การขอเปิดฟิตเนส ต้องรู้อะไรบ้าง และต้องทำอย่างไร

ด้วยความนิยมในการดูแลสุขภาพของคนในปัจจุบัน ผู้คนหันมาสนใจการออกกำลังกายกันมากขึ้น บางคนเลือกที่จะออกกำลังกายตามพื้นที่สาธารณะ แต่ก็มีอีกหลายคนเช่นกันที่เลือกใช้บริการฟิตเนสในการออกกำลังกาย เพราะมีอุปกรณ์ออกกำลังกายที่ทันสมัย การทำธุรกิจฟิตเนสจึงเป็นธุรกิจที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ และยังเป็นการสร้างรายได้ในเวลาเดียวกัน บทความนี้จะพาไปศึกษาเงื่อนไข และข้อกำหนดในการขอใบอนุญาตของธุรกิจนี้ รวมถึงข้อมูลสำคัญที่ควรรู้ ช่องทางในการขอใบอนุญาตผ่าน Biz Portal ว่ามีขั้นตอนอย่างไร

Link ที่เกี่ยวข้อง

ธุรกิจฟิตเนส คืออะไร

ฟิตเนสหนึ่งธุรกิจที่หลายคนเริ่มให้ความสนใจมากในยุคนี้ เพราะเป็นธุรกิจที่ให้บริการสถานที่ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โดยได้รวบรวมบริการออกกำลังกายรูปแบบต่าง ๆ ไว้ภายใน เช่น การออกกำลังกายโดยใช้อุปกรณ์ยกน้ำหนัก เครื่องออกกำลังกาย คลาสชกมวย โยคะ เต้นออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งสนามแบดมินตัน รวมไปถึงมีบุคลากรคอยให้บริการ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เน้นไปที่การเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง

อยากเปิดฟิตเนส ต้องวางแผนอย่างไร

เทรนด์สุขภาพที่กำลังมาแรง ทำให้หลายคนสนใจเปิดธุรกิจฟิตเนสเป็นของตัวเองบ้าง การเริ่มต้นธุรกิจอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคนที่ไม่เคยศึกษาอย่างจริงจังมาก่อน แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากเสียทีเดียว ผู้ที่สนใจอยากทำธุรกิจนี้ ลองมาเช็กกันก่อนว่าสิ่งที่ควรทำก่อนตัดสินใจเปิดฟิตเนสนั้นมีอะไรบ้างจากลิสต์ด้านล่างได้เลย

  • วางแผนธุรกิจและแผนการตลาด การจะเริ่มธุรกิจใด ๆ ควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีแผนธุรกิจ เพื่อจะได้ดำเนินงานได้อย่างราบรื่น โดยอาจวางแผนตั้งแต่ กลุ่มลูกค้าคือใคร ฟิตเนสจะให้บริการอะไรบ้าง เป็นต้น
  • หาแหล่งเงินทุน วางแผนงบประมาณ หลังจากวางแผนธุรกิจและแผนการตลาดแล้ว เราก็ต้องหาแหล่งเงินทุนเพื่อเริ่มทำให้แผนนั้นขึ้นเป็นจริง การวางแผนและการเลือกหาเงินลงทุนที่ตอบโจทย์กับแผนของเรา เช่น วงเงินอนุมัติ ดอกเบี้ยรายปี หรือ ระยะเวลาการกู้ยืม เป็นต้น
  • เตรียมพร้อมด้านสถานที่ตั้ง อุปกรณ์ออกกำลังกายพื้นฐาน และบุคลากรผู้ให้บริการที่เชี่ยวชาญ เมื่อมีทั้งแผนธุรกิจและแผนการเงินแล้วอีกปัจจัยที่จำเป็นในการเปิดฟิตเนสคือ สถานที่ อุปกรณ์ และทีมงาน อาจต้องมีการสรรหาทีมงาน ตลอดจนวิธีบริหารจัดการปัจจัยเหล่านี้
  • ออกแบบธุรกิจให้ตอบโจทย์ผู้เข้าใช้บริการที่หลากหลาย ด้วยการแข่งขันในปัจจุบันนั้นสูงมาก  การออกแบบบริการที่โดดเด่นเฉพาะตัว จึงจะมีส่วนช่วยให้ธุรกิจเข้ากับผู้ใช้บริการที่หลากหลายได้ ต้องมีการศึกษา และออกแบบวิธีการให้เหมาะสม และน่าสนใจ
  • พิจารณาด้านบริการเสริม การมีบริการเสริม เช่น การเปิดคลาสออกกำลังกายพิเศษ หรือการจำหน่ายสินค้าและบริการอื่น ๆ ยังจะช่วยให้ฟิตเนสนั้นโดดเด่นไปอีกด้วย

คำแนะนำสำหรับการเปิดฟิตเนสที่ดี

ในการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบการย่อมต้องการให้ผู้เข้าใช้บริการวางใจว่าธุรกิจนั้นมีคุณภาพและตรงตามมาตรฐาน เนื่องจากการออกกำลังกายนั้นเกี่ยวข้องกับร่างกายโดยตรง ผู้ที่สนใจจะเปิดฟิตเนสควรศึกษาหลักเกณฑ์ในการประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกายตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้ให้คำแนะนำไว้อย่างละเอียด เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้เข้าใช้บริการว่าจะได้รับความปลอดภัย และจะไม่เกิดผลกระทบใดใดต่อสุขภาพ ซึ่งหลักๆ ประกอบด้วย

  • สถานที่ตั้ง
  • สุขลักษณะของอาคารสถานที่
  • ความปลอดภัยของอุปกรณ์ออกกำลังกาย
  • การจัดการน้ำดื่ม น้ำใช้
  • การให้บริการ
  • บุคลากรผู้ให้บริการ
  • การจัดการมลพิษทางเสียง
  • การจัดการน้ำเสีย มูลฝอย และสิ่งปฏิกูล
  • ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการให้บริการ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมศึกษาได้ ที่นี่

นอกจากการศึกษาหลักเกณฑ์และข้อกำหนดต่าง ๆ ครบถ้วนแล้ว ยังเหลืออีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญที่ผู้ประกอบการฟิตเนสไม่ควรมองข้าม คือการขอใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภทการประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย ที่จะช่วยให้การดำเนินธุรกิจนั้นทั้งถูกต้องตามกฎหมายและได้มาตรฐานอีกด้วย ทั้งนี้กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ไม่ได้มีเพียงสถานที่ออกกำลังกายเท่านั้น ยังประกอบไปด้วยอีกหลายธุรกิจ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่

ช่องทางการยื่นคำขอใบอนุญาต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ผู้ที่สนใจประกอบกิจการฟิตเนส สามารถติดต่อด้วยตนเองที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นที่ตั้งสถานประกอบกิจการของตน  และต้องขอรับใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนดำเนินกิจการ  หรือสามารถยื่นขอใบอนุญาตได้ที่ Biz Portal ช่องทางออนไลน์ที่ช่วยให้บริการภาครัฐเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว ครบ จบในที่เดียว

ประเภท
สถานที่/ช่องทางให้บริการ
ระยะเวลาเปิดให้บริการ
ติดต่อด้วยตนเอง
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • เปิดให้บริการวันจันทร์-ศุกร์
    (ยกเว้นวันหยุดราชการหรือนักขัตฤษ์)
  • เวลา 08.30 – 16.30 น.
    (พัก 12.00 น. – 13.00 น.)
ติดต่อออนไลน์
เว็บไซต์ระบบการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จทางอิเล็กทรอนิกส์ (Biz Portal) คลิกที่นี่ เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

การขอเปิดฟิตเนสผ่าน Biz Portal

ผู้ประกอบการสามารถขอใบอนุญาตในการเปิดกิจการประเภทนี้ผ่าน Biz Portal ได้ ดังนี้
  • ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ: การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย
  • ใบอนุญาตเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร
  • ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย
  • ใบอนุญาตเกี่ยวกับการจัดตั้งสถานที่ จำหน่ายหรือสะสมอาหาร (เกิน 200 ตร.ม./หรือไม่เกิน 200 ตร.ม.)
หากมีข้อสงสัย สามารถแชทถามเจ้าหน้าที่โดยตรง หรือจะให้ Smart Quiz ช่วยแนะนำใบอนุญาตที่จำเป็นต้องขอ พร้อมบอกอัตราค่าธรรมเนียม และระยะเวลาดำเนินการให้พร้อมอีกด้วย

กระแสการดูแลสุขภาพที่ค่อนข้างมาแรงในช่วงนี้ ตัวธุรกิจฟิตเนสเองก็ดูเป็นทั้งธุรกิจที่เสริมสร้างสุขภาพ และไลฟสไตล์ให้กับประชาชน หากสนใจเริ่มธุรกิจนี้ สามารถเริ่มขอใบอนุญาตได้ทาง Biz Portal หรือจะศึกษาเทรนด์ธุรกิจ แชทสอบถามกับเจ้าหน้าที่เพิ่มเติมผ่านเว็บไซต์ก็ได้เช่นเดียวกัน แล้วการขอใบอนุญาตฟิตเนสจะไม่ใช่เรื่องซับซ้อนอีกต่อไป

Link ที่เกี่ยวข้อง

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า