ธุรกิจ ท่องเที่ยว

ขอใบอนุญาตธุรกิจนำเที่ยวง่าย ๆ ผ่าน Biz Portal

การท่องเที่ยวถือเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศไทย ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเปิดประสบการณ์ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวจึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก แต่หลาย ๆ คนอาจงงว่าธุรกิจนำเที่ยวนั้นคืออะไร มีความแตกต่างจากการเป็นมักคุเทศน์หรือไม่ และต้องขอใบอนุญาตผ่านช่องทางไหน บทความนี้จะมาแนะนำวิธีการขอ ใบอนุญาตประเภทนี้ผ่าน Biz Portal ว่าจะขอได้หรือไม่ ต้องทำอย่างไร

Link ที่เกี่ยวข้อง

ประกันสังคม

ใบอนุญาตธุรกิจนำเที่ยว คืออะไร มีกี่ประเภท

ธุรกิจนำเที่ยว คือธุรกิจที่เกี่ยวกับการนำนักท่องเที่ยวไปท่องเที่ยว หรือเดินทางไปทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยจัดให้มีบริการหรือการอำนวยความสะดวก เช่น สถานที่พัก อาหาร หรือสันทนาการอื่น สำหรับใครที่สนใจอยากจะทำธุรกิจนำเที่ยวจะต้องมีใบอนุญาต โดยใบอนุญาตของธุรกิจนี้มี 4 ประเภทด้วยกัน ดังนี้

ประเภทใบอนุญาต:

  1. ธุรกิจนำเที่ยว (บุคคลธรรมดา)
  2. ธุรกิจนำเที่ยว (นิติบุคคล)
  3. ธุรกิจนำเที่ยว ที่มีการดำน้ำและใช้เครื่องช่วยหายใจและอุปกรณ์อื่น (บุคคลธรรมดา)
  4. ธุรกิจนำเที่ยว ที่มีการดำน้ำและใช้เครื่องช่วยหายใจและอุปกรณ์อื่น (นิติบุคคล)

การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวจะไม่เหมือนกับใบอนุญาตมัคคุเทศก์ ไม่สามารถใช้แทนกันได้ ใบอนุญาตธุรกิจนำเที่ยวมีไว้สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเปิดธุรกิจด้านนี้ ส่วนใบอนุญาตมัคคุเทศก์จะออกให้กับผู้ที่ต้องการประกอบอาชีพเป็นไกด์ ต้องผ่านการสอบวัดความรู้ความสามารถ ต้องมีวุฒิการศึกษาทางการท่องเที่ยวและรายวิชาเกี่ยวกับงานมัคคุเทศก์ ทั้งนี้หากผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องการให้บริการครอบคลุมทุกอย่าง สามารถรับสมัครไกด์สำหรับกิจการนำเที่ยวของตนเองได้

ใบอนุญาต สำคัญอย่างไร

ด้วยประเทศไทยมีวัฒนธรรม อาหาร แหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สวยงามที่ดึงดูดทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ ธุรกิจด้านการท่องเที่ยว อย่างการนำเที่ยวจึงเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้หลักให้กับประเทศ และเป็นธุรกิจที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ คนจำนวนมากจึงมีความสนใจจะเริ่มธุรกิจนี้ แต่การที่มีคนสนใจมากนี้เอง บางครั้งอาจส่งผลถึงคุณภาพการให้บริการ และความปลอดภัยต่อนักท่องเที่ยวก็เป็นได้ เช่น อาจไม่ได้รับการนำเที่ยวที่มีมาตรฐาน มีการโกง หรือเหตุการณ์ที่เกิดจากผู้ประกอบการที่ไม่หวังดี พรบ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์จึงเข้ามาช่วยคุ้มครองนักท่องเที่ยวจากผู้ประกอบการกลุ่มนี้ โดยระบุไว้ว่าผู้ประกอบการธุรกิจนำที่ยวจะต้องมีใบอนุญาตที่ถูกต้อง หากทำธุรกิจโดยไม่ได้ขอใบอนุญาต จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ถูกปรับไม่เกิน 500,000 บาท เลยทีเดียว

ขอใบอนุญาตได้ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

เมื่อเห็นว่าใบอนุญาตจำเป็นอย่างไรแล้ว ผู้ประกอบการที่ต้องการขอใบอนุญาตธุรกิจนำเที่ยว สามารถมาเช็กให้ชัวร์ได้ว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนหรือไม่

บุคคลธรรมดา

  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี
  • มีสัญชาติไทย
  • มีภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยูในราชอาณาจักรไทย
  • ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรืออยู่ในระหวางถูกพิทักษ์ทรัพย์
  • ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ/คนไร้ความสามารถ/เสมือนไร้ความสามารถ
  • ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยวหรือใบอนุญาตมัคคุเทศก์
  • ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว
  • ไม่เคยถูกเพิกถอนทะเบียนเป็นผู้นำเที่ยวมาแล้วแต่ยังไม่ถึง 5 ปี นับถึงวันยื่นคําขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว

นิติบุคคล

  • เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อดําเนินกิจการเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
  • ห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย
  • บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด ทุนของบริษัทไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดต้องเป็นของบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย และกรรมการของบริษัทเกินกึ่งหนึ่งต้องเปนผู้มีสัญชาติไทย
  • กรรมการหรือผู้มีอํานาจจัดการแทนนิติบุคคลตองมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม เช่น ไม่อยู่ระหว่างโดนพักใบอนุญาตหรือ โดนเพิกถอนใบอนุญาตมาก่อน

ต้องเตรียมเอกสารอะไรให้พร้อมบ้าง

หากคุณสมบัติผ่านเกณฑ์แล้ว ควรจัดเตรียมเอกสารเหล่านี้ไว้ให้พร้อม เพื่อให้การยื่นขอใบอนุญาตง่าย และรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม โดยรายการเอกสารที่ต้องใช้มีดังต่อไปนี้

ประเภทเอกสารใบอนุญาตนำเที่ยวธรรมดาใบอนุญาตนำเที่ยวนิติบุคคลใบอนุญาตนำเที่ยว มีเครื่องดำน้ำ (บุคคลธรรมดา)ใบอนุญาตนำเที่ยวมีเครื่องดำน้ำ (นิติบุคคล)
เอกสารยืนยันตัวตน
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน (ทร.14)
    - หนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อรอง (แบบ ช.3)
    - หนังสือมอบอำนาจ
  • หนังสือรับรองนิติบุคคล
    รูปถ่ายสำนักงาน (หลัก)
    รูปถ่ายสำนักงาน (สาขา)
    แผนที่ตั้งสำนักงานหลัก
    แผนที่ตั้งของสำนักงานสาขา
    เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นสำนักงานหลัก
    เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นสำนักงานสาขา
    ใบนำส่งหลักประกัน
    (ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวลงลายมือชื่อ)
    กรมธรรม์ประกันภัย/ประกันอุบัติเหตุ

    นอกจากนี้ ยังมีเอกสารเฉพาะของแต่ละใบอนุญาต ดังนี้

    ใบอนุญาตธุรกิจนำเที่ยวประเภทมีเครื่องดำน้ำ (บุคคลธรรมดา)

      • แบบคำขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวประเภทบุคคลธรรมดา (สธก.1)
      • ใบสำคัญรับรองการตรวจเรือ (แบบ ตร.20-1 ก)
      • ใบทะเบียนเรือไทย
      • ใบอนุญาตให้ใช้ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมหรืออุปกรณ์ใด ๆ ของเครื่องวิทยุคมนาคม
      • ใบอนุญาตให้เข้าไปดำเนินกิจการท่องเที่ยวและพักอาศัยในอุทยานแห่งชาติ (อ.ช. 4)
      • ใบรับรองมาตรฐานอุปกรณ์ดำน้ำ
      • ใบรับรองว่ามีพนักงานสามารถดูแลตรวจสอบอุปกรณ์ดำน้ำ
      • ใบรับรองว่ามีผู้ควบคุมการดำน้ำและผู้สอนการดำน้ำ
      • ใบรับรองว่ามีผู้สอนการดำน้ำเฉพาะในกรณีที่มีการสอนดำน้ำ
      • กรมธรรม์ประกันภัย/ประกันอุบัติเหตุ (กรมธรรม์ประกันภัยประกันอุบัติเหตุให้กับนักท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ และผู้นำเที่ยว ในความคุ้มครองตามที่กฎหมายกำหนด จากการดำน้ำ มีอายุกรมธรรม์ไม่น้อยกว่า 6 เดือน นับแต่วันที่ยื่นคำขอ)

    ใบอนุญาตธุรกิจนำเที่ยว (นิติบุคคล)

      • แบบคำขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวประเภทนิติบุคคล (สธก.2)
      • บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
      • หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ.2)
      • รายการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด (หส.2)
      • ข้อบังคับของบริษัท
      • ตัวอย่างรอยตราประทับบริษัท จำนวน 2 ตรา กรรมการหรือผู้มีอำนาจจัดการแทน (สัญชาติไทย) ลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัท

    ใบอนุญาตธุรกิจนำเที่ยวประเภทมีเครื่องดำน้ำ (นิติบุคคล)

    อย่างไรก็ตามเอกสารที่ต้องเตรียมมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของแต่ละบุคคล โดยสามารถเข้าไปทำ Smart Quiz ในเว็บไซต์ Biz Portal เพื่อจะได้ข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้น

    ช่องทางการขอใบอนุญาตธุรกิจนำเที่ยว

    ช่องทางการขอใบอนุญาตธุรกิจนำเที่ยวมีทั้งที่สามารถเข้าไปติดต่อได้เอง หรือติดต่อทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของภาครัฐ และยังมี Biz Portal ที่สามารถขอใบอนุญาตได้ครบจบในแบบฟอร์มเดียว โดยสามารถเช็กช่องทางการขอใบอนุญาตได้จากตารางสรุป ด้านล่างนี้

    ประเภท
    สถานที่
    ช่องทาง
    ติดต่อด้วยตนเอง
    • สำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์สาขากรุงเทพมหานคร (รับผิดชอบในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานครและอีก 19 จังหวัด)
      หมายเหตุ : ให้ยื่นเอกสารภายในเวลา 15.00 น)

    • สำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์สาขาภาคตะวันออก (จังหวัดชลบุรี)

    • สำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์สาขาภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่)

    • สำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดนครราชสีมา)

    • สำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์สาขาภาคใต้ 1 (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) รับผิดชอบในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมพร นราธิวาส ปัตตานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ยะลา สตูล และสงขลา (9 จังหวัด)

    • สำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์สาขาภาคใต้ 2 (จังหวัดภูเก็ต) รับผิดชอบในจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรัง พังงา และระนอง (5 จังหวัด)
    วันจันทร์ ถึง วันศุกร์
    (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
    ตั้งแต่เวลา 08:30 - 16:30 น.
    ติดต่อออนไลน์
    • เว็บไซต์ได้กรมการท่องเที่ยว คลิกที่นี

    • เว็บไซต์ระบบการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จทางอิเล็กทรอนิกส์ (Biz Portal)คลิกที่นี
    เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

    การขอใบอนุญาตผ่าน Biz Portal

    ในปัจจุบัน การขอใบอนุญาตสำหรับเริ่มต้นธุรกิจนำเที่ยว สามารถขอผ่าน Biz Portalได้ ซึ่งช่วยเป็นตัวกลางในการดำเนินเอกสารเป็นไปได้ง่ายขึ้น เอกสารที่สามารถขอได้ผ่านช่องทางนี้ ได้แก่

    • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
    • ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย

    นอกจากนี้ ถ้าอยากทราบว่าใบอนุญาตที่ต้องการนั้นครบถ้วนหรือไม่ ต้องขอเอกสาร และมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง Biz Portal ก็มี Smart Quizให้ลองใช้เพื่อเช็กความชัวร์ได้อีกด้วย

    การเริ่มต้นธุรกิจด้านการท่องเที่ยวจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป หากผู้ประกอบการหันมาใช้ Biz Portal ที่จะมาช่วยอำนวยความสะดวกในการขอใบอนุญาตได้อย่างครบวงจร ลดความซับซ้อนในการเตรียมเอกสารต่าง ๆ จนสามารถนำเวลานั้นมาพัฒนาธุรกิจให้เติบโตยิ่งกว่าเดิม

    Link ที่เกี่ยวข้อง

    คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

    Sending

    ขอบคุณสำหรับคะแนน
    ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

    ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

    แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

    ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
    Sending

    ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

    ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    ยอมรับทั้งหมด
    จัดการความเป็นส่วนตัว
    • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
      เปิดใช้งานตลอด

      คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

    • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

      คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

    • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

      คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

    • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

      คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

    บันทึกการตั้งค่า