บัตรทอง

รู้จัก “บัตรทอง” สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าของคนไทย

“บัตรทอง” หรือ “บัตรสวัสดิการถ้วนหน้า” คือ บัตรที่ทางสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสปสช. ออกให้คนไทยทุกคนได้ใช้ในการรักษาฟรี ยกเว้นว่าจะมีสิทธิประกันสังคม หรือบัตรข้าราชการอื่น ๆ

Link ที่เกี่ยวข้อง

ประกันสังคม

ถือบัตรทอง ได้สิทธิรักษาอะไรบ้าง

ไม่ว่าจะเรียกว่า “บัตรทอง” “บัตร 30บาท” หรือ “บัตรประกันสุขภาพ” มันคือสิทธิการรักษาเดียวกัน เพียงแต่เรียกชื่อได้หลายแบบ แล้วผู้ที่ถือบัตรทองมีสิทธิในการรักษาอะไรบ้าง และอะไรที่ไม่ครอบคลุม มาตรวจสอบกัน

ถือบัตรทอง ครอบคลุมสิทธิในการรักษา อะไรบ้าง?

  1. การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เช่น
    • การตรวจคัดกรองเพื่อหาภาวะเสี่ยง
    • การให้คำปรึกษาและแนะนำการดูแลสุขภาพ
    • การสร้างภูมิคุ้มกัน เช่น การฉีดวัคซีน
  2. การตรวจวินิจฉัยโรค ตั้งแต่โรคทั่วไป จนถึงโรงเรื้อรัง
  3. การตรวจและการรับฝากครรภ์
  4. การบำบัดและการบริการทางการแพทย์
  5. ยา เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ตามกรอบบัญชียาหลัก และยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง
  6. การทำคลอด ใช้สิทธิได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
  7. การพักรักษาตัวในหน่วยบริการ
  8. การดูแลเด็กแรกเกิด
  9. บริการรถพยาบาล หรือบริการพาหนะรับส่งผู้ป่วย
  10. บริการพาหนะรับส่งคนพิการ
  11. การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย และจิตใจ
  12. บริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
  13. บริการสาธารสุขอื่น ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดเพิ่มเติม

บัตรทอง ไม่ครอบคลุมการรักษาอะไรบ้าง

    1. ศัลยกรรมเพื่อความงาม โดยไม่มีเหตุผลทางการแพทย์
    2. การตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่เกินความจำเป็นจากความเห็นทางการแพทย์
    3. การรักษาที่อยู่ระหว่างค้นคว้าทดลอง
    4. การปลูกถ่ายอวัยวะ ที่ไม่ปรากฏตาม บัญชีแนบท้ายที่สปสช. กำหนด
    5. บริการทางการแพทย์อื่น ตามกำหนดของ สปสช.

 

 

บัตรทองเพิ่ม 10 สิทธิประโยชน์ใหม่

10 สิทธิประโยชน์ใหม่ของบัตรทองที่เพิ่มขึ้นในปี 65 มีอะไรบ้าง? โดยสิทธิประโยชน์บริการใหม่ และการขยายบริการให้ครอบคลุม จะเริ่มให้บริการในวันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป ได้แก่

  1. บริการหมอครอบครัว (หมอในชุมชน) รับบริการที่หน่วยบริการไหนก็ได้ ทั่วประเทศ
  2. ผู้ป่วยในไม่ต้องใช้ใบส่งตัว
  3. บริการยาต้านไวรัสหลังสัมผัสเชื้อ (PEP) เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี
  4. การตรวจยีน BRCA1 BRCA2 ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
  5. บริการตรวจคัดกรองโรคหายากในผู้ป่วยโรคพันธุกรรมเมตาบอลิกด้วยเครื่อง Tandem mass spectrometry
  6. การผ่าตัดใส่รากฟันเทียมสำหรับผู้ที่ไม่มีฟันทั้งปาก
  7. บริการคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงมะเร็งและมะเร็งช่องปาก (CA Oral Screening) สำหรับคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป
  8. บริการแว่นตาสำหรับเด็กที่มีภาวะสายตาผิดปกติ
  9. บริการตรวจคัดกรองคู่หญิงตั้งครรภ์ 2 รายการ คือ ธาลัสซีเมีย และ เชื้อซิฟิลิส
  10. ขยายบริการล้างไตผ่านช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ (Automated Peritoneal Dialysis : APD) โดยเพิ่มจำนวนเครื่องล้างไต เกือบ 1,300 เครื่อง สำหรับให้บริการทั่วประเทศ

ถ้าต้องการ รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ 1330 ตลอด 24 ชม. หรือ คลิกเพิ่มเพื่อนไลน์กับ สปสช. @nhso

ใครบ้างมีสิทธิ ถือ “บัตรทอง” ตรวจสอบสิทธิที่ไหน

ผู้ที่ต้องการใช้สิทธิบัตรทอง จะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
  1. บุคคลที่มีสัญญาชาติไทย มีเลขบัตรประจำตัวประชาบน 13 หลัก
  2. ไม่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นใดที่รัฐจัดให้

ผู้ที่ไม่สามารถถือสิทธิ”บัตรทอง”

  1. ถือสิทธิประกันสังคม
  2. ถือสิทธิ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ และครอบครัว
  3. ถือสิทธิรักษาของ พนักงานรัฐวิสาหกิจ
  4. ถือสิทธิรักษา พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรอิสระ ครูโรงเรียนเอกชนในระบบ

5 ช่องทาง ตรวจสอบสิทธิ “บัตรทอง” ด้วยตัวเอง

สำหรับ สามารถตรวจสอบสิทธิบัตรทอง ด้วยตนเอง ผ่านทาง 5 ช่องทาง มีอะไรบ้าง?

ช่องทางที่ 1: ไปติดต่อด้วยตนเองได้ที่ สำนักงานเขต กทม. (19 เขต)/ สปสช. เขตพื้นที่ 1-13/ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล/ โรงพยาบาลของรัฐ
ช่องทางที่ 2: โทรสายด่วน สปสช. 1330 กด 2 ตามด้วยหมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก และเครื่องหมาย #.
ช่องทางที่ 3: ทาง Application “สปสช.” สามารถดาวน์โหลดฟรี ได้ทั้งระบบ Android และ iOS
(สแกน QR Code เพื่อดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน) เมื่อลงทะเบียนติดตั้งแอปพลิเคชันเรียบร้อย สามารถเข้าใช้งานฟังก์ชั่น ตรวจสอบสิทธิตนเอง และตรวจสอบสิทธิคนในครอบครัวได้ทันที
ช่องทางที่ 4: ผ่าน LINE Official Account สปสช. – แอดเป็นเพื่อนง่าย ๆ พิมพ์ค้นหา Line ID @nhso หรือ สแกน QR Code/ คลิกลิงก์ https://lin.ee/zzn3pU6
(หมายเหตุ : ใช้งานง่าย ๆ เพียงเลือกฟังก์ชั่น “ตรวจสอบสิทธิ” และกรอกข้อมูล ก็สามารถตรวจสอบสิทธิได้แล้ว)
ช่องทางที่ 5: ผ่านทางเว็บไซต์ สปสช. เข้าเมนูประชาชน เลือกหัวข้อ “ตรวจสอบสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ทำบัตรทอง ใช้เอกสารอะไรบ้าง ออนไลน์ได้หรือไม่

หากต้องการสมัครสิทธิ “บัตรทอง” หรือ “บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ให้เตรียมเอกสาร ดังนี้
  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ถ้าผู้ทำบัตรทองเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สูติบัตร)
  2. สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้ขอมีชื่ออยู่ กรณีพักอาศัยอยู่จริงไม่ตรงตามทะเบียนบ้านจะต้องแนบสำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลที่ตนไปพักอาศัยอยู่ พร้อมหนังสือรับรองของเจ้าบ้าน หากเป็นบ้านเช่า หรือ หอพัก
  3. หลักฐานอื่่น ๆ เช่น สัญญาเช่าที่พัก ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าที่พัก ใบเสร็จรับเงินค่าโทรศัพท์บ้านที่แสดงว่า ผู้ขอลงทะเบียนพักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นจริง
  4. แบบคำร้องลงทะเบียนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า/ขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ

สมัคร “บัตรทอง” ที่ไหนได้บ้าง

สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานคร ติดต่อขอทำบัตรทองได้ที่

  1. สำนักงานเขต 19 แห่ง เปิดให้บริการในวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00- 16.00 น.
  2. สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เปิดให้บริการวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.00 – 19.00 น. วันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.00 – 17.00 น. โดยสามารถแจ้งขอเปลี่ยนโรงพยาบาลได้
  3. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทั้ง 3 สาขา ได้แก่
    • สาขาย่อยหมอชิต 2 เปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00 – 19.00 น.
    • สาขาย่อยตลาดยิ่งเจริญ เปิดให้บริการวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 09.30 – 16.30 น. และ
    • สาขาย่อยวัดไทร เปิดให้บริการวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 15.30 น. ซึ่งทั้ง 3 สาขานี้สามารถแจ้งขอเปลี่ยนโรงพยาบาลได้
  4. ธนาคารออมสิน สาขาราชดำเนิน ระยะเวลาเปิดให้บริการ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 15.30 น. ท่านสามารถแจ้งขอเปลี่ยนโรงพยาบาลได้

สำหรับพื้นที่ต่างจังหวัด ติดต่อลงทะเบียนทำบัตรได้ที่

  1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.)
  2. โรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ใกล้บ้าน
  3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ให้บริการในวันจันทร์- ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.

โหลดแอปพลิเคชั่น สมัคร “บัตรทอง” ผ่านออนไลน์ง่าย ๆ

เริ่มต้นด้วยการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน สปสช. และเตรียม บัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน เอาไว้ให้พร้อมสมัครใช้งาน

  1. ติดตั้งแอปพลิเคชัน พิมพ์คำว่า “สปสช” ใน Google Play หรือ App Store
  2. เปิดหน้าแอปพลิเคชัน “สปสช”
  3. กดปุ่ม “ลงทะเบียน”
  4. กดอ่านเงื่อนไขข้อตกลง และกด “ยอมรับ”
  5. กรอกเลขบัตรประชาชน
  6. สแกนลายนิ้วมือหรือตั้งรหัสผ่านสำหรับเข้าสู่แอป

เมื่อเข้าสู่หน้าหลักของแอปพลิเคชัน ให้กด ลงทะเบียนสิทธิหลักประกัน
ขั้นตอนการสมัตร ออนไลน์

“บัตรทอง”ไม่พอจ่าย ใช้ประกันสุขภาพอื่น ๆ ได้หรือไม่

บัตรทอง มีค่าใช้จ่ายเกินวงเงินที่ครอบคลุมค่ารักษาสามารถใช้บัตรสุขภาพอื่น ๆ ร่วมด้วยได้ ดังนี้

  1. ใช้สิทธิ”ประกันสุขภาพ”ที่ผู้ถือบัตรทองทำไว้ ร่วมจ่ายได้
  2. ใช้สิทธิ “สวัสดิการข้าราชการ-รัฐวิสาหกิจ”ของครอบครัว ร่วมจ่ายได้
  3. สามารถร่วมจ่ายเป็นเงินสดได้ในบางกรณีที่เกินวงเงินบัตรทอง

TIP BOX: เกร็ดความรู้ 

ผู้ถือสิทธิบัตรทอง สามารถสอบถามรายละเอียดค่าใช้จ่ายจากเจ้าหน้าที่การเงินของโรงพยาบาลก่อนได้ หากบัตรทองไม่ครอบคลุมการรักษา เจ้าหน้าที่ก็จะแนะนำว่าจะใช้บัตรอะไรได้บ้าง หรือโทรสายด่วน 1330 เพื่อสอบถามข้อมูล

“บัตรทอง” หรือ “บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ถือว่าเป็นการรักษาสิทธิพื้นฐานของคนไทย เมื่อเจ็บป่วยจะได้รับการรักษาจากสถานพยาบาล โดยสามารถใช้บัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปถ่าย มีเลขประจำตัวประชาชน นำมาใช้รับสิทธิและเข้ารับการรักษาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เว้นแต่จะมียานอกบัญชียาหลัก จึงจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม

Link ที่เกี่ยวข้อง

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า