งานผู้สูงอายุ

“ผู้สูงอายุ” ยังมีไฟอยากทำงาน สมัครได้ที่ไหนบ้าง

ประเทศไทยเข้าสู่สังคมประชากรสูงวัยแบบสมบูรณ์ ตั้งแต่ ปี 2564 โดยมีผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี มีจำนวนมากกว่า 20% ของจำนวนประชากรทั้งหมด สำหรับวัยเก๋าที่เกษียณแล้วแต่ยังมีใจรัก และมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่อยากอยู่บ้านเปล่า ๆ อยากสมัครงานหารายได้พิเศษ บทความนี้มีบอกวิธีการง่ายๆ ที่ทำตามได้เลยมาบอก

Link ที่เกี่ยวข้อง

ทางรัฐ_Logo

เกษียณแล้ว ยังทำงานได้

ผู้สูงอายุที่ยังอยากทำงาน แต่เข้าสู่วัยเกษียณอายุแล้ว กฎหมายถือว่ายังสามารถทำงานได้อยู่ โดยสามารถเข้ามาลงทะเบียนแจ้งความต้องการทำงานได้ที่ กรมจัดหางาน โดยดูงานที่เปิดสำหรับผู้สูงอายุได้ผ่าน ระบบของกรมการจัดหางาน ไทยมีงานทำโดยกรมจัดหางานจะสำรวจความต้องการของแหล่งงาน และตรวจสอบความต้องการทำงานของผู้สูงอายุที่ขึ้นทะเบียนเพื่อให้ได้งานที่เหมาะสม

ผู้สูงอายุทำงานมีกฏหมายคุ้มครองหรือไม่

ผู้สูงอายุ ที่เริ่มต้นทำงานหลังเกษียณ ไม่ต้องกลัวว่ากฏหมายจะไม่คุ้มครอง เพราะพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 คุ้มครองการทำงานของผู้สูงอายุ 3 ประการ ดังนี้

  1. ชั่วโมงทำงาน กฎหมายได้กำหนดชั่วโมงทำงานสำหรับลูกจ้างทั่วไปทุกประเภทไว้ 8 ชั่วโมง แต่ผู้สูงอายุซึ่งมีสุขภาพไม่เท่าเทียมกับลูกจ้างวัยทำงานอื่น ต้องกำหนดชั่วโมงทำงานให้ลดลงกว่าแรงงานวัยทำงานทั่วไป
  2. ประเภทของงาน ลูกจ้างวัยทำงานทั่วไปสามารถทำงานได้ทุกประเภทที่ไม่มีกฎหมายกำหนดห้าม ดังนั้นลูกจ้างสูงอายุที่มีความต้องการจะทำงานต่อไปก็สามารถทำงานได้ทุกประเภทงานเท่าที่เขาสามารถทำได้ เช่นกัน แต่ทั้งหมดต้องเป็นไปตามข้อตกลงที่พึงพอใจระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ภายใต้เงื่อนไ-คุณสมบัติ สุขภาพและความสามารถของลูกจ้าง
  3. ค่าตอบแทนสำหรับผู้สูงอายุ มีประกาศค่าจ้างขั้นต่ำกำหนดให้เป็นมาตรฐานสำหรับลูกจ้างทั่วไป แต่ลูกจ้างสูงอายุมีความเชี่ยวชาญมากกว่าลูกจ้างทั่วไป แต่มีข้อจำกัดทางสุขภาพ จึงต้องกำหนดค่าจ้างสำหรับแรงงานสูงอายุมากกว่าลูกจ้างทั่วไป เพื่อให้ผู้สูงอายุมีโอกาสได้ทำงานหลังเกษียณ ได้
  4. ผู้สูงอายุกลับมาทำงานใหม่ มีสิทธิเริ่มสะสมบำเหน็จ-บำนาญได้ใหม่ แม้ว่าผู้สูงอายุจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพหลังจากเกษียณอายุทำงานไปแล้ว แต่เมื่อเริ่มทำงานใหม่อีกครั้ง ก็มีสิทธิ์เริ่มต้นส่งเงินสมทบประกันสังคมใหม่ และจะได้รับเงินบำเหน็จบำนาญชราภาพจากการสะสมครั้งใหม่เมื่อมีการลาออกจากงาน

ผู้สูงอายุ อยากทำงาน ต้องทำอย่างไร

ผู้สูงอายุที่ยังต้องการทำงาน ยังมีอีกหลายช่องทางให้เลือก ดังนี้

ผู้สูงอายุ หางานทำ

1. ผู้สูงอายุที่ยังไม่รู้ว่าจะทำงานอะไร หรือสมัครงานที่ไหน สามารถไปลงทะเบียน ได้ที่

  • ศูนย์บริการจัดหางานเพื่อคนไทย Smartjob Center กรุงเทพมหานคร โดยลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ Smartjob
  • ลงทะเบียนได้ด้วยตัวเองผ่านจุดบริการ สำนักงานจัดหางานกรุงเทมหานคร พื้นที่ 1-10 ดังนี้
    • พื้นที่ 1 – เขตดุสิต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพระนคร เขตสัมพันธวงศ์ เบอร์ติดต่อ 02-223-2684-5
    • พื้นที่ 2 – เขตจตุจักร เขตดอนเมือง เขตบางซื่อ เขตบางเขน เขตหลักสี่ เบอร์ติดต่อ 02-910-1183-4
    • พื้นที่ 3 – เขตดินแดง เขตพญาไท เขตราชเทวี เขตห้วยขวาง เบอร์ติดต่อ 02-617-6566-70
    • พื้นที่ 4 – เขตบางรัก เขตปทุมวัน เขตยานนาวา เขตสาทร เขตบางคอแหลม เบอร์ติดต่อ 02-211-7558, 02-211-7607
    • พื้นที่ 5 – เขตคลองสาน เขตธนบุรี เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ เขตบางพลัด เบอร์ติดต่อ 02-437-5147 ,02-437-5855
    • พื้นที่ 6 – เขตตลิ่งชัน เขตทวีวัฒนา เขตบางแค เขตภาษีเจริญ เขตหนองแขม เบอร์ติดต่อ 02-422-3915-17
    • พื้นที่ 7 – เขตจอมทอง เขตทุ่งครุ เขตบางขุนเทียน เขตบางบอน เขตราษฎร์บูรณะ เบอร์ติดต่อ 02-427-4113 ,02-427-5432
    • พื้นที่ 8 – เขตคลองเตย เขตบางนา เขตประเวศ เขตพระโขนง เขตวัฒนา เขตสวนหลวง เบอร์ติดต่อ 02-398-7019 ,02-398-7447
    • พื้นที่ 9 – เขตคันนายาว เขตบางกะปิ เขตลาดพร้าว เขตวังทองหลาง เขตบึงกุ่ม เบอร์ติดต่อ 02-510-3602 ,02-509-7945
    • พื้นที่ 10 – เขตคลองสามวา เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง เขตสะพานสูง เขตหนองจอก เขตสายไหม เบอร์ติดต่อ 02-540-7005-7008
  • ตู้งาน (Job Box)
  • สายด่วน 1506

2. สมัครได้ที่ สถานประกอบการที่ เปิดรับผู้สูงอายุเข้าทำงาน ดังต่อไปนี้

บิ๊กซี (โครงการพี่ใหญ่ไฟแรง)

  • คุณสมบัติผู้สมัคร ชาย/หญิง อายุ 60 ปีขึ้นไป
  • สุขภาพแข็งแรงมุ่งมั่นในการทำงาน
  • มีใจรักงานบริการ
  • สามารถทำงานเป็นกะได้
  • สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 02-655-0666

โลตัส (โครงการ 60 ยังแจ๋ว)

  • คุณสมบัติผู้สมัคร ชาย/หญิง อายุ 60 ปีขึ้นไป
  • สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 02-797-9000

ซีเอ็ด (โครงการ 60 ปีมีไฟ)

  • คุณสมบัติผู้สมัคร ชาย/หญิง อายุ 50 ปีขึ้นไป
  • วุฒิการศึกษา ม.3 ขึ้นไป
  • มีใจรักงานบริการ ชอบทำงานร้านหนังสือ
  • สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 02-739-8555 ต่อ 8641 หรือ 08-6325-3354

3. โครงการวิสาหกิจชุมชน ต่อยอดให้มีการจ้างงานผู้สูงอายุ
กรมกิจการผู้สูงอายุ มีโครงการส่งเสริมการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน และต่อยอดให้วิสาหกิจชุมชนเดิม ให้มีการจ้างงานผู้สูงอายุ การผลักดันการมีรายได้และมีงานทำของผู้สูงอายุในหน่วยงานอื่น ทั้งในชุมชนและนอกชุมชน การส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน (Care giver) หน่วยงานรับผิดชอบ

Tips: หากผู้สูงอายุ ต้องการประกอบอาชีพอิสระ ยังไม่มีเงินทุนกู้ยืมได้ไหม

ผู้สูงอายุ สามารถยืมเงินทุนประกอบอาชีพของกองทุนผู้สูงอายุ จากกรมกิจการผู้สูงอายุ
มี 2 ประเภท

  1. การกู้ยืมรายบุคคล รายละไม่เกิน 30,000 บาท
  2. การกู้ยืมรายกลุ่ม ผู้สูงอายุกลุ่มละไม่น้อยกว่า 5 คน กลุ่มละไม่เกิน 100,000 บาท

โดยการกู้ยืมเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพสำหรับผู้สูงอายุทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ต้องชำระเงินคืนเป็นรายงวดทุกเดือน ระยะเวลา 3 ปี โดยไม่มีการคิดดอกเบี้ย
ติดต่อ: กลุ่มกองทุนผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุที่สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์: 0 2354 6100
ส่วนภูมิภาค: ติดต่อที่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดทุกจังหวัด

งานแบบไหนที่เหมาะกับสูงอายุ

ลักษณะงานที่เหมาะสมและควรส่งเสริมผู้สูงอายุทำงาน ดังต่อไปนี้

  1. ทำงานที่ไม่ต้องเดินทางลำบาก ทำงานจากบ้านได้ เช่น ปลูกต้นไม้ขาย ทำอาหารหรือขนมขาย หรืองานฝีมือ
  2. สภาพแวดล้อมการทำงานมีความปลอดภัย ผู้สูงอายุอาจไม่เหมาะกับการทำงานที่เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เช่น ทำงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงลื่นล้ม หรือใกล้สถานที่ก่อสร้าง
  3. ต้องไม่ยกของหนัก อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง หรือมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอุบัติเหตุ
  4. ได้ทำในสิ่งที่รักและสนใจ เพราะหลายคนอาจมีภาระหน้าที่ที่ต้องทำงาน ๆ หนึ่งที่อาจจะชอบหรือไม่ชอบมาตลอดหลายสิบปี ดังนั้นเมื่อเกษียณอายุออกมา ถ้ามีโอกาสก็ควรได้เลือกทำในสิ่งที่รักและสนใจจริง ๆ อีกสักครั้ง
  5. สามารถสร้างความภูมิใจให้ตัวเองได้ การทำงานที่สร้างความภูมิใจให้กับตัวเองจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยเติมเต็มความสุขและคุณค่าในตัวเองให้กับตัวเองได้ แม้จะเป็นงานเล็ก น้อยก็สามารถช่วยทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกดีได้
  6. งานที่ได้พบปะผู้คน งานบางงานก็เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้พบปะผู้คนบ้าง ได้พูดคุย สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดคนรุ่นราวคราวเดียวกัน ช่วยคลายเหงา แถมยังเป็นการกระตุ้นให้สมองมีกระบวนการคิดอยู่ตลอดด้วย
  7. มีความเสี่ยงต่ำ ควรเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ ไม่ควรเอาเงินไปกองอยู่ในสินทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะหากขาดทุน อาจต้องสูญเงินที่เก็บมาทั้งชีวิตได้

ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว ผู้ที่เข้าสู่วัยเกษียณอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวนมากที่ยังแข็งแรง และทำงานได้ สามารถสมัครทำงานที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุตามที่กฎหมายกำหนด และจะ ได้รับการคุ้มครองในการทำงานของผู้สูงอายุ ให้มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ถ้ายังมีไฟอยู่ก็ไปต่อกันได้เลย

Link ที่เกี่ยวข้อง

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า