เช็คกรมธรรม์

ไม่สบาย หายห่วง ประกันสังคมมีเงินทดแทนการขาดรายได้

รู้หรือไม่ หากสมทบประกันสังคมไว้ แล้วต้องลางานไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล ไม่ต้องกังวลว่ารายได้จะหายไป เพราะประกันสังคมมีเงินทดแทนการขาดรายได้ให้ ผู้ประกันตนมาตราไหนจะได้รับสิทธิอะไรบ้าง มีเงื่อนไขอย่างไร มาอ่านทำความเข้าใจเพื่อรักษาสิทธิ์ของตนเองกัน

Link ที่เกี่ยวข้อง

เงินทดแทนการขาดรายได้ คืออะไร?

เงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นเงินที่สํานักงานประกันสังคมจ่ายให้กับผู้ประกันตนทุกมาตรา กรณีที่ต้องหยุดพักทำงานเพื่อรักษาตัวตามคำสั่งของแพทย์ โดยทั่วไปผู้ประกันตนสามารถหยุดพักได้ครั้งละไม่เกิน 90 วัน และไม่เกิน 180 วันต่อปี เว้นแต่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังจะได้รับเงินทดแทนสูงสุด 365 วันต่อปี ซึ่งในปัจจุบันกําหนดไว้ทั้งหมด 6 โรค คือ

  • โรงมะเร็ง
  • โรคไตวายเรื้อรัง
  • โรคเอดส์
  • อัมพาตที่มีที่มาจากอาการบาดเจ็บของสมอง เส้นเลือดสมองหรือกระดูกสันหลัง
  • ความผิดปกติของกระดูกหักที่มีภาวะแทรกซ้อน
  • โรคหรือการเจ็บป่วยอื่น ๆ ที่ต้องรักษาตัวนานติดต่อกันเกิน 180 วัน (ระหว่างการรักษา ไม่สามารถทํางานได้)

เปรียบเทียบเงินทดแทนของผู้ประกันตนแต่ละมาตรา

จำนวนเงินทดแทนที่ผู้ประกันตนได้รับ และเงื่อนไขการจะได้รับเงินก็จะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละมาตรา เพื่อให้เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น สามารถศึกษารายละเอียดได้จากตารางต่อไปนี้

มาตรา 33

จำนวนเงินทดแทนที่ได้

กรณีลาป่วย รับค่าจ้าง 30 วันแรกจากนายจ้าง และหากหยุดรักษาตัวเกิน 30 วัน สามารถเบิกกรณีขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคม ตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วย 

โดยจะได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ครั้งละไม่เกิน 90 วัน สูงสุดไม่เกินปีละ 180 วัน ยกเว้นโรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน

เงื่อนไข

ส่งเงินสมทบมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันที่เจ็บป่วย

มาตรา 39

จำนวนเงินทดแทนที่ได้

รับเงินทดแทนขาดรายได้ 50% โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบที่ 4,800 บาท ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นโรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน

เงื่อนไข

ส่งเงินสมทบมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันที่เจ็บป่วย

มาตรา 40

จำนวนเงินทดแทนที่ได้

รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตามทางเลือก 1-2-3  โดยมีรายละเอียดดังนี้
 ทางเลือกที่ 1

ทางเลือกที่ 2
ทางเลือกที่ 3

ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป300 บาท/วัน300 บาท/วัน300 บาท/วัน
ผู้ป่วยนอก แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป200 บาท/วัน200 บาท/วัน200 บาท/วัน
ผู้ป่วยนอก ที่ไปพบแพทย์ และมีใบรับรองแพทย์มาแสดง50 บาท
(ไม่เกิน 3 ครั้ง/ปี)
50 บาท
(ไม่เกิน 3 ครั้ง/ปี)
ระยะเวลารับเงินฯ สูงสุด30 วัน30 วัน90 วัน

เงื่อนไข

ส่งเงินสมทบมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนวันที่เจ็บป่วย

ผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์การจ่ายผลประโยชน์ทดแทนได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง

เอกสารในการรับเงินทดแทนการขาดรายได้

ในการขอรับเงินทดแทน ผู้ประกันตนแต่ละมาตราต้องใช้เอกสารประกอบการยื่นคำขอรับสิทธิประโยชน์แตกต่างกัน เพื่อที่จะได้ทำเรื่องครบ จบ ในรอบเดียว ผู้ประกันตนสามารถเช็กเอกสารที่ต้องเตรียมให้พร้อม ก่อนจะไปยื่นเรื่องที่สำนักงานประกันสังคม ได้ตามตารางนี้

มาตรา 33

เอกสารที่ใช้

  1.  แบบคำขอประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01) ดาวน์โหลดได้ ที่นี่
  2. บัตรประจำตัวประชาชน
  3. สำเนาบัตรประกันสังคม (ต่างชาติ/ต่างด้าว)
  4. สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ (ต่างชาติ/ต่างด้าว)
  5. ใบรับรองแพทย์ตัวจริงที่ระบุวันหยุดงาน
  6. หนังสือรับรองของนายจ้าง ดาวน์โหลดได้ ที่นี่
  7. สถิติวันลาป่วยที่เกี่ยวข้อง 
  8. กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล
  9. สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก  ที่มีชื่อและและเลขที่บัญชี   เช็กธนาคารที่เข้าร่วมได้ ที่นี่

มาตรา 39

เอกสารที่ใช้

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01) ดาวน์โหลดได้ ที่นี่
  2. บัตรประจำตัวประชาชน
  3. สำเนาบัตรประกันสังคม (เฉพาะต่างชาติ/ต่างด้าว)
  4. สำเนาหนังสือเดินทาง(Passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ (เฉพาะต่างชาติ/ต่างด้าว)
  5. ใบรับรองแพทย์ตัวจริง ที่ระบุวันหยุดงาน
  6. กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย
  7. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี เช็กธนาคารที่เข้าร่วมได้ ที่นี่

มาตรา 40

เอกสารที่ใช้

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนผู้ประกันตนมาตรา 40 สปส. 2-01/ม.40) ดาวน์โหลดได้ ที่นี่
  2. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง พร้อมสำเนา
  3. ใบรับรองแพทย์ตัวจริง หรือ สำเนาเวชระเบียน (ต้องให้เจ้าหน้าที่เวชระเบียนเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมประทับตราสถานพยาบาล)
  4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี เช็กธนาคารที่เข้าร่วมได้ ที่นี่

ขั้นตอนการยื่นขอเงินทดแทนการขาดรายได้

การยื่นขอเงินทดแทนการขาดรายได้มีเพียงไม่กี่ขั้นตอน ทั้งง่ายดายและไม่ซับซ้อน โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. เตรียมเอกสารที่กำหนดไว้ตามแต่ละมาตราให้พร้อม
  2. ตรวจสอบเอกสารให้ถูกต้อง ครบถ้วน
  3. ยื่นเอกสารได้ 2 แบบ คือ
    • ไปยื่นด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมสาขาที่สะดวกได้ทั้งกรุงเทพ และต่างจังหวัด ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข สามารถตรวจสอบจุดบริการได้ที่นี่
    • ส่งไปรษณีย์ไปยังสำนักงานประกันสังคม
  4. รับเงินผ่านช่องทางต่างๆเช่น
      • รับเงินด้วยตนเอง/หรือมอบอำนาจรับเงินแทน
      • รับเงินทางธนาณัติ
      • รับเงินผ่านธนาคาร สามารถเช็กธนาคารที่เข้าร่วมได้ที่นี่

     

การมีประกันสังคมไว้ เป็นอีกหนึ่งหลักประกันที่ช่วยคลายความกังวลหากเกิดเจ็บป่วยขึ้น เพราะนอกจากจะได้รับการรักษาฟรีตามสิทธิแล้ว ยังได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้เอาไปใช้ยามจำเป็นอีก หากผู้ประกันตนมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงินทดแทนการขาดรายได้ สามารถโทรสอบถามได้ที่สายด่วน 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรืออ่านเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม

 

Link ที่เกี่ยวข้อง

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า