เช็คสิทธิรักษาพยาบาลประกันสังคม

รู้หรือไม่ เจ็บป่วย ประกันสังคมรักษาโรคอะไรได้บ้าง?

จ่ายประกันสังคมไว้ ช่วยได้มากกว่าที่คิด เพราะนอกจากจะได้ประโยชน์ทั่วไป เช่น เงินชดเชยว่างงาน เงินกรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ หรือกรณีชราภาพงาน ไปจนถึงเงินชดเชยการเสียชีวิตแล้ว หากเกิดเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ขึ้นมาก็จะได้รับการดูแลค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาล ซึ่งครอบคลุมมากถึง 26 โรคด้วยกัน บทความนี้จะมาเจาะลึกถึงสิทธิรักษาพยาบาลนั้นว่าใช้กับโรคอะไรได้บ้าง รู้รายละเอียดไว้จะได้ไม่พลาดสิทธิการรักษา

Link ที่เกี่ยวข้อง

สิทธิประโยชน์จากประกันสังคม กรณีเจ็บป่วย

หากผู้ประกันตนทุกมาตรานำส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนเดือนที่ป่วย ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการเข้ารักษาพยาบาลโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ และไม่ต้องสำรองจ่ายเมื่อเข้ารักษาในโรงพยาบาลตามที่ต้องการเลือกใช้สิทธิ ซึ่งหากผู้ประกันตนที่ยังไม่ชัวร์ว่าได้เลือกโรงพยาบาลใดไป สามารถเช็กสถานพยาบาลที่ได้รับสิทธิได้ที่นี่ หรือโทรสายด่วน 1506

เมื่อต้องไปใช้บริการทางการแพทย์ เอกสารสำคัญเพียงอย่างเดียวที่ต้องนำติดตัวไปก็คือ บัตรประชาชน ส่วนคนต่างด้าวต้องเตรียมบัตรประกันสังคมและหนังสือเดินทางไปด้วย โดยความคุ้มครองของผู้ประกันตนแต่ละมาตรานั้น จะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร มาหาคำตอบได้จากตารางเปรียบเทียบนี้กันได้เลย

มาตรา 33
มาตรา 39
มาตรา 40
ลักษณะของผู้ประกันตน ลูกจ้างตามบริษัททั่วไป เคยเป็นผู้ประกันตน ม. 33 แต่ออกจากงาน อาชีพอิสระ
สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ
  • เจ็บป่วย
  • คลอดบุตร
  • สงเคราะห์บุตร
  • ทุพพลภาพ
  • ชราภาพ
  • เสียชีวิต
  • ว่างงาน
  • เจ็บป่วย
  • คลอดบุตร
  • สงเคราะห์บุตร
  • ทุพพลภาพ
  • ชราภาพ
  • เสียชีวิต
  • ทางเลือก 1
    • เจ็บป่วย
    • ทุพพลภาพ
    • เสียชีวิต
    ทางเลือก 2
    • เจ็บป่วย
    • ทุพพลภาพ
    • เสียชีวิต
    • ชราภาพ
    ทางเลือก 3
    • เจ็บป่วย
    • ทุพพลภาพ
    • เสียชีวิต
    • ชราภาพ
    • สงเคราะห์บุตร

    รักษาที่อื่นได้ไหม ใช้ในกรณีไหนได้บ้าง

    โดยทั่วไปผู้ประกันตนจะเข้ารับการรักษาได้เฉพาะโรงพยาบาลที่เลือกไว้ แต่หากเกิดเหตุประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินขึ้น เช่น ประสบอุบัติเหตุ แล้วอยู่ต่างพื้นที่ ไม่สามารถไปโรงพยาบาลที่เลือกไว้ได้ ก็สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ได้ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน โดยกรณีนี้ผู้ประกันตนสำรองจ่ายไปก่อน ก็สามารถมาทำเรื่องขอเบิกเงินคืนจากสำนักงานประกันสังคมตามอัตราที่กำหนดได้ในภายหลัง

    26 โรคเรื้อรังที่ประกันสังคมจ่ายให้

    หากเจ็บไข้ได้ป่วยด้วย 26 โรคเรื้อรังต่อไปนี้ ผู้ประกันตนทุกมาตราก็ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาลอีกต่อไป เพราะสำนักประกันสังคมจะรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการทางการแพทย์ให้ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน

    1. โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus)
    2. โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
    3. โรคตับอักเสบเรื้อรังและโรคตับแข็ง (Chronic hepatitis, Cirrhosis of liver)
    4. โรคภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure)
    5. โรคเส้นเลือดสมองแตก/อุดตัน (Cerebrovascular accident)
    6. โรคมะเร็ง (Malignancy)
    7. โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS)
    8. โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema)
    9. โรคไตวายเรื้อรัง (Chronic renal failure)
    10. โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)
    11. โรคมายแอสทีเนีย เกรวิส (Myasthenia gravis)
    12. โรคเบาจืด (Diabetes insipidus)
    13. โรคมัลติเพิล สเคลอโรลิส (Multiple sclerosis)
    14. โรคไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia)
    15. โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)
    16. โรคต้อหิน (Glaucoma)
    17. โรคไต เนฟโฟรติค (Nephrotic syndrome)
    18. โรคลูปัส (SLE)
    19. โรคเลือดอะพลาสติก (Aplastic anemia)
    20. โรคทาลาสซีเมีย (Thalassemia)
    21. โรคฮีโมฟิลเลีย (Hemophilia)
    22. โรคเรื้อนกวาง (Psoriasis)
    23. โรคผิวหนังพุพองเรื้อรัง (Chronic vesiculobullous disease)
    24. โรคเลือดไอทีพี (ITP)
    25. โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis)
    26. โรคจิตตามบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศฉบับแก้ไขครั้งที่ 10 (ICD 10)

    โรคยกเว้นที่ไม่สามารถใช้สิทธิได้

    โรคภัยไข้เจ็บมีมากมาย แต่ไม่ใช่ทุกโรคที่สามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ เพราะทางสำนักงานประกันสังคมได้กำหนดไว้ว่ามีโรคและ บริการทางการแพทย์ที่ใช้สิทธิรักษาไม่ได้ 14 อย่าง ประกอบด้วย

    1. โรคหรือการเจ็บป่วยและได้รับอันตราย จากการใช้สารเสพติด
    2. โรคที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาล (คนไข้ใน) เกิน 180 วันใน 1 ปี
    3. การบำบัดทดแทนไต กรณีไตวายเรื้อรังที่ไม่ใช่ระยะสุดท้าย
      *ยกเว้น กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ให้มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์โดยการบำบัดทดแทนไต ด้วยวิธี
      – การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
      – การล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างถาวร
      – การปลูกถ่ายไต *
    4. การกระทำใด ๆ เพื่อเสริมความงามโดยไม่มีเหตุผลทางการแพทย์
    5. การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง
    6. การรักษาภาวะมีบุตรยาก
    7. การตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ
      *ยกเว้น การตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการปลูกถ่ายไขกระดูก*
    8. การตรวจใด ๆ ที่เกินกว่าความจำเป็นในการรักษาโรคนั้น
    9. การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ
      * ยกเว้น
      – การปลูกถ่ายไขกระดูก ผ่านสถานพยาบาลที่คณะกรรมการการแพทย์รับรอง และได้ทำความตกลงไว้กับสำนักงานในการให้บริการทางการแพทย์
      – การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะกระจกตา
    10. การเปลี่ยนเพศ
    11. การผสมเทียม
    12. การบริการระหว่างรักษาตัวแบบพักฟื้น
    13. ทันตกรรม
      * ยกเว้น การถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูน และผ่าฟันคุด มีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 300 บาทต่อครั้ง และไม่เกิน 600 บาทต่อปี กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้มีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี *
    14. แว่นตา

    ผู้ประกันตนอย่าลืมเช็กให้ชัวร์ก่อนไปทำการรักษา เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง

    สิทธิตรวจสุขภาพฟรีกว่า 14 รายการ

    นอกจากจะได้สิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาลแล้ว การนำส่งเงินสบทบของผู้ประกันตนทุกมาตราอย่างสม่ำเสมอ ผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ยังได้สิทธิในการตรวจสุขภาพฟรีกว่า 14 รายการ เพื่อไม่ให้พลาดสิทธิดี ๆ นี้ไป ผู้ประกันตนสามารถเช็กโรคและบริการที่ร่วมรายการได้จากตารางนี้

    ประเภทของการตรวจร่างกาย
    อาย
    ความถี่ในการตรวจ
    1. ตรวจร่างกายทั่วไป
    • ตรวจคัดกรองทางการได้ยิน (Finger Rub Test)
    15 ปีขึ้นไป
    1 ครั้ง/ปี
    • ตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุข
    30-39 ปี


    40-54 ปี


    55 ปีขึ้นไป
    ทุก 3 ปี


    ทุกปี


    ตรวจตามความเหมาะสมหรือมีความเสี่ยง
    • ตรวจสายตาโดยการดูแลของจักษุแพทย์
    40 – 54 ปี


    55 ปีขึ้นไป
    1 ครั้ง


    ทุก 1 - 2 ปี
    • ตรวจสายตาด้วย Snellen Eye Chart
    55 ปีขึ้นไป
    1 ครั้ง/ปี
    2. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
    • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
    18 – 54 ปี


    55 – 70 ปีขึ้นไป
    1 ครั้ง


    1 ครั้ง/ปี

    • ตรวจปัสสาวะ (UA)
    55 ปีขึ้นไป
    1 ครั้ง/ปี
    3. การตรวจสารเคมีในเลือด
    • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FPG)
    35 – 54 ปี


    55 ปีขึ้นไป
    ทุกๆ 3 ปี


    1 ครั้ง/ปี
    • ตรวจการทำงานของไต (CR)
    55 ปีขึ้นไป
    1 ครั้ง/ปี
    • ตรวจไขมันในเส้นเลือดชนิด (Total & HDL Cholesterol)
    20 ปีขึ้นไป
    ทุกๆ 5 ปี
    4. การตรวจอื่นๆ
    • ตรวจเชื้อไวรัสตับอักเสบ (HBsAG)
    เกิดก่อน พ.ศ. 2535
    1 ครั้ง
    • ตรวจมะเร็งปากมดลูก หรือ (Pap Smear)
    30 – 54 ปี


    55 ปีขึ้นไป
    ทุกๆ 3 ปี


    ตรวจตามความเหมาะสมหรือตามความเสี่ยง
    • ตรวจมะเร็งปากมดลูก วิธี Via
    30 - 54 ปี


    55 ปี ขึ้นไป
    ทุก 5 ปี


    แนะนำให้ตรวจ Pap Smear
    • ตรวจเลือดในอุจจาระ (FOBT)
    50 ปีขึ้นไป
    1 ครั้ง/ปี
    • ตรวจเอกซเรย์ปอด (Chest X-Ray)
    15 ปีขึ้นไป
    1 ครั้ง

    หากผู้ประกันตนต้องการตรวจสุขภาพตามรายการในตาราง ก็สามารถไปตรวจได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่โรงพยาบาลในเครือประกันสังคมที่ร่วมโครงการ

    เมื่อได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิรักษาพยาบาลที่ผู้ประกันตนจะได้รับไปแล้ว หากวันใดวันหนึ่งมีเกิดเหตุให้ต้องไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล ก็ไม่ต้องรู้สึกกังวลกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น เพราะการมีประกันสังคมก็สามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้ส่วนหนึ่ง เหมือนได้ยกภูเขาออกจากอก เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยก็ยังมีสำนักงานประกันสังคมคอยดูแลอยู่เคียงข้าง

    Link ที่เกี่ยวข้อง

    คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

    Sending

    ขอบคุณสำหรับคะแนน
    ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

    ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

    แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

    ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
    Sending

    ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

    ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    ยอมรับทั้งหมด
    จัดการความเป็นส่วนตัว
    • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
      เปิดใช้งานตลอด

      คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

    • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

      คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

    • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

      คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

    • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

      คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

    บันทึกการตั้งค่า