ใบอนุญาต GAP หม่อนไหม

การขอรับรองแหล่งผลิตใบหม่อนเลี้ยงหนอนไหม ให้ได้มาตรฐาน (GAP) ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง 

เส้นใยไหมเปรียบเหมือนเส้นใยแห่งชีวิต จาก “ดักแด้ตัวเล็ก” ที่ค่อย ๆ กินใบหม่อนจนเติบโต ผ่านกรรมวิธีถักทอร้อยเรียงจนกลายมาเป็น “ผ้าไหม” สินค้าทางวัฒนธรรมที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรชาวไทย การผลิตผ้าไหมนั้นมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การเลือกพันธ์ุหนอนไหม จนถึงพันธุ์ใบหม่อนที่ใช้เลี้ยงหนอนเหล่านั้น และในยุคของการแข่งขันที่สูง การมีมาตรฐาน GAP มาช่วยรับรองแหล่งปลูกใบหม่อนเลี้ยงหนอนไหม ว่าเป็นไปตามมาตรฐานการผลิตที่ดีและเป็นที่ยอมรับระดับโลก จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อสินค้าและเพิ่มโอกาสในการขายในระดับสากลยิ่งขึ้น มาตรฐานที่ว่ามีรายละเอียดอย่างไร มีข้อดีอย่างไร และขอได้อย่างไร

Link ที่เกี่ยวข้อง

ประกันสังคม

GAP หม่อนไหม คืออะไร?

อาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมา จนทำให้เกิดธุรกิจเกี่ยวกับหม่อนไหมที่สร้างรายได้มหาศาล เช่น ชาใบหม่อน น้ำลูกหม่อน หรือเส้นไหมที่ได้จากการนำใบหม่อนไปเลี้ยงหนอนไหม เพื่อให้การผลิตมีมาตรฐานผู้ประกอบการจึงต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้า นับตั้งแต่ต้นน้ำอย่างการปลูกต้นหม่อน ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวและการขนย้ายผลิตผลให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ด้วยการขอการรับรองมาตรฐานการผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP: Good Agricultural Practice) ซึ่งเป็นการยืนยันว่า

  • กระบวนการผลิตที่ได้ผลิตผลปลอดภัย
  • กระบวนการที่ได้ผลิตผลปลอดภัยและปลอดภัยจากศัตรูพืช
  • กระบวนการผลิตที่ได้ผลิตผลปลอดภัยปลอดจากศัตรูพืช และคุณภาพเป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค

สำหรับการประเมินเพื่อให้ได้มาตรฐาน GAP ของผลิตภันฑ์หม่อนไหม ซึ่งในที่นี้จะเน้นในประเด็นการผลิตใบหม่อนเพื่อไปเลี้ยงหนอนไหม จะมีประเด็นพิจารณาตามตารางด้านล่างนี้ โดยเน้นการตรวจพินิจ เช่น ตรวจสถานที่ปลูก กระบวนการปลูกและเก็บเกี่ยว ต้นพันธ์ุ และการตรวจบันทึกข้อมูลแหล่งที่มา หรืออาจมีการสัมภาษณ์ และอื่น ๆ ดังรายละเอียดในตารางด้านล่าง

รายการ
เกณฑ์ที่กำหนด
วิธีการตรวจประเมิน
1. แหล่งน้ำ ไม่มีสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนวัตถุหรือสิ่งอันตราย ตรวจพินิจสภาพแวดล้อม หากเสี่ยงให้วิเคราะห์คุณภาพน้ำ
2. พื้นที่ปลูก ไม่มีวัตถุหรือสิ่งอันตรายที่ทําให้เกิดการตกค้างหรือปนเปื้อน ตรวจพินิจสภาพแวดล้อม หากเสี่ยงให้วิเคราะห์คุณภาพดินหรือใบหม่อน
3. การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร
  • เฝ้าระวังศัตรูพืชตั้งแต่เริ่มปลูก หากพบให้กำจัด
  • หากใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร ให้ใช้ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร
  • เก็บรักษาและจำกัดภาชนะบรรจุที่ใช้หมดอย่างปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อแหล่งน้ำ
  • ตรวจบันทึกข้อมูล
  • ตรวจพินิจสถานที่เก็บ ตรวจบันทึกข้อมูลการเก็บรักษา และตรวจวิธีการจัดการภาชนะบรรจุที่ใช้หมดแล้ว
4. กระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว
  • คัดเลือกต้นพันธ์ุ/ท่อนพันธ์ุที่แข็งแรงสมบูรณ์ ปลอดศัตรูพืชจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้
  • มีการอนุรักษ์และบำรุงดิน
  • ตัดแต่งกิ่งให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์
  • ป้องกันและกำจัดวัชพืช
  • ตรวจพินิจและ/หรือตรวจบันทึกข้อมูลแหล่งที่มา
  • ตรวจพินิจหรือสัมภาษณ์ และตรวจบันทึกข้อมูล
  • ตรวจพินิจ และ/หรือสัมภาษณ์
  • ตรวจบันทึกข้อมูล และ/หรือตรวจพินิจ
5. การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
  • เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บเกี่ยวขนย้ายสะอาดมีคุณภาพไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพใบหม่อน
  • เก็บเกี่ยวให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์
  • เก็บเกี่ยว วางพัก ขนย้ายด้วยความระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหายต่อคุณภาพใบหม่อน
  • ตำแหน่งวางพักใบหม่อนสะอาด ไม่ทำให้ใบหม่อนช้ำ และระบายอากาศได้ดี
  • ดูแลไม่ให้ใบหม่อนช้ำ แห้ง หรือตายนึ่งหลังเก็บเกี่ยว
  • ตรวจพินิจอุปกรณ์ เครื่องมือ
  • ตรวจพินิจใบหม่อน หรือสัมภาษณ์
  • ตรวจพินิจการปฏิบัติงาน หรือตรวจคุณภาพใบหม่อน
  • ตรวจพินิจการปฏิบัติงาน
  • ตรวจพินิจคุณภาพใบหม่อน
6. การเก็บรวบรวมและการขนย้ายผลิตผล
  • สถานที่เก็บรวบรมและพาหนะในการขนส่งสะอาด ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน
  • การขนย้ายไม่ทำให้ใบหม่อนเสียหาย
ตรวจพินิจสถานที่เก็บรวมรวบพาหนะ และวิธีปฏิบัติในการขนย้าย
7. สุขภาพและการให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงาน
  • ดูแลสุขภาพผู้ปฏิบัติงานอย่างเหมาะสมและเพียงพอ
  • ให้ความรู้ด้านสุขลักษณะส่วนบุคคลแก่ผู้ปฏิบัติงาน
  • ตรวจพินิจและสัมภาษณ์
  • ตรวจบันทึกข้อมูลหรือสัมภาษณ์
8. การบันทึกข้อมูล
  • บันทึกข้อมูลเพื่อให้สามารถตรวจประเมินและตรวจสอบในระดับฟาร์มได้
  • เก็บรักษาบันทึกข้อมูลอย่างน้อย 1 ปี
ตรวจบันทึกข้อมูล

หากการผลิตภัณฑ์ผ้าไหม มีกระบวนการผลิตที่ได้รับมาตรฐาน GAP ตั้งแต่กระบวนการปลูกใบหม่อนเพื่อเลี้ยงหนอนไหม ก็จะเป็นส่วนช่วยยืนยันว่า ผู้ผลิตมีการใส่ใจตั้งแต่ต้นห่วงโซ่การผลิต ที่ให้ความสำคัญกับประเด็นต่างๆ ดังตารางด้านบน ผ้าไหมจากแหล่งนั้นก็จะมีความพิเศษ แตกต่าง และมีกระบวนการผลิตที่ปลอดภัยและยั่งยืนแน่นอน

นอกจากนี้ยังมีมาตรฐาน GAP ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หม่อนไหม ชนิดอื่นๆ เช่น การผลิตรังไหม การผลิตชาใบหม่อน การผลิตเส้นไหมดิบ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่

ทำไมต้องมีการรับรองแหล่งผลิตหม่อนไหม

ใบรับรองแหล่งผลิตมาตรฐานสินค้าเกษตร GAP เปรียบเสมือนเครื่องการันตีว่าสินค้าเกษตรชนิดนั้นมีคุณภาพและตรงตามมาตรฐานการรับรองสากล สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจหม่อนไหมที่ต้องการขายหรือส่งออกหม่อนไหม การมีมาตรฐาน GAP ยังช่วยสร้างภาพลักษณ์และส่งเสริมการขายไปยังทั่วโลกได้มากขึ้น การขอใบรับรองมาตรฐาน GAP เพื่อผลิตใบหรือผลจึงเป็นสิ่งจำเป็นโดยปริยาย

สำหรับใบรับรองนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • ใบรับรองแหล่งผลิตสำหรับรายเดียว (ในกรณีที่ยื่นขอรับรองในนามบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล โดยมีรายชื่อผู้ผลิตเพียงคนเดียว)
  • ใบรับรองแหล่งผลิตสำหรับกลุ่ม (ในกรณีที่ยื่นขอรับรองในนามของกลุ่มเกษตรหรือองค์กร โดยมีรายชื่อผู้ผลิตหลายคนในกลุ่ม)

ใครขอใบรับรองได้บ้าง

ผู้ที่ประกอบกิจการนี้สามารถยื่นขอใบรับรองได้ทั้งในลักษณะรายเดียวหรือลักษณะของกลุ่มก็ได้ ทั้งนี้ ต้องศึกษาข้อมูลให้แน่ชัดเสียก่อนว่าตนเองมีคุณสมบัติครบถ้วนในการยื่นขอใบรับรองหรือไม่ โดยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกรมหม่อนไหมระบุไว้ว่า ผู้ยื่นคำขอต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  • เป็นบุคคลหรือนิติบุคคล หรือกลุ่มเกษตรกร องค์กรที่รับผิดชอบในทางกฎหมายในการผลิตตามมาตรฐานสินค้าเกษตร GAP หม่อนเพื่อผลิตใบหรือหม่อนเพื่อผลิตผล
  • เป็นผู้สมัครใจขอรับการรับรอง ยินดีที่จะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ที่กรมหม่อนไหมกำหนด
  • ไม่เป็นผู้ถูกเพิกถอนการรับรองจากกรมหม่อนไหม หรือหน่วยรับรองฯ อื่นๆ ที่มีมาตรฐานเทียบเท่าของกรมหม่อนไหม เว้นแต่พ้นระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่ถูกเพิกถอนการรับรองมาแล้ว

สามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการยื่นขอใบรับรอง พร้อมตรวจสอบรายชื่อเอกสารและหลักฐานอื่นได้จากลิงก์ด้านล่างนี้

การขอรับรองแหล่งผลิตให้ได้มาตรฐาน (GAP) ทำได้อย่างไร

เมื่อศึกษารายละเอียดต่าง ๆ อย่างครบถ้วนแล้วก็สามารถนำเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ไปยื่นคำขอด้วยตนเองตามรายละเอียดด้านล่าง หรือจะยื่นคำขอออนไลน์ผ่าน Biz Portal ช่องทางให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัลที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการยื่นเอกสาร และหลักฐานต่าง ๆ ได้ทุกที่ ทุกเวลา

ประเภท
สถานที่/ช่องทางให้บริการ
ติดต่อที่จุดบริการ
  1. ตรวจบันทึกข้อมูล
  2. ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ในพื้นที่
ติดต่อออนไลน์
  1. เว็บไซต์ระบบการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จทางอิเล็กทรอนิกส์ (Biz Portal) คลิกที่นี่

Tips: หากขอผ่าน Biz Portal ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่เข้าสู่ระบบ เลือกขอใบอนุญาต การขอรับรองแหล่งผลิต GAP หม่อนเพื่อผลิตใบ/ผล กรอกรายละเอียด อัปโหลดเอกสาร เช่น บัตรประชาชน  หรือเอกสารสิทธิ์ที่ดินในการปลูกหม่อน และอื่น ๆ  จากนั้นกดส่งคำขอและชำระค่าธรรมเนียมก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

การขอต่ออายุใบอนุญาต

หลังจากได้รับใบรับรองมาตรฐานสินค้า GAP เรียบร้อยแล้ว ผู้ประกอบการยังคงต้องรักษาระบบการผลิตให้อยู่ในมาตรฐานตามที่กำหนดไว้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับการรับรอง ยิ่งไปกว่านั้น จะต้องมีการตรวจประเมินเพื่อต่ออายุการรับรองทุก 3 ปี โดยจะตรวจประเมินตามเกณฑ์และเงื่อนไขเดิม เช่น ตั้งแต่แหล่งปลูก กระบวนการปลูก ไปจนถึงการเก็บใบหม่อน โดยสามารศึกษารายละเอียดและเกณฑ์การประเมินเพิ่มเติม คลิกที่นี่

Link ที่เกี่ยวข้อง

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า