เงิน เกษียณ

ออมยังไงให้มีเงินใช้หลังเกษียณ

คนที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานอาจคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว เมื่อต้องคิดถึงวัยเกษียณหรือการที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป แต่ความจริงแล้ว ถ้าเราไม่รีบวางแผนด้านการเงินตั้งแต่เนิ่น ๆ เมื่อถึงวัยเกษียณ ก็อาจมีเงินไม่เพียงพอที่จะใช้ในช่วงบั้นปลายชีวิต เพราะถ้าเพิ่งจะมาเริ่มต้นเก็บเงินก็อาจจะมีเวลาไม่พอ ดังนั้นเราจึงต้องวางแผนออมเงินไว้ล่วงหน้า เพื่อจะได้มีเงินมากพอที่จะใช้ในการดำรงชีวิตหลังเกษียณ

Link ที่เกี่ยวข้อง

ประกันสังคม

การเตรียมตัวก่อนวัยเกษียณ

เกษียณอายุ หมายถึง การครบกำหนดอายุการทำงาน หรือ สิ้นสุดเวลาการทำงานหลังจากทำงานมาตลอดทั้งชีวิต ซึ่งความพร้อมในวัยเกษียณของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ถ้าใครวางแผนล่วงหน้าไว้ดี ก็จะไม่ต้องกังวลกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในวัยเกษียณ

ออมเงินเพื่อเกษียณ เรื่องสำคัญของคนทำงาน

การออมเงิน ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ช่วยให้การใช้ชีวิตในช่วงหลังวัยเกษียณมีความราบรื่น มีคุณภาพชีวิตที่ดีไม่ต่างจากช่วงก่อนวัยเกษียณ โดยไม่รวมค่าใช้จ่ายที่มีความจำเป็นต้องใช้

จุดนี้ “เป้าหมายเกษียณ” นั้นถือว่าสำคัญมาก และการไปถึงเป้าหมายนี้ มี 3 สิ่งที่ควรคำนึงถึง ได้แก่

  1. เริ่มไวเท่าไหร่ก็ยิ่งดี การจะถึงเป้าหมายได้ไวนั้น วงเงินที่เก็บต้องไม่สูงมาก เพราะมีเวลาออมนาน
  2. การออมเงินให้ “ถูกที่-ถูกทาง” มาจากการทำงานได้เต็มศักยภาพ คุ้มค่ากับที่เราเหนื่อยหาเงิน
  3. บริหารเวลาให้คุ้มค่า…วางแผนออมเงินดีมีชัยกว่า ‘เวลา’ เป็นเรื่องสำคัญ เพราะยิ่งเริ่มต้นได้ไวเท่าไหร่ และบริหารจัดแผนการเพื่อให้เกิดแผนเก็บเงินที่เหมาะสมกับตัวเรามากเท่าไหน จำนวนเงินที่จะเตรียมไว้ใช้เกษียณก็มีมากเท่านั้น

เตรียมตัวอย่างไรก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ

  1. เตรียมร่างกายให้แข็งแรง ค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งของคนอายุ 60 ปีขึ้นไปคงหนีไม่พ้นค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และค่ารักษาพยาบาลต่าง ๆ ผู้สูงอายุจึงต้องสำรองเงินไว้สำหรับส่วนนี้ด้วย โดยตรวจสอบสิทธิการรักษาไว้ด้วยว่าตัวเองสามารถใช้สิทธิการรักษาอะไรได้บ้าง
  2. เตรียมใจ วัยเกษียณเป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลง จากที่เคยทำงานอยู่ทุกวัน ก็ต้องเปลี่ยนมาใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่กับบ้าน ดังนั้นต้องหากิจกรรมมาช่วยในเตรียมพร้อมและดูแลจิตใจ เช่น ฝึกสมาธิ ฝึกจิตใจให้ผ่อนคลาย หรือ หากิจกรรม หรืองานทำ เพื่อให้จิตใจเข้มแข็ง
  3. เตรียมเงินและทรัพย์สิน เงินคือปัจจัยสำคัญที่จะนำมาใช้จ่ายในวัยหลังเกษียณ ฉะนั้นก่อนที่วัยเกษียณจะมาถึง ผู้สูงอายุจึงต้องเตรียมเงินสำหรับใช้จ่ายไว้ให้พร้อมก่อน เพื่อจะได้รู้ว่าในอนาคตจะใช้เงินจำนวนเท่าไหร่ และมีเพียงพอหรือไม่

ประเมินและคำนวณเงินที่ต้องใช้ในวัยเกษียณ

  1. กำหนดอายุที่จะเกษียณ เพื่อจะได้รู้ว่ามีเวลาเตรียมเงินนานเท่าไหร่
  2. คาดการณ์ช่วงเวลาที่จะใช้ชีวิตหลังวัย 60 ปี เช่น 20 ปี เพื่อให้รู้ว่าต้องใช้เงินไปอีกสักกี่ปี รวมถึงประเมินสุขภาพร่างกายตัวเองด้วย
  3. คาดการณ์ค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน โดยต้องไม่ลืมเรื่องมูลค่าของเงิน (เงินเฟ้อ) จากนั้นให้คำนวณเงินเป็นรายปีตามช่วงอายุหลังเกษียณ
  4. คาดการณ์ว่าจะมีเงินออมไว้ใช้เท่าไหร่ โดยคำนวณจากแหล่งเงินออมต่าง ๆ ที่มี เช่น เงินบำเหน็จบำนาญ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินกองทุนประกันสังคม ประกันชีวิต เงินฝากอื่น ๆ
  5. คำนวณเงินออมที่มี เทียบกับเงินที่จะใช้หลังเกษียณ หากมีเงินไม่มากพอ ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย เช่น ลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย หรือลงทุนออมเงินเพิ่ม เช่น การลงทุนพันธบัตร หุ้นกู้ และกองทุนต่างๆ

ออมเงินเท่าไหร่ ถึงจะพอใช้ในวัยเกษียณ

ถ้าอยากรู้ว่าต้องออมเงินเท่าไหร่ ถึงจะพอใช้ในวัยเกษียณนั้น ให้เราลองประเมินดูว่า

จะมีชีวิตอยู่อีกกี่ปี?

  • คนส่วนใหญ่เกษียณเมื่ออายุ 60 ปี
  • ผู้ชายไทยจะมีอายุเฉลี่ย เท่ากับ 73.5 ปี
  • ผู้หญิงอายุเฉลี่ย เท่ากับ 80.5 ปี

หลังเกษียณจะใช้เงิน เดือนละเท่าไหร่?

ยกตัวอย่าง นาย A ปัจจุบันอายุ 30 ปี คาดการณ์จะเกษียณอายุ 60 ปี และจะมีชีวิตถึง 80 ปี โดยอยากใช้เงินเดือนละ 20,000 บาท (ไม่รวมค่ารักษาพยาบาล ท่องเที่ยว เปลี่ยนรถยนต์ หรือซ่อมบ้าน) แต่ต้องไม่ลืมว่า เงิน 20,000 บาทวันนี้ อาจจะมีค่าเป็น 40,000 บาท ในอีก 30 ปีข้างหน้า

ดังนั้น เมื่อ นาย A อายุ 60 ปี จะต้องมีเงินออมเพื่อเกษียณราว 11 ล้านบาท และวางแผนว่าหลังเกษียณจะต้องลงทุนให้ได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 4% เพื่อให้มีเงินพอใช้จนถึงอายุ 80 ปี

แนะนำโปรแกรมคำนวณเงิน

เราสามารถคำนวณเงินเกษียณของตัวเองได้อย่างละเอียด โดยใช้เครื่องมือคำนวนเงินออมจากเว็บไซต์ ต่อไปนี้

แนะนำ แผนการออมเงินสำหรับวัยเกษียณ

การออมงินเพื่อเกษียณ ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ช่วยให้การใช้ชีวิตในช่วงวัยเกษียณราบรื่น มีคุณภาพชีวิตที่ดีเหมือนช่วงที่ยังทำงานอยู่ ซึ่งการออมมีหลายเประเภท เช่น ออมหุ้น-ออมกองทุน ฝากเงินกับธนาคาร ประกันบำนาญ หรือออมเงินผ่านกองทุนวัยเกษียณต่าง ๆ ดังนี้

ประกันสังคม
เงินออมประกันสังคม
ประกันสังคม
กอช
ประกันสังคม
กบข
อื่นๆ

เงินออม (ชราภาพ) ประกันสังคม

กองทุนประกันสังคมเพื่อชราภาพ เป็นส่วนหนึ่งของกองทุนประกันสังคม ที่ให้ความคุ้มครอง 7 กรณีดังนี้คือ

  1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย   
  2. ทุพพลภาพ   
  3. เสียชีวิต  
  4. กรณีคลอดบุตร  
  5. สงเคราะห์บุตร   
  6. ชราภาพ  
  7. ว่างงาน (มีผลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2547)

เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนจะได้รับเงินก้อนครั้งเดียวเมื่อครบอายุ 55 ปี ในกรณีที่ส่งเงินเข้ากองทุนน้อยกว่า 180 เดือนจากปกติผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญรายเดือนไปตลอดชีพ แต่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนไม่น้อยกว่า 180 เดือน หรือกรณีผู้รับบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 60 เดือน นับจากเดือนที่มีสิทธิได้รับบำนาญชราภาพ จำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับงวดสุดท้ายก่อนเสียชีวิต 

กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)

กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) คล้ายกับกองทุนชราภาพจากประกันสังคม และการันตีเงินบำนาญให้สมาชิกเมื่อออมได้ตามเงื่อนไข โดยเฉพาะคนที่มีอายุ 15-60 ปี เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ (ฟรีแลนซ์) การออมเงินกับ กอช. ถือว่าตอบโจทย์มากที่สุด เพราะสมาชิกสามารถเลือกออมได้โดยสมัครใจ เมื่อครบอายุ 60 ปี ก็จะจ่ายเงินแบบบำนาญรายเดือนเท่านั้น ที่สำคัญเรามีสิทธิได้รับเงินสมทบจากภาครัฐบาลตามขั้นอายุ ยิ่งอายุมากรัฐก็จะช่วยสมทบให้มากขึ้นสูงสุด 80% ไม่เกิน 960 บาทต่อปี

กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)

กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข. เป็นการออมเกษียณภาคบังคับสำหรับข้าราชการในประเทศไทยโดยสมาชิกต้องสะสมเงินอย่างน้อย 3% ของเงินเดือนและสามารถสะสมเพิ่มได้อีกสูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินเดือน และรัฐบาลจะให้เพิ่มอัตรา 3%  

แผนการออมเงินอื่น ๆ

นอกจากแผนการออมเงินที่พูดถึงก่อนหน้านี้แล้ว ยังสามารถวางแผนออมเงินเพื่อนำไปใช้ในวัยเกษียณได้ เช่น กองทุน (ยกตัวอย่าง กองทุน SSF เป็นกองทุนรวมที่มีสิทธิทางภาษี กองทุน RMF) การทำประกันชีวิต เงินฝาก และประกันบำนาญ เป็นต้น

แผนการออมเงินที่ทำร่วมกันได้

แผนการออมเงินที่ทำร่วมกันได้นั้น แบ่งเป็น 3 กรณี

  • การออมเงินกับกบข. เหมาะกับข้าราชการ แล้วยังสามารถซื้อประกันชีวิต ประกันบำนาญ ฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ ซื้อกองทุน RMF หรือ กองทุน SSF ซึ่งสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนประกันสังคมเหมาะสำหรับพนักงานเอกชน นอกจากนี้ก็ยังออมเงินแบบประกันชีวิต ประกันบำนาญ หรือ ออมในรูปกองทุน RMF กองทุน SSF รวมถึงประกันบำนาญได้อีกด้วย
  • กองทุนการออมแห่งชาติ หรือกอช. เหมาะกับอาชีพอิสระ และยังสามารถออมเงินแบบประกันชีวิต ประกันบำนาญ หรือ ออมในรูปกองทุน RMF กองทุน SSF รวมถึงประกันบำนาญได้เช่นเดียวกัน

การเตรียมความพร้อมก่อนวัยเกษียณอายุ ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการวางแผนดำเนินชีวิตให้มีความสุข ผู้สูงอายุจึงต้องเตรียมความพร้อม ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สุขภาพ เงินออมที่มี และสิทธิการรักษาต่าง ๆ เพื่อจะได้มีวัยเกษียณที่สามารถใช้ชีวิตในแบบที่ตัวเองต้องการ และได้ใช้เวลาพักผ่อนได้อย่างสบายใจ

Link ที่เกี่ยวข้อง

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า