ผู้สูงอายุจะได้สิทธิ์ สวัสดิการอะไรบ้าง

สังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่ สังคม“ผู้สูงอายุ” ไปเรียบร้อยแล้ว หากนับจำนวนผู้สูงอายุ ตามคำนิยามของพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ ปี พ.ศ. 2546 หมายถึง ผู้ที่มีสัญชาติไทยอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนมากถึง 12 ล้านคน จนถือได้ว่าเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ในประเทศ รู้กันหรือไม่ว่าเมื่อเราเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว จะได้รับการคุ้มครอง สิทธิและสวัสดิการผู้สูงอายุอะไรบ้าง

Link ที่เกี่ยวข้อง

ประกันสังคม

ผู้สูงอายุควรได้รับสิทธิ คุ้มครองอะไรบ้าง?

รู้มั้ย! ทำไมผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปรัฐจึงออกกฏหมายคุ้มครอง และจัดสวัสดิการผู้สูงอายุให้ ก็เพราะสมรรถนะของร่างกายที่เสื่อมถอยลง ทำให้มีข้อจำกัดในการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือเข้าไม่ถึงการมีส่วนร่วมของสังคม ขณะที่ผู้สูงอายุของไทยมีปัญหาด้านสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงจำนวนมาก

ทำให้กฎหมายรัฐธรรมนูญ และ กฎหมายผู้สูงอายุปี 2546 กำหนดให้ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายในด้านต่าง ๆ เพื่อดูแล

  • ด้านสุขภาพ จัดบริการ และการดุแลสุขภาพผุ้สูงอายุ เช่น การจัดช่องทางพิเศษ จัดเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ จัดการดูแลสุขภาพในระยะยาว
  • ด้านเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุต้องเข้าถึงเบี้ยยังชีพรายเดือนอย่างเป็นธรรรม จัดหากองทุนกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพ ลดหย่อนภาษี หรือ ลดค่าเดินทางเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผุ้สูงอายุ
  • ด้านสังคม ส่งเสริมการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัยแก่ผู้สูงอายุ จัดกิจกรรมทางสังคม การเปิดให้เข้าชมฟรี ในสถานที่ต่าง ๆ ของรัฐ
  • ด้านสิ่งแวดล้อม จัดอำนวยความสะดวก สภาพแวดล้อม ทั้งในเรื่องสถานที่ บ้านพักอาศัย เพื่อให้ผู้สูงอายุดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข ความปลอดภัย
  • ด้านการสงเคราะห์ ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ได้รับอันตราย กรณีถูกทารุญกรรม หรือถูกแสวงหาประโยชน์ หรือถูดทอดทิ้ง
ประกันสังคม

สิทธิ-สวัสดิการผู้สูงอายุ ที่จะได้รับมีอะไรบ้าง

สวัสดิการที่รัฐจัดหาให้ เมื่อเราอายุ 60 ปีแล้ว มีอะไรบ้าง? หากลองแยกเป็นประเภทต่าง ๆ พบว่าสิทธิและสวัสดิการผู้สูงอายุต่าง ๆ สามารถแบ่งออกได้ทั้งหมด 16 เรื่อง

  1. เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จัดสรรให้ผู้สูงอายุทุกคนแบบขั้นบันไดตั้งแต่ 60 ขึ้นไป
  2. ลดราคาค่าโดยสาร ให้แก่ผู้สูงอายุมากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ อาทิ รถโดยสารประจำทาง รวมถึงเรือโดยสาร ลดค่าโดยสาร 50 เปอร์เซ็นต์ พร้อมแสดงบัตรประชาชน และรถไฟ มีส่วนลด 50 เปอร์เซ็นต์ ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายนถึง 30 กันยายนของทุกปี
  3. ลดหย่อนภาษีให้แก่บุตรได้ โดยผู้ที่เลี้ยงดูบิดามารดา สามารถขอลดหย่อนภาษี จำนวน 3 หมื่นบาทต่อผู้สูงอายุ 1 คนต่อปี
  4. กู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพ ผู้สูงอายุที่ยังสามารถประกอบอาชีพได้ แต่ไม่มีเงินทุน สามารถยื่นกู้ยืมเงินปลอดดอกเบี้ยจากกองทุนผู้สูงอายุได้ ดังนี้ รายบุคคล ได้วงเงินไม่เกิน 3 หมื่นบาทต่อคน และรายกลุ่ม ตั้งแต่5 คนขึ้นไป ได้วงเงินไม่เกิน 1 แสนบาท แต่ต้องเป็นการกู้ที่มีผู้ค้ำประกัน และต้องชำระคืนทุกเดือนเป็นระยะเวลา 3 ปี
  5. ขอปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมและปลอดภัย กับหน่วยงานบริการ ได้แก่ กรม ผส. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) เพื่อพิจารณา และจัดสรรในอัตราเหมาจ่าย 22,500 บาท หรือ 40,000 บาท
  6. สิทธิทางอาชีพ โดย กรมการจัดหางาน สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานคร จัดบริการให้คำปรึกษา แนะนำ และรับสมัครงานสำหรับผู้สูงอายุ
  7. สิทธิเข้าถึง สิ่งอำนวยความสะดวก ในพื้นที่สาธารณะหลายแห่ง เช่น ลิฟต์ ราวบันได ทางลาด ที่จอดรถ ห้องน้ำ ฯลฯ
  8. สิทธิการศึกษา พัฒนาหลักสูตรบริการทางการศึกษา เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้ตลอดชีวิต สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุ
  9. สิทธิการแพทย์ ผู้สูงอายุสามารถเข้ารับบริการและดูแลสุขภาพด้านต่าง ๆ จัดบริการและดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ เช่นจัดช่องทางพิเศษ จัดเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวก บำบัดฟื้นฟู และการดูแลระยะท้าย
  10. สิทธิการช่วยเหลือทางกฎหมาย กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม มีบริการให้คำปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือ
  11. ยกเว้นค่าเข้าชมสถานที่ของรัฐ ผู้สูงอายุสามารถเข้าชมฟรี เช่น พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ สวนพฤกษศาสตร์ สวนสัตว์ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นต้น
  12. เปิดให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่น สถานกีฬาต่าง ๆ ส่วนศูนย์กีฬาในร่ม ได้ลดค่าสมัครสมาชิก 50 เปอร์เซ็นต์
  13. การสงเคราะห์ช่วยเหลือ มีบริการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ถูกทารุณกรรม ถูกทอดทิ้ง ถูกหาประโยชน์ ด้วยการนำไปรักษาพยาบาล ดำเนินคดี จัดหาที่พักอาศัยปลอดภัย ฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ
  14. การจัดบริการสถานที่ท่องเที่ยว การจัดกิจกรรมกีฬา และนันทนาการตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติประกาศกำหนด
  15. สิทธิในการเข้ามีส่วนร่วมกิจกรรมในสังคม เช่น ชมรมผู้สูงอายุ การถ่ายทอดภูมิปัญญาผู้สูงอายุเป็นต้น
  16. การสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี ผู้สูงอายุอยู่ในครอบครัวที่ยากจนตามข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ไม่มีญาติ หรือมีญาติแต่มีฐานะยากจนไม่สามารถจัดการศพตามประเพณีได้ จะได้รับการช่วยเหลือรายละ 2,000 บาท

สวัสดิการ เบี้ยยังชีพ บำเหน็จ–บำนาญ

หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ประเทศไทย จัดระบบสวัสดิการผู้สูงอายุที่เป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน สำหรับผู้สูงอายุได้รับการดำรงชีพเอาไว้หลายแบบตามสิทธิของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุสามารถรับสิทธิสวัสดิการมากกว่าหนึ่งสิทธิได้ไหม? หากมีสิทธิประกันสังคม(ชราภาพ) แล้วยังรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้หรือไม่?

คำตอบ คือ
  • ผู้สูงอายุที่มีสิทธิรับเงินชราภาพประกันสังคม ยังมีสิทธิรับเบี้ยยังชีพของรัฐเพิ่มได้อีก เพราะไม่ผิดหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
  • ผู้สูงอายุที่มีสิทธิข้าราชการ ได้รับเงิน “บำเหน็จ- บำนาญ” จะไม่สามารถรับสิทธิ “เบี้ยยังชีพ” เพิ่มได้อีก เนื่องจากได้รับสิทธิสวัสดิการจากหน่วยงานรัฐ (เบี้ยบำนาญ) ไปแล้ว

ลองมาเช็กกันว่า ใครมีสิทธิได้รับสวัสดิการแบบไหนบ้าง?

  1. “เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ”
    คนที่มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ คือ ผู้สูงอายุสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป รวมถึงผู้ประกันตนที่ได้รับเงินชราภาพจากประกันสังคม โดยรับเงินได้แบบขั้นบันได
    • อายุ 60-69 ปี ได้รับ 600 บาทต่อเดือน
    • อายุ 70-79 ปี ได้รับ 700 บาทต่อเดือน
    • อายุ 80-89 ปี ได้รับ 800 บาทต่อเดือน
    • อายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับ 1,000 บาทต่อเดือน
  2. “บำเหน็จ- บำนาญ”ตามสิทธิประกันสังคม
    ผู้ที่ได้รับสิทธิ “บำนาญชราภาพ” ตามสิทธิประกันสังคม จะต้องเป็นผู้ประกันตน ตาม ม. 33 หรือ ม.39 อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือน (15 ปี) ขึ้นไป จะได้รับ “เงินบำนาญ” เป็นรายเดือนตลอดชีวิตผู้ที่จะได้สิทธิ “บำเหน็จชราภาพ” คือ ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 180 เดือน หรือ ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเป็นเงินก้อน
  3. “บำเหน็จ- บำนาญ” ตามสิทธิข้าราชการ
    เงินบำเหน็จ-บำนาญ ตามสิทธิข้าราชการ คือ เงินที่ราชการจ่ายให้ข้าราชการ เพื่อเป็นการตอบแทนการรับราชการ โดยจ่ายเป็นเงินก้อนเดียว (บำเหน็จ) หรือ จ่ายรายเดือน จนกว่าจะเสียชีวิต หรือหมดสิทธิการรับบำนาญ
  1. ผู้จะได้รับเงินบำนาญ
    • ข้าราชการที่มีครบ 60 ปี หรือ อายุครบ 55 ปีประสงค์ออกจากราชการ โดยมีเวลาทำงานในราชการตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป
    • ข้าราชการที่ออกจากราชการเนื่องจากเลิกหรือยุบตำแหน่ง มีเวลาราชการตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
    • ข้าราชการที่เจ็บป่วยทุพพลภาพ ที่มีแพทย์ตรวจรับรองไม่สามารถรับราชการได้ มีเวลาราชการตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
  2. ผู้จะได้รับเงินบำเหน็จ
    • ข้าราชการที่มีครบ 60 ปี หรือ อายุครบ 55 ปีประสงค์ออกจากราชการ โดยมีเวลาทำงานในราชการตั้งแต่ 10 ปี ไม่ถึง 25 ปี
    • ข้าราชการที่ออกจากราชการเนื่องจากเลิกหรือยุบตำแหน่ง มีเวลาราชการตั้งแต่ 1-10 ปี
    • ข้าราชการที่เจ็บป่วยทุพพลภาพ ที่มีแพทย์ตรวจรับรองไม่สามารถรับราชการได้ มีเวลาราชการตั้งแต่ 1-10 ปี
ประกันสังคม

เมื่อสังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว จึงต้องเตรียมตัวรับมือโดยตรวจสอบสิทธิ สวัสดิการผู้สูงอายุที่ควรจะได้รับเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน อย่างมีคุณภาพและสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยผู้สูงอายุที่ได้รับสิทธิสวัสดิการเงินชราภาพประกันสังคม ยังสามารถได้รับสิทธิ”เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้” ส่วนผู้สูวอายุที่ได้รับสิทธิข้าราชการ “รับเงินบำเหน็จ- บำนาญ”จะไม่ได้รับสิทธิอื่น ๆ เพิ่มอีก

Link ที่เกี่ยวข้อง

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า