จะขับมอเตอร์ไซค์ มีใบขับขี่หรือยัง

รู้หรือไม่ว่า ก่อนการขับรถมอเตอร์ไซค์หรือรถจักรยานยนต์ จำเป็นต้องทำใบขับขี่เสียก่อน เนื่องจากใบขับขี่นี้จะเป็นใบอนุญาตให้ผู้ใช้ สามารถขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าผู้ขับขี่มีความเข้าใจกฎจราจร และรู้มารยาทในการขับขี่บนท้องถนนเป็นอย่างดี สำหรับคนที่อยากทําใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ครั้งแรก สงสัยว่าต้องเตรียมตัว และมีเอกสาร ขั้นตอนใดบ้าง บทความนี้จะช่วยให้คุณเตรียมตัวได้ดียิ่งขึ้น

Link ที่เกี่ยวข้อง

ประกันสังคม

ทำใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคล คืออะไร?

ใบขับขี่ชนิดนี้ คือ ใบอนุญาตสำหรับขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ที่ใช้งานทั่วไป ไม่ได้นำมาใช้รับจ้างเป็นอาชีพ การมีใบขับขี่ไว้จะช่วยให้การใช้รถนั้นถูกต้องตามที่กฏหมายกำหนด ในครั้งแรกที่ทําใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ จะได้ใบขับขี่แบบชั่วคราวก่อน ซึ่งจะมีอายุการใช้งาน 2 ปี และในครั้งต่อไปจะเป็นการต่ออายุใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ ซึ่งจะเป็นใบขับขี่แบบใช้งานกันได้ยาว ๆ 5 ปี

“บิ๊กไบค์” มอเตอร์ไซค์เหมือนกัน แต่ใช้ใบขับขี่ไม่เหมือนกัน

ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์ ต้องมีใบขับขี่เฉพาะสำหรับการขับขี่มอเตอร์ไซค์ประเภทนี้ เพราะต้องอาศัยความชำนาญในการบังคับรถซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าการขับขี่มอเตอร์ไซค์ทั่วไป ในประเทศไทยเริ่มให้มีการขอใบขับขี่ชนิดนี้ตั้งแต่ปี 2564 โดยใช้กำลังของเครื่องยนต์เป็นเกณฑ์ในการแบ่งแยก
คนที่ขี่มอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์ จึงต้องทำใบขับขี่เฉพาะ โดยกฎหมายได้กำหนดว่ารถมอเตอร์ไซค์ที่มีเครื่องยนต์ขนาด 400 CC ขึ้นไป หรือ เกิน 47 แรงม้าขึ้นไป ให้ถือว่าเป็นรถบิ๊กไบค์

ตัวอย่างการแบ่ง ประเภทของรถ และใบขับขี่

ประเภทรถ กำลังของเครื่องยนต์ (C.C.) ใบขับขี่จักรยานยนต์ทั่วไป ใบขับขี่รถบิ๊กไบค์
รถครอบครัว 110 - 125
รถเอ.ที. (AT) 110 - 300
รถสปอร์ต 150 - 300
รถออน-ออฟ (On-Off) 250
รถบิ๊กไบค์ (Big Bike) 400 ขึ้นไป

เยาวรุ่นก็ขับได้ถูกกฏหมายด้วย

ประกันสังคม

จะทำใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ครั้งแรกได้ ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังนี้

  1. สำหรับผู้ทำใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี แต่ถ้าเป็นผู้ขอใบขับขี่รถจักรยานยนต์ชั่วคราว สำหรับรถที่กระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 110 ลูกบาศก์เซนติเมตร ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี
  2. มีทักษะความสามารถในการขับรถ
  3. มีความรู้ความเข้าใจเรื่องกฏจราจร
  4. ไม่เป็นผู้พิการ และไม่มีโรคประจำตัวที่เห็นว่าเป็นอันตรายในการขับขี่  เช่น โรคลมชัก กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  5. ไม่เป็นคนวิกลจริต

ตัวอย่างการแบ่ง ประเภทของรถ และใบขับขี่

แต่สำหรับคนที่ต้องการต่อใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคล นอกจากจะต้องมีคุณสมบัติข้างต้นแล้ว จะต้องมีใบขับขี่แบบชั่วคราวมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และไม่เคยต้องโทษ หรือถูกปรับตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป เว้นแต่จะพ้นโทษครั้งสุดท้ายไม่น้อยกว่า 6 เดือนแล้ว ในคดีต่อไปนี้ เช่น ฝ่าฝืนสัญญาณจราจร ใช้ความเร็วเกินที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น

ขั้นตอนง่าย ๆ อยู่ที่ไหนก็ทําใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ได้

คนที่ต้องการทำใบขับขี่ประเภทนี้ สามารถทำได้ที่กรมการขนส่งทางบกทั่วประเทศ จะใช้เวลาในการสอบ 2 วัน แบ่งเป็นสอบภาคทฤษฏี และสอบภาคปฏิบัติ ใช้เอกสาร ดังนี้

  1. บัตรประชาชนฉบับจริง
  2. ใบรับรองแพทย์ ขอไว้ไม่เกิน 1 เดือน 

ขั้นตอนการทำใบขับขี่ครั้งแรก มีดังนี้

  1. การจองคิวเข้าอบรมการขับขี่ ซึ่งเราสามารถจองคิวอบรมได้ 2 ช่องทาง คือ 
    • จองคิวอบรมด้วยตนเอง ได้ที่จุดบริการของสำนักงานขนส่งที่ใกล้บ้าน สำพร้อมนำหลักฐานประกอบคำขอต่าง ๆ มาด้วย 
    • จองคิวผ่านแอปฯ DLT Smart Queue Google playiOSเป็นการจองคิวผ่านระบบออนไลน์ ก่อนใช้บริการที่สำนักงานขนส่ง เพื่อเพิ่มความสะดวกและรวดเร็ว
    • จองคิวอบรมผ่านทางโทรศัพท์ โดยสามารถจองผ่านหมายเลข 02-271-8888 ต่อ 4201-4 หรือโทร 1584 และต้องมาลงทะเบียนในวันที่นัดอบรมก่อนเวลา 08.00 น. 
  2. ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ประกอบไปด้วย การทดสอบการมองเห็นสี การทดสอบสายตาทางลึก การทดสอบสายตาทางกว้าง และการทดสอบปฏิกิริยาเท้า (ความสามารถในการใช้เบรก) 
  3. เข้ารับการอบรม ไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง
  4. สอบข้อเขียน ผ่านระบบ E-exam (Electronic examination)
  5. ทดสอบขับรถ โดยใช้ท่าทดสอบ ดังนี้
    • ท่าที่ 1 การขับรถโดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร
    • ท่าที่ 2 การขับรถทางตัวบนทางแคบ
    • ท่าที่ 3 การขับรถผ่านทางโค้งรัศมีแคบรูปตัว Z
    • ท่าที่ 4 การขับรถผ่านทางโค้งซ้าย และโค้งขวารูปตัว S
    • ท่าที่ 5 การขับรถหลบหลีกสิ่งกีดขวาง
  6. ชำระค่าธรรมเนียม รับใบขับขี่ โดยเจ้าหน้าที่จะทำการถ่ายรูปเพื่อพิมพ์ใบอนุญาตขับขี่ และจ่ายใบขับขี่ที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ต่ออายุใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ เตรียมตัวอย่างไร

การต่อใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคล สามารถทำได้ก่อนหมดอายุ 3 เดือน ที่สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ โดยมีเงื่อนไขดังนี้ 

  • มีใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลอยู่แล้ว
  • ผู้ขอมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดเหมือนกับการขอครั้งแรก
  • กรณีใบหมดอายุเกิน 3 ปี ติดต่อที่สำนักงานฯ ทั่วประเทศ หรือ สอบถาม โทร 1584

เอกสารที่ใช้ในการทำใบขับขี่

เอกสารที่ใช้สำหรับการทำใบขับขี่รถสาธารณะ ทั้งการขอใหม่ การต่อใบขับขี่ และกรณีใบขับขี่หาย มีดังนี้
ทำใบขับขี่ (ขอใหม่) ต่อใบขับขี่
  1. บัตรประชาชนตัวจริง ใบรับรองแพทย์ขอไว้ไม่เกิน 1 เดือน
  2. ใบรับรองแพทย์ขอไว้ไม่เกิน 1 เดือน
  1. บัตรประชาชนตัวจริง
  2. ใบรับรองแพทย์ขอไว้ไม่เกิน 1 เดือน
  3. ใบขับขี่ของเดิม

ผู้ขอสามารถลงทะเบียนจองคิวทำใบขับขี่ผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue หรือแอปฯ ทางรัฐโดยเลือกวัน-เวลาที่สะดวกได้ (ไม่มีปิดเสาร์-อาทิตย์) หรือจะเลือกฟังอบรมออนไลน์ที่บ้าน แต่การอบรมที่บ้านสามารถทำได้เฉพาะกับการต่อใบขับขี่เท่านั้น การทำใบขับขี่ครั้งแรกต้องมาอบรมที่สำนักงานขนส่งเหมือนเดิม

เมื่อได้รู้ถึงขั้นตอนของการทําใบขับขี่มอเตอร์ไซค์แล้ว หากใครที่ขับขี่อยู่แต่ยังไม่มีบัตร จะช้าไม่ได้แล้ว เพราะตอนนี้การต่อใบขับขี่ไม่ได้ยุ่งยากและใช้ระยะเวลานานอีกต่อไป ทางสำนักงานขนส่งมีการบริการใหม่ ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับไลฟ์สไตล์ยุคใหม่อีกด้วย

Link ที่เกี่ยวข้อง

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า