ประกันสังคม

เช็กให้ชัวร์คุณเป็นผู้ประกันตนแบบไหน ได้รับสิทธิอะไรบ้าง?

รู้ไว้ไม่เสียสิทธิ! คนที่เริ่มต้นทำงานแล้ว มีสิทธิลงทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคม เพื่อเป็นผู้ประกันตน และรับสวัสดิการคุ้มครองในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น อุบัติเหตุ เจ็บป่วย คลอดบุตร เกษียณอายุงาน จนถึงเสียชีวิต

Link ที่เกี่ยวข้อง

ประกันสังคม

ประกันสังคม คืออะไร?

ประกันสังคม (Social Security Fund) คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตของผู้ประกันตน เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนินชีวิตในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นทำงานจนกระทั้งเสียชีวิต โดยผู้ประกันตนและนายจ้างมีหน้าที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อรับความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์

ทำไมต้องทำประกันสังคม?

การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม จะช่วยประกันความเสี่ยงจากการทำงาน โดยไม่ต้องกังวลกับเรื่องไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้น เช่น ยามเจ็บไข้ได้ป่วย ก็สามารถเข้ารับการรักษาได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว และได้รับการช่วยเหลือตอนว่างงาน หรือยามเกษียณ นอกจากนี้ ยังมีสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่ผู้ประกันตนจะได้รับจากการทำประกันสังคมอีกมากมาย

ผู้ประกันตนขอรับสิทธิและความคุ้มครองด้วยการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคม โดยสามารถทำด้วยตัวเอง หรือผ่านนายจ้าง ซึ่งการจะเป็นผู้ประกันตนนั้นทำได้ 3 แบบ (หรือ เรียกว่า 3 มาตรา) มาหาคำตอบกันว่าใครบ้างที่มีสิทธิเป็นผู้ประกันตน คุณสมบัติของผู้ประกันตนแต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร จ่ายเงินไปแล้วสามารถใช้สิทธิเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อจะได้เข้าใจระบบประกันสังคมและสิทธิกันได้ดีขึ้น

สิทธิประโยชน์ และความคุ้มครองจากประกันสังคมมีอะไรบ้าง?

สิ่งที่ผู้ประกันตนจะได้รับจากกองทุนประกันสังคม คือ ประโยชน์ทดแทนซึ่งจะครอบคลุมในเรื่องต่าง ๆ ต่อไปนี้

  • คุ้มครองกรณีประสบอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วย
  • ให้เงินช่วยเหลือคลอดบุตร
  • ดูแลกรณี พิการ หรือ ทุพพลภาพ
  • เสียชีวิต
  • สงเคราะห์บุตร
  • เกษียณอายุ
  • ว่างงาน

ใครมีสิทธิทำได้บ้าง?

ผู้ประกันตน คือ คนทำงานที่มีอายุตั้งแต่ 15-65 ปีบริบูรณ์ มีสถานะเป็นพนักงานที่มีนายจ้าง, คนที่ลาออกจากงาน หรือคนที่ประกอบอาชีพอิสระ เช่น เกษตรกร พ่อค้า/แม่ค้าออนไลน์ ฟรีแลนซ์ เป็นต้น ไม่ว่าจะทำงานอะไรก็สามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนกับกองทุนประกันสังคมได้ เพียงแค่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไข ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครอง แต่จะได้มากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของผู้ประกันตน

ผู้ประกันตนมีกี่แบบ (มาตรา) ต่างกันอย่างไร?

คนที่มีสิทธิเป็น “ผู้ประกันตน” ไม่ได้จำกัดเฉพาะมนุษย์เงินเดือนที่เป็นพนักงานประจำ หรือคนที่มีนายจ้างเท่านั้น แต่ยังรวมถึงคนทำงานกลุ่มอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขของกองทุนประกันสังคม ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ
สิทธิประโยชน์และความคุ้มครองของผู้ประกันตนแต่ละมาตราแตกต่างกัน จึงต้องเลือกหลักประกันที่เหมาะสมกับตัวเอง มาดูกันว่าผู้ประกันตน แต่ละแบบจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ใครสามารถเลือกทำมาตราไหนได้บ้าง

ประกันสังคม ม.33 สำหรับ พนักงานประจำ

ผู้ประกันตน ม.33
คือ กลุ่มคนทำงานที่เป็นพนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป อยู่ในช่วงอายุ  15-60 ปีบริบูรณ์ โดยผู้ประกันตนในมาตรานี้ จะได้รับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครอง 7 กรณี ด้วยกัน ได้แก่

  • ประสบอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วย
  • คลอดบุตร
  • พิการ (ทุพพลภาพ)
  • เสียชีวิต
  • สงเคราะห์บุตร
  • ชราภาพ
  • ว่างงาน
ซึ่งผู้ประกันตน จะมีหน้าที่ส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยคำนวณจาก 5% ของเงินเดือน โดยคำนวณจากฐานเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีนายจ้างช่วยสมทบอีก 5% และรัฐบาลร่วมสมทบอีก 2.5% เพื่อรับสิทธิความคุ้มครองในมาตรานี้ ตัวอย่างการคำนวณ  เช่น นายเอ ได้รับเงินเดือน 17,000 บาท
คำนวณจากฐานเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เงินสมทบที่จ่าย
ลูกจ้าง 15,000 x 5% 750
นายจ้าง 15,000 x 5% 750
รัฐบาล 15,000 x 2.5% 375
รวมเงินสมทบ 1,875

หากคุณมีคุณสมบัติที่จะลงทะเบียนผู้ประกันตน ม.33 ก็สามารถไปรายละเอียดเพิ่มเติม การลงทะเบียน หลักฐานการสมัคร พร้อมขั้นตอนต่างๆ ได้เลย

ผู้ประกันตน ม. 39 สำหรับคนที่เพิ่งออกจากงาน

ผู้ประกันตน ม.39คือ ผู้ประกันตนแบบสมัครใจ หรือคนที่เคยทำงานบริษัทและลาออกจากงานแล้วไม่เกิน 6 เดือน อยู่ในช่วงอายุ  15-60 ปีบริบูรณ์ แต่ยังอยากรักษาสิทธิประกันสังคมอยู่  มีสิทธิรับความคุ้มครอง 6 กรณี

  • ประสบอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วย
  • คลอดบุตร
  • พิการ (ทุพพลภาพ)
  • เสียชีวิต
  • สงเคราะห์บุตร
  • ชราภาพ
ผู้ประกันตนที่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมต่อ จะต้องจ่ายเงินสบทบเข้ากองทุนเดือนละ 432 บาท และรัฐจะช่วยสมทบเงินเพิ่มอีก 120 บาทต่อเดือน

ผู้ประกันตนมาตรา 40 สำหรับผู้ที่มีอาชีพอิสระ

ประกันสังคม
ผู้ประกันตน ม.40
คือ ผู้ประกันตนที่มีอาชีพอิสระ และไม่ได้เป็นผู้ประกันตน ม.33 หรือ ม.39 อายุในช่วง 15 – 65 ปี บริบูรณ์  ซึ่งความคุ้มครองของมาตรานี้มี 3 ทางเลือก

ทางเลือกที่ 1

จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน คุ้มครอง 3 กรณี
  • ประสบอันตราย หรือ เจ็บป่วย
  • ทุพพลภาพ
  • เสียชีวิต

ทางเลือกที่ 2

จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน คุ้มครอง 4 กรณี
  • ประสบอันตราย หรือ เจ็บป่วย
  • กรณีทุพพลภาพ
  • กรณีเสียชีวิต
  • กรณีชราภาพ

ทางเลือกที่ 3

จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน คุ้มครอง 5 กรณี
  • ประสบอันตราย หรือ เจ็บป่วย
  • ทุพพลภาพ
  • ตาย
  • ชราภาพ
  • สงเคราะห์บุตร

สรุป สิทธิของผู้ประกันตนแต่ละมาตรา

ความคุ้มครอง มาตรา 33 มาตรา 39 มาตรา 40
(1)
มาตรา 40
(2)
มาตรา 40
(3)
คุณสมบัติ พนักงานบริษัท
/ พนักงานประจำ
ที่มีนายจ้าง
คนที่เคยทำงาน
บริษัท และประกัน
ตนใน ม.33 แล้ว
ลาออกจากงาน
ไม่เกิน 6 เดือน
ผู้มีอาชีพอิสระ
จ่ายเงินสมทบ (ต่อเดือน) 5% ของเงินเดือน 432 บาท 70 บาท 100 บาท 300 บาท
ประสบอุบัติเหตุ/เจ็บป่วย
คลอดบุตร
พิการ/ทุพพลภาพ
เสียชีวิต
สงเคราะห์บุตร
ชราภาพ
ว่างงาน

เมื่อเช็กแล้วว่าตัวเองเป็นผู้ประกันตนตามมาตราไหน ได้สิทธิและความคุ้มครองอะไรบ้างแล้ว ก็จะช่วยให้เข้าใจระบบประกันสังคมและเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ ได้มากขึ้น แต่ถ้ายังมีข้อสงสัย ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อประกันสังคมในช่องทางที่สะดวกได้

Link ที่เกี่ยวข้อง

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า