กยศ

รู้จัก กยศ. หมดปัญหาอยากเรียนต่อแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์

อยากเรียนต่อแต่ไม่มีเงิน ไม่ต้องเครียดอีกต่อไป มารู้จักกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. ที่จะให้กู้เรียนได้ตั้งแต่ ระดับมัธยมปลายไปจนถึงปริญญาโท เรียนก่อน จบแล้วค่อยชำระคืน หมดห่วงภาระทางการเงินระหว่างเรียนหนังสือได้

Link ที่เกี่ยวข้อง

ประกันสังคม

ระบบตรวจสอบการกู้ยืมเพื่อการศึกษา

กยศ. คืออะไร ต้องรู้เพราะ สำคัญมาก!

น้อง ๆ นักเรียน นักศึกษา ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ด้านการศึกษา แต่ก็ไม่อยากเป็นภาระทางการเงินให้กับครอบครัว หรืออยากบริหารจัดการเงินสำหรับการศึกษาด้วยตัวเอง ควรทำความรู้จักกับ “กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ.” โดย กยศ. มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาให้กับนักเรียน นักศึกษาที่ต้องการเงินทุนด้านการศึกษา ซึ่งมีเงื่อนไขว่าจะต้องชำระเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยเมื่อจบการศึกษาแล้ว

กองทุน กยศ. จะให้เงินกู้กับน้อง ๆ โดยแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ค่าเล่าเรียน เช่น ค่าหน่วยกิต ค่าธรรมเนียม ที่เรียกเก็บจากสถานศึกษา และค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน โดยในระหว่างที่เรียนอยู่ ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องรีบชำระเงินคืน หรือโดนคิดดอกเบี้ยตอนเรียน เพราะผู้กู้สามารถจ่ายเงินคืนได้หลังเรียนจบ เพื่อให้เงินกลับไปหมุนเวียนในกองทุน ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้น้อง ๆ รุ่นหลังได้กู้เงินเรียนต่อไป

โอกาสการศึกษา คือ อนาคตประเทศ

ที่ผ่านมาประเทศไทยมี น้อง ๆ ที่ขาดโอกาสทางการศึกษา เพราะปัญหาความยากจน ผู้ปกครองไม่มีรายได้เพียงพอที่จะสนับสนุน ก็เลยสูญเสียโอกาสทางการศึกษา ก็เปรียบเหมือนประเทศของเราได้สูญเสียโอกาสด้านเศรษฐกิจ และสังคมที่ขับเคลื่อนของประเทศ เพราะการศึกษาของประชาชนคือพื้นฐานของการพัฒนาประเทศ

อยากได้ทุน กยศ. ต้องทำยังไง?

ผู้กู้ยืมต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

  1. มีสัญชาติไทย
  2. กำลังศึกษาหรือได้รับการตอบรับในสถานศึกษาที่ร่วมกับกยศ.
  3. เรียนที่เดียวตลอดทั้งภาคเรียน
  4. ผลการเรียนดีหรือผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลของสถานศึกษา
  5. มีความประพฤติดี ไม่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษา

ประเภทการกู้ยืม มีแบบไหนบ้าง?

กยศ. แบ่งประเภทการกู้ยืมออกเป็น 4 แบบ เข้าข่ายแบบไหนยื่นขอได้เลย

1. ขาดแคลนทุนทรัพย์

  • รายได้ครอบครัวต่อปีไม่เกิน 360,000 บาท
  • ศึกษาอยู่ในระดับ มัธยมปลาย ปวช. ปวท.ปวส. อนุปริญญา และปริญญาตรี
  • อายุขณะขอกู้นับรวมระยะปลอดหนี้ (หลังเรียนจบ 2 ปี) และผ่อนชำระอีก 15 ปีต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี เช่น อายุขณะกู้ 18 ปี ศึกษาจบระดับปริญตรี 4 ปี ระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี และผ่อนชำระ 15 ปี รวมเป็น 21 ปี จะมีอายุ 39 ปี ลักษณะนี้จะอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถขอกู้ได้
  • มีการทำประโยชน์เพื่อสาธารณะ เช่น ทำงานจิตอาสาช่วยเหลือสังคม

2. ศึกษาในวิชาที่เป็นความต้องการหลักของประเทศ 

  • ไม่จำกัดรายได้ของครอบครัว (แต่ถ้าต้องการกู้ยืมเงินค่าครองชีพด้วย รายได้ของครอบครัวต้องไม่เกิน 360,000 ต่อปี)  
  • ระดับการศึกษา เช่น ปวช. ปวท.ปวส. ปริญญาตรี   
  • อายุขณะยื่นคำขอกู้ต้องไม่เกิน 30 ปีในปีการศึกษาที่ยื่นคำขอกู้
  • รายได้ครอบครัวต่อปีไม่เกิน 360,000 บาท 
  • สามารถกู้ยืมค่าครองชีพได้
  • อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 0.75% ต่อปี 
  • ศึกษาอยู่ในระดับ ปวช. ปวท./ปวส. และอนุปริญญา/ปริญญาตรี 
  • กำหนดชำระเงินคืนภายใน 15 ปี ปลอดหนี้ 2 ปี ภายหลังสำเร็จการศึกษา อัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี

4. เรียนดีเพื่อสร้างความเป็นเลิศ (ตั้งแต่ระดับปริญญาโทขึ้นไป)

  • รายได้ครอบครัวต่อปีไม่เกิน 360,000 บาท
  • ต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 
  • กำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรบันฑิต หรือระดับปริญญาโท 
  • ศึกษาเพื่อการวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาประเทศไทย 
  • ชำระเงินคืนภายใน 10 ปี (ปลอดหนี้ 1 ปี ภายหลังสำเร็จการศึกษา) 
  • อัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี 
  • กู้ยืมค่าครองชีพได้ และ ได้รับอัตราดอกเบี้ยค่าครองชีพพิเศษ 0.50% ต่อปี

ถ้าจะกู้ มีขั้นตอนการกู้ยืม ยังไง ?

ขั้นตอนการกู้ ไม่ยากสามารถทำตามขั้นตอนนี้ได้เลย

  1. ผู้กู้ยืมลงทะเบียนรับรหัสผ่าน ที่เว็บไซต์https://www.studentloan.or.th/
  2. ผู้กู้ยืมรายใหม่และรายเก่ายื่นแบบคำขอกู้ยืม ต้องยื่นใบคำขอกู้ยืมภายในเวลาที่กองทุนกำหนด
  3. สถานศึกษาตรวจสอบคุณสมบัติ สัมภาษณ์ คัดเลือก ส่งวงเงินกู้ยืม และประกาศผู้มีสิทธิในระบบ e-Studentloan
  4. ผู้กู้ยืมทำสัญญากู้ยืมเงิน ผู้กู้ยืมรายใหม่หรือรายเก่าที่เปลี่ยนระดับหรือเปลี่ยนสถานศึกษา ต้องบันทึกและพิมพ์สัญญากู้ยืมเงินในระบบ e-Studentloan และส่งสัญญาพร้อมเอกสารประกอบที่ได้ลงนามแล้วให้สถานศึกษาตรวจสอบความถูกต้อง

อ่านรายละเอียดขั้นตอนการขอกู้ยืมเพิ่มเติมได้ที่นี่

 

การชำระหนี้และดอกเบี้ย กยศ. เป็นอย่างไร?

การชำระหนี้ทั้งหมดจะเกิดขึ้นหลังจากเรียนจบแล้ว หรือเลิกศึกษาแล้ว 2 ปี โดยมีระยะเวลาการชำระยาวถึงเวลา 15 ปี โดยมีอัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี

เปรียบเทียบกองทุนกู้เรียน กยศ. vs กรอ.?

ความแตกต่างระหว่าง กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. และ กองทุนการศึกษาเพื่ออนาคต หรือ กรอ. แบ่งออกเป็น ดังนี้

รายการ
กองทุน กยศ.
กองทุน กรอ.
ผู้ที่สามารถกู้ยืมได้ - รายได้ทั้งครอบครัวไม่เกิน 360,000 บาท/ปี
- อายุขณะขอกู้นับรวมระยะปลอดหนี้ (หลังเรียนจบ 2 ปี) และผ่อนชำระอีก 15 ปีต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี
- ไม่จำกัดรายได้ครอบครัว
- อายุไม่เกิน 30 ปี
ประเภทของการกู้ยืม - ค่าเล่าเรียน
- ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา
- ค่าครองชีพ 2,400 บาทต่อเดือน (หากอยู่ในระดับชั้น ม.ปลายจะได้รับ 1,200 บาทต่อเดือน)
-ค่าเล่าเรียน
- ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา
- ค่าครองชีพ 2,200 บาทต่อเดือน (เฉพาะผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์มีรายได้ครอบครัวต่ำกว่า 200,000 บาท)
ระดับการศึกษา - ม.ปลาย ปวช.
- ปวส. และระดับอนุปริญญา/ปริญญาตรี สามารถกู้ได้ทุกสาขาวิชา
- ปวส.กู้ยืมได้ทุกสาขาวิชา
- อนุปริญญา/ปริญญาตรี กู้ยืมได้เฉพาะสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลักของประเทศ
การชำระหนี้ หลังเรียนจบ 2 ปี และต้องชำระให้หมดภายใน 15 ปี เริ่มชำระหนี้เมื่อเริ่มทำงานและมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่สามารถผ่อนชำระได้
อัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี 1% ต่อปี

ในแต่ละปี ประเทศไทยมีปัญหาเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษาและถูกละเลย การมีกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. เข้ามาเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ทำให้นักเรียน นักศึกษามีโอกาสได้เรียนต่อ แต่เมื่อเรียนจบแล้วต้องจ่ายเงินกู้ยืมเพื่อให้น้อง ๆ รุ่นหลังได้มีโอกาสทางการศึกษา และไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีเงินเรียนต่ออีกต่อไป

Link ที่เกี่ยวข้อง

ประกันสังคม

ระบบตรวจสอบการกู้ยืมเพื่อการศึกษา

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า