“บัตรทอง” หรือ “บัตรสวัสดิการถ้วนหน้า” คือ บัตรที่ทางสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสปสช. ออกให้คนไทยทุกคนได้ใช้ในการรักษาฟรี ยกเว้นว่าจะมีสิทธิประกันสังคม หรือบัตรข้าราชการอื่น ๆ
Link ที่เกี่ยวข้อง
ถือบัตรทอง ได้สิทธิรักษาอะไรบ้าง
ไม่ว่าจะเรียกว่า “บัตรทอง” “บัตร 30บาท” หรือ “บัตรประกันสุขภาพ” มันคือสิทธิการรักษาเดียวกัน เพียงแต่เรียกชื่อได้หลายแบบ แล้วผู้ที่ถือบัตรทองมีสิทธิในการรักษาอะไรบ้าง และอะไรที่ไม่ครอบคลุม มาตรวจสอบกัน
ถือบัตรทอง ครอบคลุมสิทธิในการรักษา อะไรบ้าง?
- การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เช่น
- การตรวจคัดกรองเพื่อหาภาวะเสี่ยง
- การให้คำปรึกษาและแนะนำการดูแลสุขภาพ
- การสร้างภูมิคุ้มกัน เช่น การฉีดวัคซีน
- การตรวจวินิจฉัยโรค ตั้งแต่โรคทั่วไป จนถึงโรงเรื้อรัง
- การตรวจและการรับฝากครรภ์
- การบำบัดและการบริการทางการแพทย์
- ยา เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ตามกรอบบัญชียาหลัก และยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง
- การทำคลอด ใช้สิทธิได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
- การพักรักษาตัวในหน่วยบริการ
- การดูแลเด็กแรกเกิด
- บริการรถพยาบาล หรือบริการพาหนะรับส่งผู้ป่วย
- บริการพาหนะรับส่งคนพิการ
- การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย และจิตใจ
- บริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
- บริการสาธารสุขอื่น ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดเพิ่มเติม
บัตรทอง ไม่ครอบคลุมการรักษาอะไรบ้าง
- ศัลยกรรมเพื่อความงาม โดยไม่มีเหตุผลทางการแพทย์
- การตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่เกินความจำเป็นจากความเห็นทางการแพทย์
- การรักษาที่อยู่ระหว่างค้นคว้าทดลอง
- การปลูกถ่ายอวัยวะ ที่ไม่ปรากฏตาม บัญชีแนบท้ายที่สปสช. กำหนด
- บริการทางการแพทย์อื่น ตามกำหนดของ สปสช.
บัตรทองเพิ่ม 10 สิทธิประโยชน์ใหม่
10 สิทธิประโยชน์ใหม่ของบัตรทองที่เพิ่มขึ้นในปี 65 มีอะไรบ้าง? โดยสิทธิประโยชน์บริการใหม่ และการขยายบริการให้ครอบคลุม จะเริ่มให้บริการในวันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป ได้แก่
- บริการหมอครอบครัว (หมอในชุมชน) รับบริการที่หน่วยบริการไหนก็ได้ ทั่วประเทศ
- ผู้ป่วยในไม่ต้องใช้ใบส่งตัว
- บริการยาต้านไวรัสหลังสัมผัสเชื้อ (PEP) เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี
- การตรวจยีน BRCA1 BRCA2 ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
- บริการตรวจคัดกรองโรคหายากในผู้ป่วยโรคพันธุกรรมเมตาบอลิกด้วยเครื่อง Tandem mass spectrometry
- การผ่าตัดใส่รากฟันเทียมสำหรับผู้ที่ไม่มีฟันทั้งปาก
- บริการคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงมะเร็งและมะเร็งช่องปาก (CA Oral Screening) สำหรับคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป
- บริการแว่นตาสำหรับเด็กที่มีภาวะสายตาผิดปกติ
- บริการตรวจคัดกรองคู่หญิงตั้งครรภ์ 2 รายการ คือ ธาลัสซีเมีย และ เชื้อซิฟิลิส
- ขยายบริการล้างไตผ่านช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ (Automated Peritoneal Dialysis : APD) โดยเพิ่มจำนวนเครื่องล้างไต เกือบ 1,300 เครื่อง สำหรับให้บริการทั่วประเทศ
ถ้าต้องการ รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ 1330 ตลอด 24 ชม. หรือ คลิกเพิ่มเพื่อนไลน์กับ สปสช. @nhso
ใครบ้างมีสิทธิ ถือ “บัตรทอง” ตรวจสอบสิทธิที่ไหน
- บุคคลที่มีสัญญาชาติไทย มีเลขบัตรประจำตัวประชาบน 13 หลัก
- ไม่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นใดที่รัฐจัดให้
ผู้ที่ไม่สามารถถือสิทธิ”บัตรทอง”
- ถือสิทธิประกันสังคม
- ถือสิทธิ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ และครอบครัว
- ถือสิทธิรักษาของ พนักงานรัฐวิสาหกิจ
- ถือสิทธิรักษา พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรอิสระ ครูโรงเรียนเอกชนในระบบ
5 ช่องทาง ตรวจสอบสิทธิ “บัตรทอง” ด้วยตัวเอง
สำหรับ สามารถตรวจสอบสิทธิบัตรทอง ด้วยตนเอง ผ่านทาง 5 ช่องทาง มีอะไรบ้าง?
ช่องทางที่ 1: ไปติดต่อด้วยตนเองได้ที่ สำนักงานเขต กทม. (19 เขต)/ สปสช. เขตพื้นที่ 1-13/ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล/ โรงพยาบาลของรัฐ
ช่องทางที่ 2: โทรสายด่วน สปสช. 1330 กด 2 ตามด้วยหมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก และเครื่องหมาย #.
ช่องทางที่ 3: ทาง Application “สปสช.” สามารถดาวน์โหลดฟรี ได้ทั้งระบบ Android และ iOS
(สแกน QR Code เพื่อดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน) เมื่อลงทะเบียนติดตั้งแอปพลิเคชันเรียบร้อย สามารถเข้าใช้งานฟังก์ชั่น ตรวจสอบสิทธิตนเอง และตรวจสอบสิทธิคนในครอบครัวได้ทันที
ช่องทางที่ 4: ผ่าน LINE Official Account สปสช. – แอดเป็นเพื่อนง่าย ๆ พิมพ์ค้นหา Line ID @nhso หรือ สแกน QR Code/ คลิกลิงก์ https://lin.ee/zzn3pU6
(หมายเหตุ : ใช้งานง่าย ๆ เพียงเลือกฟังก์ชั่น “ตรวจสอบสิทธิ” และกรอกข้อมูล ก็สามารถตรวจสอบสิทธิได้แล้ว)
ช่องทางที่ 5: ผ่านทางเว็บไซต์ สปสช. เข้าเมนูประชาชน เลือกหัวข้อ “ตรวจสอบสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ“

ทำบัตรทอง ใช้เอกสารอะไรบ้าง ออนไลน์ได้หรือไม่
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ถ้าผู้ทำบัตรทองเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สูติบัตร)
- สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้ขอมีชื่ออยู่ กรณีพักอาศัยอยู่จริงไม่ตรงตามทะเบียนบ้านจะต้องแนบสำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลที่ตนไปพักอาศัยอยู่ พร้อมหนังสือรับรองของเจ้าบ้าน หากเป็นบ้านเช่า หรือ หอพัก
- หลักฐานอื่่น ๆ เช่น สัญญาเช่าที่พัก ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าที่พัก ใบเสร็จรับเงินค่าโทรศัพท์บ้านที่แสดงว่า ผู้ขอลงทะเบียนพักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นจริง
- แบบคำร้องลงทะเบียนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า/ขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ
สมัคร “บัตรทอง” ที่ไหนได้บ้าง
สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานคร ติดต่อขอทำบัตรทองได้ที่
- สำนักงานเขต 19 แห่ง เปิดให้บริการในวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00- 16.00 น.
- สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เปิดให้บริการวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.00 – 19.00 น. วันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.00 – 17.00 น. โดยสามารถแจ้งขอเปลี่ยนโรงพยาบาลได้
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทั้ง 3 สาขา ได้แก่
- สาขาย่อยหมอชิต 2 เปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00 – 19.00 น.
- สาขาย่อยตลาดยิ่งเจริญ เปิดให้บริการวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 09.30 – 16.30 น. และ
- สาขาย่อยวัดไทร เปิดให้บริการวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 15.30 น. ซึ่งทั้ง 3 สาขานี้สามารถแจ้งขอเปลี่ยนโรงพยาบาลได้
- ธนาคารออมสิน สาขาราชดำเนิน ระยะเวลาเปิดให้บริการ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 15.30 น. ท่านสามารถแจ้งขอเปลี่ยนโรงพยาบาลได้
สำหรับพื้นที่ต่างจังหวัด ติดต่อลงทะเบียนทำบัตรได้ที่
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.)
- โรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ใกล้บ้าน
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ให้บริการในวันจันทร์- ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.
โหลดแอปพลิเคชั่น สมัคร “บัตรทอง” ผ่านออนไลน์ง่าย ๆ
เริ่มต้นด้วยการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน สปสช. และเตรียม บัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน เอาไว้ให้พร้อมสมัครใช้งาน
- ติดตั้งแอปพลิเคชัน พิมพ์คำว่า “สปสช” ใน Google Play หรือ App Store
- เปิดหน้าแอปพลิเคชัน “สปสช”
- กดปุ่ม “ลงทะเบียน”
- กดอ่านเงื่อนไขข้อตกลง และกด “ยอมรับ”
- กรอกเลขบัตรประชาชน
- สแกนลายนิ้วมือหรือตั้งรหัสผ่านสำหรับเข้าสู่แอป
เมื่อเข้าสู่หน้าหลักของแอปพลิเคชัน ให้กด ลงทะเบียนสิทธิหลักประกัน
ขั้นตอนการสมัตร ออนไลน์



“บัตรทอง”ไม่พอจ่าย ใช้ประกันสุขภาพอื่น ๆ ได้หรือไม่
บัตรทอง มีค่าใช้จ่ายเกินวงเงินที่ครอบคลุมค่ารักษาสามารถใช้บัตรสุขภาพอื่น ๆ ร่วมด้วยได้ ดังนี้
- ใช้สิทธิ”ประกันสุขภาพ”ที่ผู้ถือบัตรทองทำไว้ ร่วมจ่ายได้
- ใช้สิทธิ “สวัสดิการข้าราชการ-รัฐวิสาหกิจ”ของครอบครัว ร่วมจ่ายได้
- สามารถร่วมจ่ายเป็นเงินสดได้ในบางกรณีที่เกินวงเงินบัตรทอง
TIP BOX: เกร็ดความรู้
ผู้ถือสิทธิบัตรทอง สามารถสอบถามรายละเอียดค่าใช้จ่ายจากเจ้าหน้าที่การเงินของโรงพยาบาลก่อนได้ หากบัตรทองไม่ครอบคลุมการรักษา เจ้าหน้าที่ก็จะแนะนำว่าจะใช้บัตรอะไรได้บ้าง หรือโทรสายด่วน 1330 เพื่อสอบถามข้อมูล
“บัตรทอง” หรือ “บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ถือว่าเป็นการรักษาสิทธิพื้นฐานของคนไทย เมื่อเจ็บป่วยจะได้รับการรักษาจากสถานพยาบาล โดยสามารถใช้บัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปถ่าย มีเลขประจำตัวประชาชน นำมาใช้รับสิทธิและเข้ารับการรักษาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เว้นแต่จะมียานอกบัญชียาหลัก จึงจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม