ประกันสังคม

ประกันตน ม.33 ว่างงาน ตกงาน ลงทะเบียนเพื่อขอรับเงินชดเชยได้

ตกงาน อย่าเพิ่งท้อใจ เพราะยังมีสิทธิประโยชน์จากประกันสังคม ม.33 รองรับอยู่ ไม่ว่าคุณจะว่างงานจากเหตุผลอะไรก็ตาม แล้วไม่รู้ว่าจะหาทางออกยังไง ประกันสังคมว่างงานจะเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกันตนให้มีเงินทุน และสามารถเริ่มต้นหางานใหม่ได้ โดยบทความนี้จะช่วยเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกันตนได้รู้ถึงสิทธิและประโยชน์ที่ควรได้รับเมื่อต้องว่างงาน ตั้งสติให้ดีแล้ว แล้วมาหาคำตอบกันได้เลย

Link ที่เกี่ยวข้อง

ประกันสังคม

ทำไมต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคม ว่างงาน

ปฏิเสธไม่ได้ว่าความรู้สึกกังวลและทุกข์ใจอาจเกิดขึ้นได้ เมื่อต้องตกอยู่ในสถานะคนว่างงาน ผู้ประกันตนสามารถขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน เพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กำหนด อีกทั้งขั้นตอนการขึ้นทะเบียนก็ไม่ได้ยุ่งยาก สามารถทำผ่านระบบออนไลน์ได้ เพียงทำให้ถูกต้องตามขั้นตอน ผู้ประกันตนก็จะได้รับความช่วยเหลือยามว่างงาน อย่างน้อยที่สุดก็จะช่วยให้มีเวลาหางานใหม่โดยไม่ต้องร้อนใจมากจนเกินไป ขึ้นทะเบียนว่างงานไว้ สบายใจขึ้น

การขึ้นทะเบียนว่างงานประกันสังคม

  1. เป็นผู้ประกันตน ม.33 ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่างงาน ไม่ว่าจะลาออกเอง เลิกจ้าง หรือว่างงานจากเหตุสุดวิสัย (กรณีได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19)
  2. ว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป
  3. ขึ้นทะเบียนว่างงานผ่านเว็บไซต์กรมการจัดหางาน ภายใน 30 วัน เพื่อไม่ให้เสียสิทธิในการรับเงินทดแทน
  4. รายงานตัวออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมการจัดหางาน เดือนละ 1 ครั้ง
  5. มีความพร้อมและสามารถทำงานที่จัดหาให้ได้
  6. ไม่ปฏิเสธการฝึกงาน
  7. ไม่ถูกเลิกจ้างในกรณีต่อไปนี้
    • ทุจริตต่อหน้าที่ กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
    • จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
    • ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน 
    • ขาดงาน 7 วันติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร
    • ประมาทจนทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายร้ายแรง
    • ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา
  1. ไม่เป็นผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
  2. ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39

ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนประกันว่างงาน

ผู้ประกันตน ม.33 ที่ว่างงานสามารถขึ้นทะเบียนได้ด้วยตัวเอง โดยต้องทำตามขั้นตอนทั้งช่องทางออนไลน์ และ จุดบริการของสำนักงานประกันสังคม ซึ่งมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
ช่องทาง
การขึ้นทะเบียน
ออนไลน์ ขึ้นทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์กรมการจัดหางาน ภายใน 30 วัน
จุดบริการสำนักงานประกันสังคม ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7) ได้ที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน (ยกเว้น สำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1694 ในวันและเวลาราชการ (08.30-16.30 น.)

ขั้นตอนและเอกสารที่ใช้

ช่องทางออนไลน์

ลงทะเบียนผ่าน เว็บไซต์กรมการจัดหางาน โดยกรอกข้อมูล และอัปโหลดเอกสารที่จำเป็น ดังนี้

  1. ข้อมูลส่วนตัว
  2. วุฒิการศึกษา
  3. สถานะการออกจากงาน: ลาออก หรือเลิกจ้าง
  4. ข้อมูลต้องการหางานทำ: ค้นหาตำแหน่งงานว่าง หรือเลือกสมัครงาน
  5. ข้อมูลการประกอบอาชีพอิสระ: ระบุประเภทอาชีพ
  6. กรอกข้อมูลในแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน สปส. 2-01/7
  7. แนบไฟล์สำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝาก (ออมทรัพย์) ผ่าน 8 ธนาคาร ได้แก่ ธ.กรุงไทย ธ.กรุงศรีอยุธยา ธ.กรุงเทพ ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.กสิกรไทย ธ.ทหารไทยธนชาต ธ.ซีไอเอ็มบีไทย ธ.อิสลามแห่งประเทศไทย

จุดบริการ สำนักงานประกันสังคม

นำส่งและยื่นเรื่องที่สำนักงานประกันสังคมสาขาใกล้บ้าน โดยใช้เอกสารดังนี้

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)
  2. บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  3. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
  4. หนังสือรับรองการออกจากงาน หรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตนออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส. 6 -09) (ถ้ามี)
  5. หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
  6. หนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เนื่องจากเหตุสุดวิสัย (กรณีผู้ประกันตนว่างงานจากเหตุสุดวิสัย)
  7. สำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝาก (ออมทรัพย์) ผ่าน 10 ธนาคาร ดังนี้
ประกันสังคม

ธ.กรุงไทย

ประกันสังคม

ธ.กรุงศรีอยุธยา

ประกันสังคม

ธ.กรุงเทพ

ประกันสังคม

ธ.ไทยพาณิชย์

ประกันสังคม

ธ.กสิกรไทย

ประกันสังคม

ธ.ทหารไทยธนชาต

ประกันสังคม

ธ.ซีไอเอ็มบีไทย

ประกันสังคม

ธ.อิสลามแห่งประเทศไทย

ประกันสังคม

ธ.ออมสิน

ประกันสังคม

ธ.ก.ส.

ไม่ถูกทอดทิ้งเมื่อต้องว่างงาน

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทน ตามเงื่อนไขการจ่ายประโยชน์ทดแทนประกันสังคม ว่างงาน ดังนี้

กรณีว่างงาน
ความคุ้มครอง
ถูกเลิกจ้าง
- ได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้างรายวัน ครั้งละไม่เกิน 180 วัน/ปี
ลาออก หรือ สิ้นสุดสัญญาจ้าง
- ได้รับเงินทดแทน 30% ของค่าจ้างรายวัน ครั้งละไม่เกิน 90 วัน/ปี
การคำนวณเงินทดแทนทั้ง 2 กรณี ให้คิดจากฐานเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

*หาก 1 ปี มีการขอรับเงินทดแทนมากกว่า 1 ครั้ง เพราะถูกเลิกจ้าง หรือถูกเลิกจ้างและลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง สามารถรับเงินทดแทนรวมกันไม่เกิน 180 วัน

หาก 1 ปี มีการขอรับเงินทดแทนมากกว่า 1 ครั้ง เพราะลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง สามารถรับเงินทดแทนรวมกันไม่เกิน 90 วัน

หมายเหตุ ในช่วงวันที่ 1 มีค. 2563 – 28 กพ. 2565 ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิเงินทดแทนในอัตราเฉพาะกิจ ดังนี้
  • กรณีเลิกจ้าง จ่าย 70% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 200 วัน
  • กรณีลาออก จ่าย 45% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน

สามารถรับเงินทดแทนได้ที่ไหน

สำนักงานประกันสังคมจะทำการโอนเงินทดแทนการขาดรายได้ตามสิทธิให้ผู้ประกันตน ประกันสังคมว่างงาน เดือนละ 1 ครั้ง ผ่านทางบัญชีเงินฝากธนาคารที่แจ้งไว้ในขั้นตอนการขึ้นทะเบียนผ่านเว็บไซต์กรมการจัดหางาน

รายงานตัวไว้ วางใจหายห่วง

เมื่อขึ้นทะเบียนประกันว่างงานแล้ว ผู้ประกันตนจะต้องรายงานตัวตามนัดหมายในแต่ละเดือน เพื่อรักษาสิทธิและประโยชน์ทดแทน โดยสามารถรายงานตัวได้ทางเว็บไซต์กรมการจัดหางาน หรือไปรายงานตัวที่สำนักงานประกันสังคมสาขาใกล้บ้าน

* ผู้ประกันตนที่ขึ้นทะเบียนก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 รายงานตัวผ่านทางเว็บไซต์ E-service ของกรมการจัดหางาน

เงินสมทบที่ผู้ประกันตนทุกคนจ่ายไว้จะกลับมาช่วยเหลือท่านในยามลำบาก สำหรับผู้ประกันตนที่กำลังว่างงาน เราขอเป็นกำลังใจในวิกฤตินี้ อย่าลืมขึ้นทะเบียนประกันสังคม ว่างงานเพื่อขอรับสิทธิช่วยเหลือจากประกันสังคมเมื่อต้องว่างงาน

Link ที่เกี่ยวข้อง

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า