ลาออกแล้ว แต่ยังอยากรักษาสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองจากประกันสังคม ที่คล้ายกับสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจาก ม.33 สามารถสมัครประกันสังคม มาตรา 39 ได้ จะมีรายละเอียด เงื่อนไข และสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง บทความนี้จะมาช่วยคลายข้อสงสัยให้กับทุกคน
Link ที่เกี่ยวข้อง
ประกันสังคม ม.39 คืออะไร คุ้มไหมถ้าส่งต่อ
ใครสามารถสมัคร ม.39 ได้บ้าง
- เคยเป็นผู้ประกันตน ม. 33 ซึ่งส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน
- ลาออกจากงานมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ออกจากงาน
- ไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม

วิธีสมัครประกันสังคม ม.39
สมัครที่
สำนักงานประกันสังคม
- ผู้สมัครสามารถยื่นแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (แบบ สปส. 1-20) ภายใน 6 เดือน นับจากวันที่ลาออกจากงาน
- ยื่นใบสมัครได้ที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน
- กรุงเทพฯ : สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่
- ต่างจังหวัด : สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
สมัครได้โดยไม่ต้องไปที่สำนักงานประกันสังคม
- ดาวน์โหลดแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา มาตรา 39 (แบบ สปส.1-20) พิมพ์พร้อมกรอกข้อมูล และเซ็นเอกสาร
- แนบหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่น ๆ ซึ่งมีรูปถ่ายที่ทางการออกให้
- ส่งแบบคำขอสมัคร ผ่านช่องทางที่สะดวก
- ไปรษณีย์ลงทะเบียน
- ส่งผ่านอีเมล (E-mail)
- ส่งผ่านแอปพลิเคชันไลน์ (Line ID)
- โทรสาร (Fax)
*ตรวจสอบที่อยู่ในการจัดส่งแบบคำขอ ได้จากเว็บไซต์ประกันสังคม
จ่ายเงินสมทบไว้ ได้ความคุ้มครองชัวร์
ผู้ประกันตน ม.39 จะได้สิทธิประโยชน์และความคุ้มครอง โดยมีเงื่อนไขว่าต้องจ่ายเงินสมทบจำนวน 432 บาททุกเดือน ซึ่งคำนวณจากฐานเงินเดือน 4,800 บาทเท่ากันทุกคน และมีอัตราการคำนวณเงินสมทบอยู่ที่ 9 %
วิธีคำนวณ เงินสมบทประกันสังคม ม.39
ฐานเงินเดือน x อัตราเงินสมทบ (9%) = เงินสมทบที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน
ตัวอย่าง ฐานเงินเดือน (4,800) x อัตราเงินสมทบ (9%) = 432 บาท
ความคุ้มครอง 6 กรณี
- เจ็บป่วย
- ทุพพลภาพ
- คลอดบุตร
- เสียชีวิต
- สงเคราะห์บุตร
- ชราภาพ
ความคุ้มครอง | มาตรา 39 | มาตรา 33 |
---|---|---|
เจ็บป่วย | ![]() | ![]() |
พิการ | ![]() | ![]() |
คลอดบุตร | ![]() | ![]() |
เสียชีวิต | ![]() | ![]() |
สงเคราะห์บุตร | ![]() | ![]() |
ชราภาพ | ![]() | ![]() |
ว่างงาน | ![]() | ![]() |
- ขอเลือก – ผู้ประกันตน (อายุ 55 ปีบริบูรณ์) สามารถเลือกรับ เงินบำเหน็จ หรือ เงินบำนาญชราภาพได้
- ขอคืน – ผู้ประกันตน (ก่อน อายุ 55 ปีบริบูรณ์) สามารถนำเงินสะสมกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ได้
- ขอกู้ – ผู้ประกันตนสามารถนำเงินสะสมกรณีชราภาพไปเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินได้
- ขยายอายุผู้ประกันตน จาก 60 ปี เป็น 65 ปี
- ปรับปรุง เงื่อนไขการสมัครเป็นผู้ประกันตน ม.39
- กำหนดให้เงินเพิ่มของผู้ประกันตน ม.39 จะต้องไม่เกินเงินสมทบที่ต้องจ่าย
- เพิ่ม เงินสงคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร จาก 90 วัน เป็น 98 วัน
- เพิ่ม เงินทดแทนขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ จาก 50% เป็น 70%
- เพิ่ม ความคุ้มครองกรณีสงเคราะห์บุตร ต่ออีก 6 เดือน
สิทธิของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ของผู้ประกันตน จะสิ้นสุดลงในกรณี ต่อไปนี้
- เสียชีวิต
- กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33
- ลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน
- ขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน (กรณีนี้พบได้บ่อย)
- ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน (สิทธิจะสิ้นสุดลงในเดือนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน)
หากมีเหตุให้สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน ม.39 สามารถขอคืนสิทธิได้โดยติดต่อสำนักงานประกันสังคมในช่องทางที่สะดวก เพื่อขอเช็กสิทธิและสอบถามรายละเอียดในการขอคืนสิทธิได้
จ่ายง่าย ได้หลายช่องทาง
จ่ายเงินที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน
หักอัตโนมัติจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของธนาคาร
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
- ธนาคารกรุงไทย
- ธนาคารไทยพาณิชย์
- ธนาคารกสิกรไทย
- ธนาคารทหารไทย-ธนชาติ
- ธนาคารกรุงเทพ
จ่ายเป็นเงินสดด้วยวิธีอื่น
- จ่าย ณ ธนาคารที่ร่วมโครงการ (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงไทย ธนาคารทหารไทยธนชาติ)
- เคาน์เตอร์เซอร์วิส
- ธนาณัติ ณ ที่ทำการไปรษณีย์
- เคาน์เตอร์เพย์สบายที่มีสัญลักษณ์ “แจ๋ว”
ทั้งนี้ การจ่ายเงินสมทบประกันสังคม ม.39 สามารถนำไปยื่นลดหย่อนภาษีได้เหมือนกันกับ ม. 33 โดยสามารถติดต่อสำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ออกใบรายการรับเงินสมทบกองทุนประกันสังคมให้ได้
แม้ว่าจะลาออกจากงานแล้ว แต่ผู้ประกันตนยังอยากได้สิทธิประโยชน์และความคุ้มครองอยู่ สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตน ม.39 โดยจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมให้ครบ และตรงเวลา หากขาดส่ง 3 เดือนติดต่อกัน หรือจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน จะทำให้สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน ดังนั้น ถ้าไม่อยากเสียสิทธิก็ต้องทำตามเงื่อนไข จะได้ใช้สิทธิและรับความคุ้มครองอย่างต่อเนื่อง