ขึ้นทะเบียน SME

ชวนมาขึ้นทะเบียน SME เพิ่มโอกาสการจัดซื้อจัดจ้างกับภาครัฐ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าฟันเฟืองสำคัญที่ผลักดันเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตชิ้นหนึ่งของประเทศคือ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SME) ที่ผลักดันให้เกิดการหมุนเงินในระบบเศรษฐกิจตั้งแต่มหภาคไปจนถึงคนรากหญ้า ซึ่งตลาดที่กลุ่มผู้ประกอบการ SME สนใจและให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ คือ ตลาดการจ้างงานจากภาครัฐ ซึ่งหากคุณเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่สนใจจะเข้างานรัฐและอยากมีแต้มต่ออย่างง่าย ๆ บทความนี้อาจช่วยให้คุณกลับมาเป็นผู้นำในการแข่งขันก็เป็นได้

Link ที่เกี่ยวข้อง

ทำไมต้องขึ้นทะเบียน

การขึ้นทะเบียน SME กับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เป็นการรวบรวมฐานข้อมูลการทำธุรกิจของ SME ให้เป็นปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยให้ SME สามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ แนวทางในการประกอบธุรกิจ และการจัดซื้อจัดจ้างกับภาครัฐ ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสให้ SME ได้พบเจอลูกค้ากับลูกค้ารายใหม่ ๆ ได้ง่ายขึ้น เพราะ สสว. ได้ขึ้นบัญชีสินค้าหรือบริการไว้ไม่น้อยกว่า 30% ของงบประมาณจัดซื้อจัดจ้าง รวมทั้งส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่ผลิตภายในประเทศ 60% จึงเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับ SME ให้มีมากขึ้น

ข้อดีของการขึ้นทะเบียน SME

ผู้ประกอบการ SMEs จะได้ประโยชน์อะไรบ้างจากการขึ้นทะเบียน

  1. ได้รับโควต้าในการจัดซื้อจัดจ้าง หน่วยงานรัฐที่ใช้วิธีคัดเลือกในการจัดซื้อจัดจ้าง จะมีการออกหนังสือเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไข ให้เข้ามายื่นข้อเสนอ ซึ่งเป็นข้อกำหนดว่าภาครัฐจะต้องจัดซื้อจัดจ้างจาก SMEs ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของวงเงินจัดซื้อจัดจ้าง และในกรณีหน่วยงานรัฐในจังหวัดต่าง ๆ ทำการจัดซื้อจัดจ้าง จะต้องให้สิทธิ SMEs ในจังหวัดที่ได้รับการคัดเลือกก่อน และช่วยให้เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างได้ง่ายขึ้น
  2. ได้แต้มต่อจากการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธี E-bidding จะให้แต้มต่อแก่ SMEs สามารถเสนอราคาสูงกว่าราคาต่ำสุดไม่เกิน 10% ระบบการขึ้นทะเบียน SME จะเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะเข้าถึงตลาดภาครัฐและเป็นการเพิ่มแต้มต่อสำคัญของ SME ที่สามารถเข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐที่มีมูลค่ากว่า 1.3 ล้านล้านบาทต่อปีได้ เพราะมีโควต้าที่ภาครัฐกำหนดไว้ชัดเจนว่าจะต้องมีการจัดซื้อจัดจ้างจาก SME ด้วย นอกจากนี้ ผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนยังจะได้แต้มต่อถึง 10% ในการแข่งขันจากการประมูลหรือ E-Bidding อีกด้วย
  3. SMEs จะได้รับประโยชน์จากมาตรการส่งเสริม และการสนับสนุนของหน่วยงานรัฐ ซึ่งเป็นการรันตีด้านเครดิตให้กับผู้ประกอบการในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เช่น สินเชื่อ การร่วมลงทุน การค้า การค้ำประกันสินเชื่อ การให้เงินอุดหนุน การพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ การขยายตลาด สิทธิประโยชน์ทางภาษี
  4. ผู้ประกอบการ SMEs มีสิทธิเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ จากกองทุนส่งเสริม SMEs ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เพิ่มขีดการแข่งขันของผู้ประกอบการในการเริ่มต้นธุรกิจ หรือขยายธุรกิจเพื่อก้าวไปสู้ในเวทีโลก หรือฟื้นฟูธุรกิจ และเป็นการเพิ่มโอกาสในการแข่งขับกับผู้ประกอบการรายใหญ่
  5. ผู้ประกอบการ SMEs ที่ขึ้นทะเบียนจะสามารถเข้าร่วมกิจกรรมหรือร่วมโครงการ ที่ สสว. จัดให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs เช่น ให้คำปรึกษา แนะนำหรือ ฝึกอบรมความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนส่งเสริมช่องทางการตลาดรูปแบบต่าง ๆ

SMEs ขึ้นทะเบียนจัดซื้อจัดจ้าง ได้รับประโยชน์อย่างไร

ผู้ประกอบการที่ได้ขึ้นทะเบียน ในระบบทะเบียน SME เพื่อการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลบัญชีรายชื่อผู้ประกอบการ และรายการสินค้าหรือบริการของ SME โดยการขึ้นทะเบียนของผู้ประกอบการ SME จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการแข่งขันด้านราคาให้กับผู้ประกอบการ รวมถึงสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ดังนี้

การกำหนดแต้มต่อ

SMEs ที่ขึ้นทะเบียนจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ จะได้ประโยชน์ โดยมีกำหนดแต้มต่อหรือเงื่อนไขพิเศษ ที่สามารถนำไปแข่งกับผู้ประกอบการรายใหญ่ได้ เช่น แต้มต่อด้านราคา คือสามารถเสนอราคาสูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้เสนอราคารายอื่นได้ แบ่งออกเป็น ประเภทต่าง ๆ ดังนี้

กรณีการจัดซื้อให้หน่วยงานรัฐกำหนด Spec

เป็นสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ สิทธิประโยชน์สำหรับงานซื้อ คือ

  1. ถ้าเป็นผู้ประกอบการไทยที่ลงทะเบียน SME จะได้แต้มต่อด้านราคาไม่เกิน 10%
  2. ถ้าเป็นผู้ประกอบการไทยที่ไม่ได้เป็น SME จะได้แต้มต่อด้านราคาไม่เกิน 3%
  3. ถ้าเสนอสินค้า MIT (Made in Thailand) จะได้แต้มต่อด้านราคาไม่เกิน 5%

***ถ้าเป็นทั้ง SMEs และเสนอสินค้า MIT ได้แต้มต่อด้านราคา 15%***

                                                                             

กรณีงานจ้างที่มิใช่งานก่อสร้าง

ให้หน่วยงานของรัฐกำหนด TOR ว่าใช้พัสดุที่ผลิตภายในประเทศไม่น้อกว่า 60% ของพัสดุที่จะใช้ในงานจ้าง โดยสิทธิประโยชน์สำหรับงานจ้างทั่่วไป

  1. ถ้าเป็นผู้ประกอบการไทยที่ลงทะเบียน SME จะได้แต้มต่อด้านราคาไม่เกิน 10%
  2. ถ้าเป็นผู้ประกอบการไทยที่ไม่ได้เป็น SME จะได้แต้มต่อด้านราคาไม่เกิน 3%

                                                                             

กรณีการจ้างก่อสร้าง

ให้หน่วยงานของรัฐกำหนดในแบบรูปรายการว่าใช้พัสดุที่ผลิตภายในประเทศไม่น้อยกว่า 60%
และหากมีเหล็กให้ใช้เหล็กที่ผลิตภายในประเทศไม่น้อยกว่า 90% สิทธิประโยชน์สำหรับงานจ้างก่อสร้าง

  1. ถ้าเป็นผู้ประกอบการไทยที่ลงทะเบียน SME จะได้แต้มต่อด้านราคาไม่เกิน 10%
  2. ถ้าเป็นผู้ประกอบการไทยที่ไม่ได้เป็น SME จะได้แต้มต่อด้านราคาไม่เกิน 3%

                                                                             

ข้อดีของการขึ้นทะเบียนสินค้า MIT (Made in Thailand)

SME ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ สสว. และมีการเสนอสินค้าและบริการที่ได้รับการรับรองเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ (Made in Thailand : MIT) จะได้สิทธิประโยชน์ตามข้อกำหนดให้ภาครัฐมีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่ผลิตในประเทศ (MIT) ไม่น้อยกว่า 60% และสำหรับงานก่อสร้างให้ใช้เหล็กภายในประเทศไม่น้อยกว่า 90% ของปริมาณเหล็กที่ใช้งานก่อสร้างทั้งหมด

นอกจากนี้ SME ที่ได้ขึ้นทะเบียนสินค้า MIT ยังจะได้รับแต้มต่อจากทางภาครัฐ ดังนี้

สินค้าที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน MIT
ผู้ประกอบการ SME ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนรับรองสินค้า หรือ พัสดุ MIT จะไม่ได้รับแต้มต่อในจัดซื้อจัดจ้างจากทางภาครัฐ เพราะไม่มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าสินค้าดังกล่าวผลิตในประเทศทั้งหมด หรือเป็นเพียงการนำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศ แล้วนำมาประกอบภายในประเทศ

สินค้าที่ขึ้นทะเบียน MIT
ผู้ประกอบการ SME ที่ได้มีการเสนอสินค้าหรือบริการที่ได้รับการรับรอง MIT จะได้สิทธิประโยชน์แต้มต่อสำหรับการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของสภาอุตสาหกรรมฯ ที่กำหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐต้องใช้วัสดุที่ผลิตในประเทศ ไม่น้อยกว่า 40% ของส่วนประกอบของสินค้า

ใครขึ้นทะเบียนได้บ้าง?

SMEs ไทยที่สามารถขึ้นทะเบียนรับความช่วยเหลือและสนับสนุนจากภาครัฐ จะประกอบด้วย ผู้ประกอบการ SMEs ไทยทุกกลุ่มกิจการ ที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนด ประกอบด้วย

  • เป็นเจ้าของกิจการที่จดทะเบียนนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดา
  • เป็นผู้ประกอบการสัญชาติไทย
  • เป็นผู้ประกอบการรายย่อย และขนาดย่อม
    • ผู้ประกอบการรายย่อย (รายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ทั้งภาคการผลิตและภาคการค้าและบริการ)
    • ผู้ประกอบการขนาดย่อม (รายได้ภาคการผลิต ไม่เกิน 100 ล้านบาท และรายได้ภาคการค้าและบริการ ไม่เกิน 50 ล้านบาท)

อย่างไรก็ตาม SMEs ต้องเป็นกลุ่มธุรกิจ ที่มีการจ้างงานและสินทรัพย์ถาวร เช่น อาคาร อุปกรณ์สำนักงาน เครื่องจักร และยานพาหนะ (ไม่รวมที่ดิน) มีมูลค่าไม่เกินที่กำหนด ตัวอย่างเช่น ภาคการผลิตและภาคบริการ จ้างงานไม่เกิน 200 คน มูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 200 ล้านบาท ส่วนภาคการค้า จ้างงานไม่เกิน 50 คน มีสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 100 ล้าน เป็นต้น

ผู้ประกอบการ SMEs นับว่ามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ไทยเพิ่มความสามารถแข่งขันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ รัฐบาลจึงได้เร่งออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่มีจำนวนมากกว่า 3.1 ล้านราย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถเข้าถึงระบบการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐที่มีมูลค่าปีละกว่า 1.3 ล้านล้านบาทได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งมาตรการช่วยเหลือ SMEs ดังกล่าว รัฐบาลจึงได้กำหนดให้หน่วยงานรัฐต้องจัดซื้อจัดจ้างสินค้า หรือบริการจาก SMEs ไม่น้อยกว่า 30% และยังให้แต้มต่อในการเข้าร่วมงานกับภาครัฐอีก 10% และประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้นผู้ประกอบการ SMEs จะมีหนทางทำให้กิจการเติบโตได้ดีมากยิ่งขึ้น โดยสามารถขึ้นทะเบียน SMEs ตามมาตรการดังกล่าวได้ตามช่องทางต่าง ๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

Link ที่เกี่ยวข้อง

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า