เช็คยอด กยศ

ใช้หนี้ “กยศ.” หมดไว เสียดอกน้อย ต้องทำอย่างไร

มนุษย์เงินเดือนที่เพิ่งเริ่มทำงาน ยังเป็นหนี้กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ “กยศ.” มีกำหนดให้ชำระคืนเงินระยะยาวถึง 15 ปี ที่ดอกเบี้ย 1% ต่อปี
“การวางแผน” และ “การบริหาร” เพื่อจัดการหนี้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญมากๆ ทำยังไงจึงจะสามารถปิดหนี้ได้เร็วขึ้น เสียดอกเบี้ยน้อยลง และไม่กระทบต่อการวางแผนใช้จ่ายเงินในชีวิตประจำวัน มาดูกัน

Link ที่เกี่ยวข้อง

กยศ.

ทำความเข้าใจเงื่อนไขหนี้ กยศ.ก่อนจ่าย

ก่อนจะจ่ายหนี้ กยศ. ต้องทำความเข้าใจเงื่อนไขการจ่ายหนี้ว่ามีกี่ประเภท และวิธีการคิดดอกเบี้ย กับระยะเวลาในการชำระหนี้ เพราะถ้าขาดส่ง หรือขาดการแจ้ง หรือหายตัวไปเลย จะกลายเป็น “ผิดนัดชำระหนี้” อาจจะทำให้ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี หรือยึดทรัพย์ได้ จึงต้องทำความเข้าใจเงื่อนไขหนี้ก่อน ดังนี้

เข้าใจเงื่อนไขหนี้ ก่อนวางแผนจ่าย

ก่อนที่เราจะวางแผนจ่ายหนี้ อันดับแรกต้องทำความเข้าใจ “เงื่อนไขหนี้” ก่อน

  1. สิ่งที่ต้องเข้าใจก่อนคือ เงินกู้ กยศ. “ไม่ใช่เงินให้เปล่า” มีกำหนดชำระหนี้ มีอัตราดอกเบี้ย และถ้าผิดนัดชำระหนี้ ขาดการติดต่อ หรือหนีหนี้ อาจนำไปสู่การถูกฟ้องร้องดำเนินคดี หรือยึดทรัพย์ได้ คนที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดหากหนี้ไม่ถูกชำระคือ ตัวผู้กู้ เนื่องจากจะถูกดำเนินคดีแล้ว ยังส่งผลกระทบถึงน้อง ๆ รุ่นหลังจะหมดโอกาสกู้เรียน เพราะไม่มีเงินเข้ามาหมุนเวียนในระบบ
  2. กยศ. มีระยะปลอดหนี้ 2 ปี หลังจากจบการศึกษา หมายความว่าระยะ 2 ปีนี้จะไม่ต้องชำระหนี้ใด ๆ
  3. กยศ. คิดดอกเบี้ย 1% ต่อปี
  4. กยศ. จะแจ้งยอดการชำระหนี้ครั้งแรกในปีที่ 3 หลังจากครบระยะเวลาปลอดหนี้ โดยมีกำหนดให้ชำระคืนไม่เกินวันที่ 5 กรกฎาคม ของทุกปี
  5. ต้องชำระเงินกู้ยืม พร้อมทั้งดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด 1% ต่อปี โดยต้องคืนกองทุนให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี นับแต่วันที่ต้องเริ่มชำระหนี้
  6. ถ้าผิดนัดชำระหนี้ ผู้กู้ยืมเงินจะต้องชำระค่าปรับ หรือ ค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ตามอัตราที่กองทุนกำหนด
  7. อาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมาย ถ้าผิดนัดชำระหนี้ และค้างชำระหนี้เกินกว่า 4 ปี 5 งวด (1,460 วันขึ้นไป) หรือ มีหนี้ค้างชำระแต่หมดระยะเวลาที่กำหนดแแล้ว
  8. การขอชำระหนี้ก่อนครบกำหนดระยะเวลาชำระ หรือก่อนครบระยะเวลาปลอดหนี้ สามารถชำระคืนได้โดยไม่เสียดอกเบี้ย
  9. กรณีที่ยังศึกษาอยู่ แต่ไม่ได้กู้ยืมในปีการศึกษาต่อไป ต้องแจ้งสถานภาพการศึกษากับผู้บริหารและ จัดการเงินที่กู้ยืม โดยให้นำใบรับรองจากสถานศึกษา และเลขบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมหมายเลขโทรศัพท์ ต้องแสดงและแจ้งทุกปีจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา

กยศ.มีระบบคิดดอกเบี้ยอย่างไร

กยศ. คิดดอกเบี้ยเงินกู้ 1% ต่อปี แต่หากผิดนัดชำระหนี้ จะมีการคิดเบี้ยปรับในกรณีไม่เกิน 1 ปี คิดเบี้ยปรับ 12% ของเงินต้นที่ค้างชำระ หากเกิน 1 ปี คิดเบี้ยปรับ 18% ของเงินต้นที่ค้างชำระ

วิธีคิดดอกเบี้ย
1. กรณีชำระหนี้ตามเวลา ร้อยละ 1 ต่อปี

ดอกเบี้ย = เงินต้นทั้งหมด xอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 x จำนวนวัน
              หารด้วย 365 วัน
                                                                                                                                        

2. กรณีผิดนัดชำระไม่เกิน 1 ปี
ไม่เกิน1 ปี คิดดอกเบี้ย ร้อยละ 12 ของเงินต้นที่ค้างชำระ

เบี้ยปรับ = เงินต้นที่ค้างชำระx เบี้ยปรับร้อนละ 12 x จำนวนวันที่ค้างชำระ
              หารด้วย 365 วัน
                                                                                                                                              

3. กรณี ผิดนัดชำระหนี้ เกิน 1 ปี
เบี้ยปรับเกิน 1 ปีคิดดอกเบี้ยร้อยละ 18 ของเงินต้นที่ค้างชำระ

เบี้ยปรับ = เงินต้นค้างชำระ x ร้อยละ 18 x จำนวนวันที่ค้างชำระ
หารด้วย 365วัน
                                                                                                                                           

สำหรับกรณี ที่นำไปสู่การฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมาย ในกรณีที่มีการผิดนัดชำระ และค้างชำระหนี้เกินกว่า 4 ปี 5 งวด (1,460 วันขึ้นไป) หรือ มีหนี้ค้างชำระ แต่หมดระยะเวลาที่กำหนดแแล้ว หรือกรณีที่ผู้กู้ยืม กยศ. กลุ่มไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดี

ระบบ DSL คืออะไร

Digital Student Loan Fund System (DSL) เป็นระบบกองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาแบบดิจิทัล สำหรับให้บริการกู้ยืมเงินตลอดจนชำระหนี้ ทาง Application กยศ. connect และเว็บไซต์ อ่านรายละเอียดการใช้งานและวิธีการใช้งานได้ที่นี่

 

เช็กยอดหนี้ - วางแผนจ่ายหนี้ ให้หมดไว

วิธีการตรวจสอบหนี้ยอดหนี้ กยศ. ผ่านทางออนไลน์ทำได้ไม่ยากเลย สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ทั้งทางเว็บไซต์กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา และแอปพลิเคชัน Mobile Application กยศ. Connect

หลังจากตรวจยอดชำระหนี้แล้ว สิ่งที่สำที่สุดคือการวางแผนบริการจัดการหนี้เพื่อให้ชำระหนี้ได้ตรงตามกำหนดแล้ว ยังสามารถวางแผนลดหนี้ลงไปได้ โดยการเริ่มสร้างวินัยทางการเงินให้กับตัวเอง ดังนี้

1. เก็บออมเงินเพื่อจ่ายในช่วงปลอดหนี้ 2 ปี

การบริหารการเงินในช่วง “ระยะปลอดหนี้ 2 ปี” เป็นช่วงเวลาสำคัญในการจัดการหนี้ และการสร้างวินัยในการบริหารจัดการหนี้  เพราะสามารถใช้ช่วงเวลานี้เก็บเงินเตรียมไว้สำหรับจ่ายหนี้ กยศ. เมื่อถึงกำหนดชำระได้ 

หัวใจสำคัญในช่วงปลอดหนี้คือการเก็บเงินสำรองไว้จ่ายหนี้ กยศ. โดยเฉพาะในช่วงปลอดหนี้ 2 ปี เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการเก็บเงินรายวัน ทีละเล็กละน้อย ตามระยะเวลา โดยหักเงินจากบัญชีเงินเดือนหรือรายได้ เก็บไว้ทุก ๆ เดือนก่อนที่จะใช้จ่ายในส่วนอื่น โดยเก็บเงินก้อนนี้มาใช้ในการจ่ายหนี้ กยศ. เท่านั้น

วิธีการคำนวณ เพื่อหักรายได้รายเดือนในช่วงปลอดหนี้ง่าย ๆ โดยการนำยอดชำระหนี้ในแต่ละปีมาหาร 12 เดือน เช่น ยอดชำระหนี้ 5,484 บาท หาร 12 เดือน เท่ากับว่าในแต่ละเดือนต้องเก็บเงินไว้สำหรับจ่ายชำระหนี้ 457 บาท เป็นต้น

ในทุกเดือนผู้กู้จะต้องมีวินัยในการหักค่าใช้จ่ายเพื่อจ่ายหนี้ กยศ. เพียงเก็บเงินวันละ 5 บาทก็สามารถปลดหนี้ กยศ. ได้ โดยเงินจำนวนดังกล่าว สามารถเริ่มนำมาใช้หนี้ กยศ. ได้เลยหลังเรียนจบ

คืนเงินกองทุน กยศ

2. จ่ายหนี้ กยศ. ช่วงปลอดหนี้ ช่วยลดภาระเงินต้น

ผู้กู้ที่เป็นนักเรียน นักศึกษา สามารถวางแผนการชำระหนี้ให้เร็วขึ้นได้ ด้วยการเริ่มต้นชำระหนี้คืนกองทุนฯ ตั้งแต่อยู่ในช่วงปลอดหนี้ หรือช่วง 2 ปีหลังจบการศึกษา

โดยในช่วงระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปีนี้ ผู้กู้จะยังไม่ต้องเริ่มชำระหนี้คืนกองทุนฯ แต่หากมีความพร้อมในการชำระหนี้ก็สามารถชำระหนี้คืนก่อนครบกำหนดชำระหนี้งวดแรกให้เร็วขึ้นได้ เพราะจะไม่มีการคิดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในช่วงเวลานี้ เงินที่จ่ายไปทั้งหมดก็จะถูกหักออกจากเงินต้น ยิ่งผู้กู้ชำระเงินในช่วงปลอดหนี้ได้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งช่วยให้ชำระหนี้ทั้งหมดได้เร็วขึ้นเท่านั้น

3. ปิดบัญชี ลดเงินต้นทันที 3%

ถ้ามีเงินก้อนใหญ่เพียงพอที่จะชำระหนี้แบบปิดบัญชี ยังมีช่องทางในการลดภาระเงินต้น โดยแจ้งปิดบัญชีชำระหนี้ทั้งหมดจะได้รับการ “ลดเงินต้นทันที 3%” (ไม่รวมดอกเบี้ย)” ณ วันที่ปิดบัญชีหนี้หนี้ทั้งหมด

หากสนใจที่ปิดบัญชีชำระหนี้ทั้งหมด สอบถามข้อมูล กยศ. หรือหาข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 0 2016 4888 ให้บริการข้อมูล ชี้แจง ตอบปัญหา ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.30 – 20.00 น.

ส่งข้อมูลสอบถาม ได้ที่อีเมล info@studentloan.or.th หรือ Facebook: @studentloan.th

ช่องทางและวิธีการชำระหนี้ กยศ.

ก่อนจะเริ่มชำระหนี้ กยศ. จะมีหนังสือแจ้งภาระหนี้ครั้งแรกในปีที่ผู้กู้ยืมครบกำหนดชำระหนี้ โดยมีรายละเอียดของจำนวนเงินที่ต้องชำระรายเดือนหรือรายปี ให้ผู้กู้ยืมทราบ

หากไม่ได้รับหนังสือสามารถตรวจสอบยอดหนี้ได้ด้วยตัวเองที่แอปพลิเคชัน “กยศ. Connect” ได้ทั้งระบบปฎิบัติการ iOS และ Android และผ่านทาง เว็บไซต์กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

 

ส่วนช่องทางการชำระเงินกู้แบ่งออกเป็น ดังต่อไปนี้

1. ผ่านธนาคารกรุงไทย

  1. หักผ่านบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
  2. หน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร
  3. ตู้ ATM
  4. อินเทอร์เน็ต (www.ktbnetbank.com)
  5. แอปพลิเคชัน Krungthai Next และแอปพลิเคชัน เป๋าตัง

2. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

  1. หักผ่านบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
  2. หน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร
  3. ตู้ATM
ช่องทางและวิธีชำระหนี้ กยศ

3. ชำระด้วย QR Code ผ่าน Mobile Banking

ชำระเงินกยศ ผ่าน QR code

4. ชำระ หนี้ผ่าน เคาน์เตอร์เซอร์วิส เซเว่น อีเลฟเว่น บิ๊กซี

ชำระหนี้ กยศ และ กรอ
ชำระหนี้ กยศ

5. ชำระหนี้ด้วยการหักเงินเดือนจากนายจ้าง ทั้งภาครัฐและเอกชน

ชำระหนี้ด้วยการหักเงินเดือนจากนายจ้าง

กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ “กยศ.” เกิดขึ้นเพื่อเป็นทุนการศึกษาให้นักเรียน นักศึกษาในระดับชั้นต่าง ๆ ที่ไม่มีทุนเรียนได้กู้ยืมเรียน การวางแผนจ่ายหนี้ กยศ. ให้หมดไว นอกจากจะช่วยให้สภาพการเงินของเราแข็งแรงไม่กระทบต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันแล้ว ยังช่วยให้มีเงินหมุนกลับไปยังกองทุน กยศ. เพื่อให้น้อง ๆ รุ่นหลังได้มีเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาต่อไปอีกด้วย

Link ที่เกี่ยวข้อง

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า