ประกันสังคม

เช็กสิทธิ เงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน สูงสุด 3,000 บาท

เพราะความเท่าเทียมในเรื่องการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการใช้ชีวิตและการได้รับการศึกษาควรเป็นสิ่งที่เด็กทุกคนได้รับอย่างเท่าเทียมกัน อย่างที่ว่ากันไว้ว่าเด็กในวันนี้จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพได้ในวันข้างหน้า สวัสดิการเงินสงเคราะห์เด็กและนักเรียนยากจนจากภาครัฐจึงถือกำเนิดขึ้น เพื่อมุ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนโอกาสและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับอนาคตของชาติ

Link ที่เกี่ยวข้อง

เงินสงเคราะห์เด็กยากจน คืออะไร?

เงินสงเคราะห์เด็กยากจนเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานจากทางรัฐที่มอบให้กับเด็กทั่วประเทศ โดยให้การช่วยเหลือเป็นเงินและของอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เพื่อช่วยเหลือเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจน รวมไปถึงนักเรียนยากจนที่กำลังศึกษาอยู่และครอบครัวไม่สามารถสนับสนุนด้านการศึกษาได้อย่างเหมาะสม เป็นการเพิ่มโอกาสให้ครอบครัวสามารถดูแลบุตรหลานได้เองโดยที่ไม่ต้องส่งเด็กไปอยู่ตามสถานเลี้ยงดูต่าง ๆ และช่วยสนับสนุนให้เด็กนักเรียนยากจนได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานในการศึกษาตามที่เด็กทุกคนสมควรที่จะได้รับ

เพราะ “เด็ก” คืออนาคตของประเทศ

เพื่อเพิ่มโอกาสและความเท่าเทียมในชีวิตและการศึกษา เด็กยากจนและนักเรียนยากจนทั่วประเทศ หรือเด็กที่อยู่ในความดูแลของครอบครัวที่ยากจน จะสามารถลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือเงินสงเคราะห์เด็กยากจน โดยจะได้รับเป็นเงินสงเคราะห์หรือของอุปโภคบริโภค เพื่อนำไปต่อยอดโอกาสในการศึกษา พัฒนาคุณภาพชีวิต และเป็นกำลังสำคัญของประเทศต่อไปในอนาคต ซึ่งจะมีรายละเอียดและขั้นตอนการลงทะเบียนอย่างไรนั้น เช็กกันได้เลย

ใครมีสิทธิที่จะได้รับสวัสดิการนี้บ้าง

  • เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจน มีอายุไม่เกิน 18 ปี หรือไม่เกิน 20 ปี หากกำลังศึกษาอยู่
  • เด็กที่อยู่ในความดูแลของพ่อแม่ หรือผู้ปกครองที่มีคุณสมบัติ ดังนี้
    • ครอบครัวมีฐานะยากจน คือ สมาชิกในครอบครัวไม่มีอาชีพ หรือมีรายได้ไม่เกิน 3,000 บาท/คน/เดือน ซึ่งไม่สามารถให้การเลี้ยงดูเด็กอย่างเหมาะสมได้
    • ครอบครัวประสบความเดือดร้อน และกระทบกระเทือนกับความปลอดภัยของเด็ก
    • พ่อแม่หรือผู้ปกครอง ถูกจำคุก กักขัง มีความพิการทางร่างกายหรือจิตใจ จนไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงดูครอบครัวได้
  • เด็กประสบปัญหาความเดือดร้อน อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
    • เป็นเด็กกำพร้า ยากจน (แต่มีผู้ปกครองดูแล)
    • เด็กพิการทางร่างกาย สมองและปัญญาหรือจิตใจ
    • เด็กเกิดจากพ่อแม่ที่ไม่ได้แต่งงานกัน

ความช่วยเหลือที่จะได้รับ

ผู้ที่เข้าเงื่อนไขจะได้รับการช่วยเหลือเป็นรายครั้ง ผู้ขอ 1 คนจะได้รับความช่วยเหลือไม่เกิน 3 ครั้ง/ปี โดยสามารถเลือกรับความช่วยเหลือได้ ดังนี้
ความช่วยเหลือ
จำนวนเด็กในครอบครัว
1 คน
มากกว่า 1 คน ขึ้นไป
การช่วยเหลือเป็นเงิน

จะได้รับเงินผ่านทางบัญชีธนาคารของพ่อแม่ / ผู้ปกครองทุกเดือน หรือเป็นเช็ค/เงินสด กรณีที่ไม่สามารถโอนเงินผ่านบัญชีได้
1,000 บาท
3,000 บาท
การช่วยเหลือเป็นสิ่งของ
(ของกินของใช้)
1,000 บาท
(มูลค่าของสิ่งของ)
3,000 บาท
(มูลค่าของสิ่งของ)
การช่วยเหลือเป็นเงินและสิ่งของ
2,000 บาท
(มูลค่าของสิ่งของ + เงิน)
3,000 บาท
(มูลค่าของสิ่งของ + เงิน)

ลงทะเบียนได้ตอนไหน

ผู้ที่เข้าเงื่อนไขสามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับความช่วยเหลือผ่านช่องทางที่กำหนดได้ตลอดทั้งปี โดยจะได้รับการพิจารณาอนุมัติตามความเหมาะสมและดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่

ขั้นตอนการสมัคร

1. กรอกแบบคำขอรับความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม
2. เตรียมเอกสารประกอบการยื่น โดยลงชื่อรับรองสำเนาทุกฉบับ

เอกสารของผู้ปกครอง
เอกสารของเด็ก
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาหน้าบัญชีธนาคาร (ชื่อบัญชีต้องเป็นชื่อเดียวกับพ่อแม่ หรือผู้ปกครองที่ลงนามในแบบบันทึกข้อมูลผู้ประสบปัญหาทางสังคม)
  • สำเนาใบเกิด
  • สำเนาบัตรประชาชน (ถ้ามี)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • 3. ยื่นเอกสารได้ด้วยตัวเอง หรือผ่านช่องทางออนไลน์ตามช่องทางการยื่นเอกสารด้านบน
    4.รอการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่พัฒนาสังคม

    ระยะเวลาดำเนินการ/ติดตามสถานะ

    หลังจากยื่นเรื่อง เจ้าหน้าที่พัฒนาสังคมประจำจังหวัดนั้น ๆ จะลงพื้นที่เพื่อพูดคุยและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาและอนุมัติ ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1 – 3 เดือน โดยสามารถติดตามสถานะการดำเนินการได้ตลอดเวลาที่แอปพลิเคชัน“ทางรัฐ”

    ช่องทางการติดต่อสอบถาม

    • สายด่วนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โทร. 1300
    • Line ID: sac1300news
    • Facebook: https://www.facebook.com/1300.msociety.go.th/

    ช่องทางการยื่นเอกสาร

    ผู้ที่เข้าเงื่อนไขสามารถยื่นเอกสารได้ด้วยตัวเองหรือผ่านช่องทางออนไลน์ ได้ที่
    จุดบริการ กทม
    (เด็กที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพ)
    จุดบริการ ต่างจังหวัด
    (เด็กที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด)
    ออนไลน์
    - กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
    - สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี
    - สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านมหาเมฆ
    - บ้านพักเด็กและครอบครัวกรุงเทพมหานคร
    - สำนักงานเขตในกรุงเทพมหานคร
    - โรงเรียนที่เด็กกำลังศึกษา
    - สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
    - องค์การบริหารส่วนตำบล
    - บ้านพักเด็กและครอบครัว 76 จังหวัด
    - สถานรองรับเด็ก 30 แห่ง
    - โรงเรียนที่เด็กกำลังศึกษา (ต้องยื่นเอกสารที่หน่วยงานที่เด็กหรือผู้ปกครองมีภูมิลำเนาอยู่อาศัย)
    แอปพลิเคชัน “ทางรัฐ”

    ความช่วยเหลือและโอกาสจากสวัสดิการนี้ อาจเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยต่อยอดและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ที่กำลังประสบปัญหาอยู่ได้ไม่มากก็น้อย หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เข้าเงื่อนไขของโครงการ อย่ารอช้า สามารถลงทะเบียนตามช่องทางที่สะดวกเพื่อขอรับเงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจนกันได้เลย

    Link ที่เกี่ยวข้อง

    คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

    Sending

    ขอบคุณสำหรับคะแนน
    ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

    ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

    แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

    ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
    Sending

    ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

    ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    ยอมรับทั้งหมด
    จัดการความเป็นส่วนตัว
    • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
      เปิดใช้งานตลอด

      คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

    • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

      คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

    • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

      คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

    • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

      คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

    บันทึกการตั้งค่า