใช่เรื่องยากเกินไป เพราะมีตัวช่วยที่ดีอย่าง Biz Portal ศูนย์กลางข้อมูลภาครัฐที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการ ทั้งยังมีเจ้าหน้าที่พร้อมจะให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการเริ่มธุรกิจนี้ การมีใบอนุญาตจะยิ่งเพิ่มความเชื่อมั่น และความปลอดภัย ให้กับลูกค้า และยอดขายก็จะยิ่งปังอีกกว่าเดิม

Link ที่เกี่ยวข้อง

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า