จ่ายประกันสังคมไว้ ได้เงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800

รู้หรือไม่ว่า เงินประกันสังคมที่หลายๆ คนจ่ายไว้ นอกจากจะยังคุ้มครองคนจ่ายแล้ว ยังให้สิทธิถึงลูกๆ ของพวกเขาด้วย ผ่านสิทธิที่ชื่อว่า “สิทธิกรณีสงเคราะห์บุตร”หรือที่คุ้นหูกันว่า “เงินสงเคราะห์บุตร” หากผู้ประกันตนคนไหนมีลูก ไม่ควรพลาดอย่างยิ่งในการขอรับเงินก้อนนี้ แล้วเงินที่ว่า คืออะไร มีเงื่อนไขและขั้นตอนในการขอรับอย่างไรบ้าง ไปหาคำตอบกันได้ในบทความนี้

Link ที่เกี่ยวข้อง

เงินสงเคราะห์บุตรคืออะไร ต่างจากเงินอุดหนุนบุตรอย่างไร

เงินสงเคราะห์บุตร คือสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนมาตรา 33 (ลูกจ้างประจำ) มาตรา 39 (ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ) และมาตรา 40 (ทางเลือกที่ 3) ที่จ่ายเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน โดยจะได้รับเป็นเงินช่วยเหลือเด็กเดือนละ 800 บาท จากประกันสังคม และสามารถเบิกเงินสงเคราะห์บุตรได้คราวละไม่เกิน 3 คน

เงินสงเคราะห์บุตรเป็นสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน ที่ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม ส่วนเงินอุดหนุนบุตร เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ซึ่งเป็นเงินช่วยเหลือจำนวน 600 บาท/เดือน ที่ให้กับประชาชนทั่วไปที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไข

ผู้ประกันตนที่รับสิทธิเงินสงเคราะห์บุตรแล้ว สามารถลงทะเบียนขอรับเงินอุดหนุนบุตร (600 บาท) เช็คสิทธิ์เงินอุดหนุนบุตร และตรวจสอบเงินอุดหนุนบุตรเพิ่มเติมได้ หากครอบครัวมีฐานะยากจนและมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์

เงินสงเคราะห์บุตร
เงินอุดหนุนบุตร
ผู้ที่ได้สิทธิ ผู้ประกัน ม.33, ม.39, ม.40 (ทางเลือกที่ 3) ประชาชนทั่วไป มีรายได้เฉลี่ยต่อคน
ไม่เกิน 100,000 บาท/ปี
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
จำนวนเงิน 800 บาท (200 บาทสำหรับผู้ประกันตน ม.40 /
ทางเลือกที่ 3)
600 บาท

*ผู้ประกันตน สามารถขอรับเงินสงเคราะห์บุตร และเงินอุดหนุนบุตร ได้จากทั้งสองหน่วยงาน หากมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด

เดิมเมื่อปี 2561 ผู้ประกันตนจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรที่เดือนละ 600 บาท แต่ในช่วงการระบาดโควิด 19 จึงได้ปรับมาเป็นเดือน ละ 800 บาท ตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา และจะมีการจ่ายย้อนหลังให้กับผู้ที่เคยได้รับในปี 2561 เพิ่มเดือนละ 200 บาท

คุณสมบัติของคนที่มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์บุตร

ผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์บุตร จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

  • เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 (ทางเลือกที่ 3)
  • จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน
  • มีบุตรตามกฏหมาย (ยกเว้นบุตรบุญธรรม)
  • มีบุตรแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ คราวละไม่เกิน 3 คน
  • หากพ่อและแม่เป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ สามารถใช้สิทธิรับเงินสงเคราะห์บุตร ได้เพียง 1 สิทธิ

*กรณีขอเงินสงเคราะห์บุตรย้อนหลัง จะขอได้เพียง 1 ปีย้อนหลังเท่านั้น และต้องส่งเงินสมทบมา 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือนก่อนคลอดถึงจะมีสิทธิได้รับเงิน

ยื่นของ่าย เพียงเตรียมเอกสารให้พร้อม

การยื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตร ใช้เตรียมเอกสาร ดังนี้
เอกสารที่ต้องใช้
แบบฟอร์มคำขอ กรณียังไม่เคยยื่นใช้สิทธิประโยชน์ทดแทน
  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01) คลิกที่นี่
กรณี เคยยื่นใช้สิทธิแล้ว และต้องการใช้สิทธิ์สำหรับลูกคนเดิม (เนื่องจากผู้ปกครองเปลี่ยนมาตรา เปลี่ยนงาน ตกงานแล้วได้งานใหม่ ให้ยื่นคำขอใหม่)
  • หนังสือขอใช้สิทธิบุตรคนเดิม กรณีกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน จำนวน 1 ฉบับ คลิกที่นี่
กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ
  • สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) 1 ชุด
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประกันตน
กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ
  • สำเนาทะเบียนสมรส /สำเนาทะเบียนหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตน/สำเนาทะเบียนรับรองบุตร/สำเนาคำพิพากษา/คำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย 1 ชุด
  • สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย 1 ชุด)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประกันตน
กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล
  • สำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย 1 ชุด
กรณีผู้ประกันตนต่างชาติขอรับประโยชน์ทดแทน
  • สำเนาบัตรประกันสังคม และสำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ 1ชุด
สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร(หน้าแรก) ประเภทออมทรัพย์ จำนวน 1 ฉบับ
*ปัจจุบันสำนักงานประกันสังคมสนับสนุนให้ผู้ประกันตนรับเงินสงเคราะห์บุตรผ่านพร้อมเพย์ (เลขบัตรประชาชน) โดยแจ้งข้อมูลได้ที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน
  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
  • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)

เมื่อเอกสารพร้อมแล้ว อย่าลืมรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับและพกเอกสารต้นฉบับไปด้วยเผื่อเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ หากเอกสารหลักฐานเป็นภาษาต่างประเทศ ให้จัดทำคำแปลภาษาไทยและรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน

มีลูกช่วงไหน ก็ยื่นได้ตลอด

การยื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตรนั้นสามารถทำได้ตลอด เพราะเป็นสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมที่ผู้ประกันตนสามารถยื่นขอได้
เมื่อยื่นคำขอเรียบร้อยแล้ว จะได้รับเงินเข้าบัญชีหลังได้รับสิทธิผ่านไปแล้ว 3 เดือน เช่น หากยื่นขอรับสิทธิสงเคราะห์บุตรในเดือนมกราคม 2565 เงินจะเข้าบัญชีปลายเดือนเมษายน 2565 โดยปกติเงินจะเข้าทุกสิ้นเดือน หากวันสิ้นเดือนตรงกับเสาร์-อาทิตย์ก็จะเลื่อนมาจ่ายในวันศุกร์ก่อนวันสิ้นเดือนแทน
อย่างไรก็ตาม หากเกิดเงินเข้าล่าช้า อาจเป็นเพราะ
  • ส่งเงินประกันสังคมไม่ครบทุกเดือน
  • ลาออกจากงาน ตกงาน ไม่ได้ส่งเงินประกันสังคม เปลี่ยนงาน ทำให้สถานะการเป็นผู้ประกันตน เปลี่ยนจากมาตรา 33 เป็นมาตรา 39 จะต้องยื่นเรื่องใหม่

ยื่นของ่าย ได้เงินแน่

การยื่นขอและตรวจสอบสถานะ มีดังนี้

  1. กรอกแบบฟอร์ม สปส.2-01 แล้วลงลายมือชื่อ เสร็จแล้วให้นำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน หรือส่งผ่านไปรษณีย์ (หากต้องการยื่นคำขอสำหรับบุตร 3 คนพร้อมกัน สามารถใช้แบบคำขอฯ ชุดเดียวกันได้)
  2. หลังจากนั้น รอเจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและอนุมัติ
  3. สำนักงานประกันสังคมจะมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
  4. เมื่อผ่านการพิจารณาแล้ว จะมีการจ่ายเงินเป็นรายเดือนโดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร

จะส่งทางไหนก็ได้รับสิทธิ

สามารถยื่นเอกสารขอรับเงินสงเคราะห์ ได้โดยส่งแบบฟอร์มและเอกสารประกอบผ่านช่องทางเหล่านี้
สำนักงานประกันสังคม
ไปรษณีย์
  • ยื่นเอกสารผ่านสำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
  • เตรียมเอกสารครบถ้วน ปิดผนึกใส่ซองและส่งไปยังสำนักงานกระกันสังคมในพื้นที่

เช็กสิทธิได้ง่าย ผ่านออนไลน์

สามารถเช็กสิทธิได้ทั้งทางแอปพลิเคชัน SSO Connect และเว็บไซต์ของประกันสังคม หรือแอปพลิเคชันธนาคารที่ใช้ยื่นรับสิทธิ
  • เว็บไซต์ประกันสังคม
    • ล็อกอินเข้าสู่ระบบสมาชิก ผ่านเว็บไซต์ประกันสังคม
    • จากนั้นไปที่เมนู การใช้สิทธิประโยชน์ทดแทน
    • จะพบหน้าจอแสดงรายการการจ่ายเงินสงเคราะห์บุตร
  • แอปพลิเคชัน SSO Connect (iOS / Google play)
    • ดาวโหลดแอปพลิเคชัน SSO Connect แล้วเข้าสู่ระบบประกันสังคม
    • ไปที่เมนู เบิกสิทธิประโยชน์
    • หน้าจอจะแสดงรายการจ่ายเงินสงเคราะห์บุตร
  • แอปพลิเคชันธนาคาร
    • เช็กเงินเข้าจากแอปพลิเคชันธนาคารที่แจ้งไว้ เมื่อเงินเข้าก็จะได้รับแจ้งเตือนทันที

เมื่อผู้ประกันตนก็ได้ทราบถึงเงื่อนไข คุณสมบัติ ขั้นตอนการขอยื่นรับสิทธิเงินสงเคราะห์บุตร รวมถึงมีความเข้าใจถึงความแตกต่างของเงินสงเคราะห์บุตรและสวัสดิการเด็กอื่น ๆ แล้ว ก็เตรียมเอกสารให้พร้อม เพื่อที่จะไม่พลาดการรับสิทธิกรณีสงเคราะห์บุตรไป หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่สายด่วนประกันสังคม 1506 หรือ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม

Link ที่เกี่ยวข้อง

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า