ประกันสังคม

เจ็บป่วย ถ้าจำเป็นต้องสำรองจ่ายไปก่อน ก็ไม่ต้องกังวล เบิกประกันสังคมได้ชัวร์

เวลาเจ็บป่วยขึ้นมาหลาย ๆ คนอาจกังวลค่าใช้จ่าย แต่ถ้าเรามีประกันสังคมก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะประกันสังคมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้ตามสิทธิที่มี ถึงจะมีบางกรณีที่ต้องสำรองจ่ายไปก่อน แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะเบิกประกันสังคมคืนได้ชัวร์ แล้วการเจ็บป่วยแบบไหน ที่สามารถเบิกคืนได้ แล้วต้องทำยังไง บทความนี้จะมาช่วยไขข้อสงสัยให้หมดไป

Link ที่เกี่ยวข้อง

การขอเบิกสิทธิประกันสังคม แบบไหนที่ต้องสำรองจ่ายก่อน

เวลาเจ็บป่วยขึ้นมาหากมีประกันสังคม จะสามารถเข้าโรงพยาบาลตามสิทธิที่คุณเลือกได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่หากเกิดเจ็บป่วยฉุกเฉิน เช่น อยู่ต่างจังหวัดแล้วประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่ต้องได้รับการรักษาโดยด่วน แล้วไม่สามารถเข้าโรงพยาบาลตามสิทธิของคุณได้ กรณีเหล่านี้ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน แล้วทำเรื่องขอเบิกเงินคืนจากสำนักประกันสังคมในภายหลัง

กรณีเจ็บป่วยมีแบบไหนบ้าง?

การเจ็บป่วยสามารถแบ่งหลัก ๆ ออกได้ทั้งหมด 3 กรณี คือ

  1. เจ็บป่วยปกติ
    สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคมที่ได้รับ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
  2. กรณีประสบอันตราย
    • สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลตามที่สำนักงานกำหนดสิทธิ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
    • ไม่สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามที่สำนักงานกำหนดสิทธิ กรณีนี้ต้องสำรองค่ารักษาพยาบาลไปก่อน และสามารถนำมาเบิกคืนได้จากสำนักประกันสังคม จะเบิกคืนได้เท่าไหร่ มาลองดูอัตราเบิกคืนได้จากตารางนี้

โรงพยาบาลรัฐ

ผู้ป่วยนอก

สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น 

ผู้ป่วยใน

สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง โดยไม่นับรวมวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์

  • ค่าห้องและค่าอาหาร เบิกได้ไม่เกิน 700 บาท/วัน

โรงพยาบาลเอกชน

ผู้ป่วยนอก

สามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,000 บาท

หรือ กรณีที่เบิกค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงเกิน 1,000 บาท ในกรณีให้เลือด ฉีดบาดทะยัก อัลตราซาวนด์ ขูดมดลูก ค่าฟื้นคืนชีพ และกรณีที่ต้องสังเกตอาการในห้องอย่างน้อย 3 ชั่วโมงขึ้นไป

ผู้ป่วยใน

สามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์ดังนี้

  • กรณีที่ไม่ได้รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท
  • กรณีที่รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 4,500 บาท
  • ค่าห้องและค่าอาหาร เบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท
  • กรณีที่มีความจำเป็นต้องผ่าตัดใหญ่ เบิกได้ ไม่เกินครั้งละ 8,000-16,000 บาท ตามระยะเวลาการผ่าตัด
  • ค่าฟื้นคืนชีพ รวมค่ายาและอุปกรณ์เบิกได้ไม่เกิน 4,000 บาท
  • ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการและหรือค่าเอกซเรย์ เบิกได้ไม่เกินรายละ 1,000 บาท
  •  ค่าพาหนะรับส่งผู้ประกันตนระหว่างสถานพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราของประกาศ
  • ค่าตรวจวินิจฉัยพิเศษอื่น ๆ จ่ายตามนี้

3. เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต (UCEP)
ผู้ป่วยที่ไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน จะมีลักษณะอาการสำคัญ 6 อาการ

    • หมดสติไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
    • หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง
    • เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
    • ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม
    • แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วนหรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
    • มีอาการอื่นร่วมที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิตและระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต

มีข้อกำหนดเพิ่มเติมกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินสำหรับโรงพยาบาลรัฐ คือ

  • กรณีประสบอันตราย เช่น เกิดอุบัติเหตุ สามารถขอรับค่าบริการทางแพทย์คืนได้ โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง
  • กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน เช่น โรคหัวใจกำเริบสามารถขอรับค่าบริการทางการแพทย์คืนได้ ประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ประเภทละไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี

สำรองเงินประกันสังคมไปแล้วจะเบิกคืน ใช้เอกสารอะไรบ้าง?

เตรียมเอกสารตามนี้ ไปยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน ภายใน 90 วันนับตั้งแต่วันที่จ่าย (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

    1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01 ) ดาวน์โหลดได้ที่นี่
    2. ใบรับรองแพทย์ (ระบุอาการที่เกิดขึ้นโดยละเอียด
    3. ใบเสร็จรับเงิน (กรณีฉุกเฉินไม่เข้าโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ)
    4. หนังสือรับรองจากนายจ้าง (กรณีเบิกเงินทดแทนการขาดรายได้)
    5.  สถิติวันลาจากบริษัทของผู้ยื่นคำขอ
    6. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารหน้าแรกที่มีชื่อ–เลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) เช็คธนาคารที่เข้าร่วมได้ ที่นี่
    7. เอกสารหลักฐานอื่นๆ หากเจ้าหน้าที่ขอเพิ่มเติมหลังยื่น เพื่อประกอบการพิจารณา

จากนี้ไปก็หายกังวลไปได้เลย หากเกิดเหตุฉุกเฉินทำให้ต้องไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลที่ไม่ได้เลือกใช้สิทธิ ถึงแม้จะต้องสำรองค่ารักษาพยาบาลไปก่อน แต่ก็จะสามารถนำเอกสารมาเบิกเพื่อขอเงินคืนจากสำนักประกันสังคมได้ง่าย ๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอนก็รอรับเงินคืนได้เลย หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถโทรสอบถามได้ที่สายด่วน 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรืออ่านเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม

 

Link ที่เกี่ยวข้อง

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า