เช็คหนี้กยศ

ผิดนัดชำระหนี้ กยศ.​ ไม่เสียประวัติ รัฐช่วยไกล่เกลี่ย

ลูกหนี้ กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ “กยศ.” ทุกคนต้องไม่ลืมว่า วันที่ 5 กรกฎาคม ของทุกปี คือวันครบกำหนดชำระหนี้คืน หากไม่ชำระหนี้ กยศ. คืนตามเวลาและจำนวนเงินที่กำหนด หรือ เบี้ยวหนี้ นั้นจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ทั้งลูกหนี้ และผู้ค้ำประกัน แล้วรัฐมีทางที่จะเข้ามาช่วยเราได้บ้างมั้ยนะ

Link ที่เกี่ยวข้อง

กยศ.

ค้างชำระหนี้หลายงวด ไม่ต้องเบี้ยว รัฐช่วยไกลเกลี่ย

การชำระหนี้ครบตามเวลาที่ กยศ. กำหนด นอกจากจะช่วยให้รุ่นน้องได้รับโอกาสทางการศึกษาแล้ว ยังทำให้ลูกหนี้ที่ชำระเงินคืนมีประวัติการชำระหนี้ที่ดีด้วย เพราะฉะนั้น ทุกวันที่ 5 ก.ค. ของทุกปี คือ วันครบกำหนดชำระหนี้คืนของ “กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา” หรือ “กยศ.”

หากใครยังไม่ได้ชำระหนี้และค้างมาหลายงวด “ไม่ต้องเบี้ยว” เพราะกยศ. มีมาตรการช่วยผ่อนชำระหนี้ได้

ผิดนัดชำระหนี้ โดนค่าปรับเท่าไหร่

ตามปกติ กองทุนจะมีหนังสือแจ้งภาระหนี้ ส่งไปถึงผู้กู้ยืม 1 ครั้ง ก่อนถึงวันครบกำหนดชำระหนี้งวดแรก โดยจะส่งไปยังที่อยู่เดิมตามภูมิลำเนาของผู้กู้ยืม หรือ ตามที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน

หากผู้กู้ยืมเงินผิดนัดชำระหนี้ จะต้องชำระค่าปรับ หรือ ค่าธรรมเนียมจัดการการผิดนัดชำระหนี้ ตามอัตราที่กองทุนกำหนด โดยค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระเงินกู้ยืมคืน จากเดิมเบี้ยปรับอยู่ที่ 12-18% เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 มีการปรับลดลงอยู่ที่ 7.5% ต่อปี (โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 62)

ผิดนัดชำระหนี้กยศ

ขั้นตอน “ไกล่เกลี่ย” ลดเบี้ยปรับ

สำหรับผู้กู้ยืมกลุ่มที่ค้างชำระหนี้และกำลังจะถูกฟ้อง และผู้กู้ยืมกลุ่มที่จะถูกบังคับคดี ไม่ต้องกังวล เพราะรัฐมีักระบวนการไกล่เกลี่ย ช่วยให้ไม่ต้องถูกดำเนินคดี และยังมีส่วนลดเบี้ยปรับ รวมทั้งได้รับโอกาสในการขยายระยะเวลาผ่อนชำระได้ถึงอายุ 65 ปี เพื่อให้ผู้กู้ยืมกลับเข้ามาสู่ระบบการชำระหนี้ให้ตามปกติ

เพราะฉะนั้น ผู้กู้ กยศ. ที่ไม่สามารถผ่อนชำระได้ตามเงื่อนไขปกติ แต่ไม่ต้องอยากให้เสียประวัติ และไม่ต้องถูกดำเนินคดี จึงควรเข้าสู่ขั้นตอนการไกล่เกลี่ย เพราะจะช่วยลดค่าปรับและปรับโครงสร้างหนี้ผ่อนชำระให้นานขึ้น โดยไม่เป็นภาระให้กับผู้ค้ำประกัน แล้วยังช่วยให้ผู้กู้รุ่นหลังมีโอกาสกู้เงินเรียนได้ต่อไป

ผู้กู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนรับสิทธิขอไกล่เกลี่ยฯ ได้ทางเว็บไซต์ กยศ.หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก กยศ. ที่บัญชีไลน์ หรือโทร 0 2-016-4888 ก็ได้เช่นกัน

TIP BOX: คนค้ำไม่ต้องกลุ้ม ถ้าคนกู้ไม่จ่ายหนี้

ผู้ค้ำประกันเงินกู้ที่ต้องรับผิดชอบหนี้แทน ขณะนี้กำลังมีการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยแก้ไขให้กองทุนมีอำนาจในการปลดภาระผู้ค้ำประกัน หรือยกเลิกการค้ำประกันของผู้ค้ำประกัน เมื่อผู้กู้ยืมได้ผ่อนชำระเงินต้นมาแล้ว 25% ของเงินต้นที่ค้างชำระ

ไม่ไหว ไม่ต้องปวดหัว ขอผ่อนผันชำระหนี้ได้

ผู้กู้ กยศ. ที่ผ่อนไม่ไหว ไม่ต้องปวดหัวอีกต่อไป เพราะ กยศ. ได้ปรับมาตรการช่วยผ่อนผันชำระหนี้ให้นานขึ้น ด้วยการจ่ายหนี้รายเดือน ไม่ต้องจ่ายรายปี โดยมีมาตรการผ่อนผัน ดังนี้

    1. ปรับโครงสร้างหนี้ผ่อนนานสูงสุด 30 ปี ผู้กู้จะต้องมีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ ในการชำระเงินงวดสุดท้ายและจะมีการปรับลดดอกเบี้ยในการชำระเงินงวดสุดท้าย ให้กับผู้กู้ที่ยังไม่ถูกฟ้องดำเนินคดี แต่ถ้าไม่สามารถผ่อนชำระเงินคืนได้ตามสัญญา ผู้กู้สามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ได้ที่ทางแอปฯ กยศ. Connect หรือทางเว็บไซต์กยศ.
    2. ปรับเปลี่ยนลำดับตัดชำระหนี้ ผู้กู้ที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระเงินคืนและยังไม่ถูกฟ้อง จากเดิมที่ใช้วิธีการตัดเบี้ยปรับ ดอกเบี้ย และเงินต้น กองทุนจะปรับเปลี่ยนลำดับการตัดชำระหนี้ใหม่ โดยจะนำเงินที่ได้รับชำระไปตัดเงินต้น ดอกเบี้ย และเบี้ยปรับแทน
    3. ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการผ่อนชำระเงินคืน สำหรับผู้กู้ยืมรายใหม่ และผู้กู้ยืมที่อยู่ในระยะปลอดหนี้ ซึ่งยังไม่ครบกำหนดชำระหนี้ จากเดิมที่ผ่อนชำระเป็นรายปี กองทุนจะปรับให้ผ่อนชำระเป็นรายเดือนในอัตราเท่ากันทุกเดือน และเพิ่มระยะเวลาการผ่อนชำระจากเดิมไม่เกิน 15 ปี เป็นไม่เกิน 30 ปี ขึ้นอยู่กับยอดหนี้ของผู้กู้ยืมแต่ละราย ทั้งนี้ในการชำระเงินงวดสุดท้ายผู้กู้ยืมจะต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์

ลูกหนี้ กยศ. ทำอย่างไรไม่ให้ถูกฟ้องดำเนินคดี

มาทำความเข้าใจเงื่อนไขกันก่อนจะถูกฟ้องดำเนินคดี หากผู้กู้ผิดนัดชำระ ไม่ชำระคืนเป็นเวลานาน นอกจากจะต้องจ่ายค่าปรับ และเสียค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังจะถูกฟ้องดำเนินคดีด้วย โดยเกณฑ์ที่ถูกฟ้องร้อง มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

กรณีที่ 1 – ผู้กู้ยืม กยศ. ค้างชำระหนี้เกินกว่า 4 ปี 5 งวด (1,460 วันขึ้นไป)
กรณีที่ 2 – ผู้กู้ยืม กยศ. พ้นระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้แล้ว แต่ยังมีหนี้ค้างชำระ
กรณีที่ 3 – ผู้กู้ยืม กยศ. กลุ่มไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดี (มีหนี้ค้างชำระ)

ถ้าถูกฟ้องดำเนินคดี จะต้องทำอย่างไร

แนวปฏิบัติสำหรับผู้กู้ กยศ. ที่ถูกดำเนินคดี มีอยู่ด้วยกัน 2 กรณี คือ

ผู้กู้ยืมต้องการถอนฟ้อง

ผู้กู้ยืมต้องชำระหนี้ปิดบัญชี พร้อมจ่ายค่าทนาย และส่งหลักฐานการชำระหนี้ปิดบัญชีให้กับกองทุนฯ เพื่อพิจารณาถอนฟ้อง

กรณีผู้กู้ยืมถูกดำเนินคดี ไม่ขอให้ถอนฟ้อง

ผู้กู้ยืมไม่สามารถชำระหนี้เพื่อถอนฟ้องได้

ทางออกของผู้กู้และผู้ค้ำประกันเงินกู้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ มี 2 วิธี คือ

  1. เจรจาไกล่เกลี่ยยอมความในชั้นศาล
    ผู้กู้และผู้ค้ำประกัน ต้องไปตามหมายนัดของศาล เพื่อขอผ่อนชำระหนี้รายเดือนให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาไม่เกิน 9-15 ปี แต่ถ้าคนใดคนหนึ่งไม่สามารถไปตามนัดหมายได้ ต้องทำหนังสือมอบอำนาจให้คนอื่นที่บรรลุนิติภาวะไปทำแทน
  2. ผู้กู้และผู้ค้ำประกัน ไม่ไปตามหมายนัด
    ในกรณีที่ผู้กู้และผู้ค้ำผิดนัด ศาลจะสั่งพิพากษาชำระหนี้ทั้งจำนวน โดยจะส่งคำบังคับคดีให้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน หลังจากได้รับคำสั่งศาล
กรณีผู้กู้ยืมถูกดำเนินคดี ไม่ขอให้ถอนฟ้อง

ลูกหนี้ กยศ. ที่ถูกอายัดทรัพย์ จะต้องทำอย่างไร

หลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว ผู้กู้และผู้ค้ำประกันที่ศาลมีคำพิพากษาให้ชำระหนี้ หรือชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จะต้องชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่ทำตามคำสั่ง กองทุนฯ จะเข้ามาทำการสืบทรัพย์ และบังคับคดีกับทรัพย์ของผู้กู้ยืมหรือผู้ค้ำประกัน เพื่อนำไปขายทอดตลาด นำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาต่อไป

 

ลูกหนี้ที่ถูกอายัดทรัพย์ มีข้อปฏิบัติ ดังนี้

1. ชำระหนี้ปิดบัญชี

ลูกหนี้สามารถชำระหนี้ทันที หรือชำระหนี้หลังจากถูกยึดทรัพย์/อายัดทรัพย์ แล้วส่งหลักฐานการชำระหนี้ให้กับกองทุนฯ เพื่อแจ้งให้สำนักงานทนายความที่ได้รับมอบหมายระงับการดำเนินคดี ในกรณีนี้อาจมีการจ่ายค่าธรรมเนียม หรือค่าทนายความ

การชำระหนี้ปิดบัญชีหลังจากถูกยึดทรัพย์/อายัดทรัพย์ ผู้กู้ต้องติดต่อสำนักงานทนายความที่ได้รับมอบหมาย เพื่อนัดวันถอนการยึดทรัพย์และบังคับคดี โดยผู้กู้ยืมหรือผู้ค้ำประกัน จะต้องเป็นฝ่ายชำระค่าธรรมเนียมถอน หรือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่สำนักงานบังคับคดีเรียกเก็บทั้งหมด

2. ไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดี

หากผู้กู้ยืมหรือผู้ค้ำประกันไม่สามารถชำระหนี้ปิดบัญชี ค่าฤชาธรรมเนียม ค่าทนายความได้ และกองทุนฯ ได้ทำการยึดทรัพย์ไว้แล้ว ผู้กู้ยืมหรือผู้ค้ำประกันสามารถยื่นเรื่องขอไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดี เพื่อผ่อนชำระหนี้ และชะลอการขายทรัพย์ทอดตลาดไว้ชั่วคราวได้ โดยมีขั้นตอน ดังนี้

  1. ติดต่อสำนักงานกองทุนฯ หรือสำนักงานทนายความผู้ได้รับมอบหมายจากกองทุนฯ เพื่อทำบันทึกข้อตกลงไกล่เกลี่ยในชั้นบังคับคดี
  2. ยื่นคำแถลงของดการบังคับคดีไว้เป็นการชั่วคราว เพื่อชะลอการขายทอดตลาด ที่สำนักงานบังคับคดี ซึ่งจะต้องมีคำสั่งอนุญาตจากเจ้าพนักงานบังคับคดีด้วย
  3. ผ่อนชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงไกล่เกลี่ย ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด
  4. เมื่อชำระหนี้ปิดบัญชี และชำระค่าธรรมเนียมแล้ว จะต้องส่งหลักฐานการชำระหนี้ดังกล่าวให้กับกองทุนฯ เพื่อระงับการดำเนินการบังคับคดี
  5. นัดวันถอนการยึดทรัพย์ โดยติดต่อสำนักงานทนายความผู้ได้รับมอบหมาย เพื่อนัดวันไปถอนการยึดทรัพย์ ถอนการบังคับคดี ที่สำนักงานบังคับคดี

ลูกหนี้ กยศ. ที่ผิดนัดชำระหนี้ จ่ายไม่ตรงเวลา หรือ เบี้ยวชำระหนี้ ไม่ต้องหนี ไม่ต้องกลัวถูกอายัดทรัพย์ เพราะ กยศ. มีมาตรการช่วยปรับโครงสร้างหนี้ ผ่อนผันการชำระหนีืไม่ต้องเสียประวัติการชำระเงิน ทำให้ไม่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีจนนำไปสู่การยึดทรัพย์ แล้วยังส่งผลให้มีเงินหมุนเวียนในกองทุนที่จะทำให้ผู้กู้รุ่นหลังมีโอกาสในการกู้ยืมเพื่อการศึกษาได้ต่อไปอีกด้วย

Link ที่เกี่ยวข้อง

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า