ประกันสังคม

เด็กไทย มีสิทธิ์ได้เงินช่วยเหลืออะไรบ้าง

เกิดเป็นเด็กไทยต้องมีสิทธิ เพื่อให้อนาคตของชาติได้รับความคุ้มครองสิทธิในชีวิต สุขภาพ สิทธิด้านการศึกษาอย่างทั่วถึง เพราะวัยเด็กเป็นวัยที่สำคัญที่ต้องได้รับโอกาสในการเติบโต พัฒนา และช่วยเหลืออย่างเท่าเทียม บทความนี้ จะพาไปดูว่ามีสิทธิอะไรบ้างที่เด็กทุกคนจะได้รับ ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเติบโตขึ้น

Link ที่เกี่ยวข้อง

“เด็ก” คือใคร

คำจำกัดความในทางกฎหมายของ “เด็ก” คือ ผู้เยาว์ หรือ คนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ยังไม่บรรลุนิติภาวะ และได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย ให้ได้รับการช่วยเหลือ มีสวัสดิภาพ สิทธิในด้านต่าง ๆ ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก โดยสิทธิที่เด็กจะได้รับต้องมีความเท่าเทียมและไม่ถูกละเมิด

เด็ก และ เยาวชน ต่างกันอย่างไร?

แม้ว่า “เด็ก” และ “เยาวชน” จะมีความหมายที่ใกล้เคียงกัน แต่สามารถให้คำจำกัดความออกมาได้ คือ เด็ก คือคนที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้ปกครอง ส่วนเยาวชน คือ คนที่มีช่วงวัยอยู่ระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ อาจต้องมีคนช่วยดูแล แต่ไม่ต้องใกล้ชิดเท่ากับเด็ก

เด็ก
เยาวชน
พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัว 15 ปี 15 -17 ปี
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) 18 ปี 18 -25 ปี
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้เยาว์อายุน้อยกว่า 20 ปี

4 สิทธิเด็กที่ควรรู้

ถึงจะเป็นเด็ก แต่ก็ต้องได้รับสวัสดิการด้วยเหมือนกัน ประเทศไทยได้ลงนามเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2535 จึงได้มีการบังคับใช้สิทธิตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Right of the Child) ซึ่งตัวอนุสัญญาฯ มีทั้งหมด 54 ข้อ แต่สาระสำคัญนั้นจะครอบคลุมเรื่องสิทธิของเด็ก 4 ด้านด้วยกัน ตั้งแต่ลืมตาดูโลกจนเติบโต ดังนี้

สิทธิ
รายละเอียด
สิทธิที่จะมีชีวิตรอด เริ่มตั้งแต่เกิดโดยครอบคลุมตั้งแต่
  • สิทธิที่จะมีชีวิตรอดปลอดภัย
  • สิทธิที่จะได้รับการแจ้งเกิด
  • สิทธิที่จะมีชื่อ
  • สิทธิที่จะได้รับสัญชาติ
  • สิทธิที่จะได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่และได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างเหมาะสม
สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง ได้รับความคุ้มครองจากการทารุณกรรมทุกรูปแบบ
  • การทารุณกรรมทางร่างกาย จิตใจ
  • การทารุณกรรมทางเพศ รวมถึงการล่วงละเมิดทางเพศ
  • การใช้ประโยชน์จากเด็กในทุกรูปแบบ เช่น การค้าประเวณีเด็ก การขายเด็ก การนำเด็กไปใช้ขอทาน หรือการลักพาเด็ก
  • การคุ้มครองในเรื่องสารเสพติด สารอันตราย สารมีพิษ และสิ่งเสพติด
สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา เด็กมีสิทธิที่จะได้รับการพัฒนาในด้านต่าง ๆ
  • การพัฒนาในระดับปฐมวัย
  • การศึกษาอย่างมีคุณภาพ หรือ ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี
  • ได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อที่หลากหลาย โดยมีพ่อแม่เป็นผู้คอยช่วยแนะนำ
  • เด็กที่มีความจำเป็นพิเศษ เช่น เด็กพิการ ต้องได้รับการดูแลให้มีชีวิตที่ดี ได้รับโอกาสพัฒนาและการศึกษาที่เหมาะสมจนเติบโตพึ่งพาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ ตลอดจนมีส่วนร่วมในชุมชน
  • สิทธิด้านการพัฒนานี้นี้ยังรวมถึงการต่อยอดไปสู่ทักษะเฉพาะต่างๆ
สิทธิที่จะมีส่วนร่วม เป็นสิทธิที่ให้ความสำคัญกับ
  • การแสดงออกด้านความคิด
  • การแสดงออกด้านการกระทำ
  • การตัดสินใจและการปกป้องเรียกร้องผลกระทบที่มีผลกับชีวิตความเป็นอยู่ของเด็ก แต่ต้องไม่กระทบสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
สิทธิเด็กทั้ง 4 ด้านเป็นสิ่งที่ประเทศ ไทยได้ปฏิบัติตามข้อตกลงในอนุสัญญามาโดยตลอด และให้การสนับสนุนเด็กเป็นอย่างดี โดยจะเห็นได้จากการมีสวัสดิการและเงินช่วยเหลือดูแลเด็กในช่วงอายุต่าง ๆ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่แรกเกิด จนกระทั่งเติบโตขึ้น

สิทธิและสวัสดิการช่วยเหลือเด็กไทย

ตามอนุสัญญาสิทธิเด็กข้อที่ 26 ระบุว่า “รัฐควรให้ความช่วยเหลือ ทั้งทางการเงิน และด้านอื่น ๆ แก่เด็กที่ครอบครัวยากจน” ฉะนั้นเพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาและสิทธิขั้นพื้นฐานที่เท่าเทียมกันตั้งแต่เกิด จึงได้มีโครงการและสวัสดิการให้เงินช่วยเหลือกับเด็กผ่านผู้ปกครอง เพื่อช่วยเหลือให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายโครงการ ดังนี้

เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (แรกเกิด-6 ปี)

เป็นสวัสดิการที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กในครอบครัวที่มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาท/ปี โดยจะช่วยเหลือเป็นเงินให้กับผู้ปกครองจำนวน 600 บาท/เดือน ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี เพียงการลงทะเบียนครั้งเดียว (ยกเว้นมีลูกเพิ่ม)

เงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน (แรกเกิด - 18 ปี, 20 ปี)

เป็นเงินช่วยเหลือจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ที่ให้กับครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและเดือดร้อนด้านการเงินจนไม่สามารถเลี้ยงดูเด็กได้ โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือ 1000 บาท/คน/เดือน หากมีลูกสองคนขึ้นไปหรือมีสิทธิได้เงินสูงสุด 3,000 บาท/เดือน

เงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม (แรกเกิด-6 ปี)

เป็นสิทธิประโยนช์จากสำนักงานประกันสังคมที่ให้กับผู้ประกันตน มาตรา 33 และ 39 และ 40 (ทางเลือกที่ 3) โดยจะได้รับเงินเดือนละ 800 บาท และ 200 บาท (สำหรับมาตรา 40 ทางเลือกที่ 3)
เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด เงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน เงินสงเคราะห์บุตร
เป้าหมายของโครงการ เพื่อแบ่งเบาภาระในการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เพื่อช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน เพื่อเป็นสิทธิตอบแทนอย่างหนึ่งสำหรับผู้ประกันตน และเพื่อแบ่งเบาภาระในการเลี้ยงดูบุตร
อายุ 0 - 6 ปี 0 - 18 ปี / กำลังเรียนอยู่ อายุไม่เกิน 20 ปี 0 - 6 ปี
จำนวนเงินที่ได้ 600 บาท/ เดือน 1,000 บาท/เดือน 800 บาท/ เดือน
ผู้ได้รับสิทธิ ครอบครัวที่มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาท/ปี
(เช็กคุณสมบัติ ที่นี่)
ครอบครัวที่ยากจน ประสบปัญหาหรือขาดแคลน
(เช็กคุณสมบัติ ที่นี่)
ผู้ประกัน ม.33, 39 และ ม.40
ทางเลือกที่ 3 (200 บาท/ เดือน)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กองทุนประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

เด็กไม่ได้เป็นเพียงมนุษย์ตัวจิ๋วที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคตเท่านั้น สิทธิและความช่วยเหลือที่เด็กจะได้รับนั้นมีความสำคัญ เพื่อให้เด็กสามารถเติบโตได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี และต้องได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างเต็มที่ นับตั้งแต่ลืมตาขึ้นมาดูโลก จนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ผู้ปกครองจึงต้องให้ความสำคัญกับสิทธิที่เด็กควรจะได้รับ หากผู้ใหญ่ในบ้านไม่สามารถให้ความช่วยเหลือกับเด็กได้ ยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่สามารถเข้าถึงและขอรับความช่วยเหลือได้ เพราะเด็กไทยจะต้องได้รับการดูแลที่เท่าเทียมทั่วถึง

Link ที่เกี่ยวข้อง

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า