ประกันสังคม

ประกันสังคม ม.39 คืออะไร? ได้สิทธิอะไรบ้าง

ลาออกแล้ว แต่ยังอยากรักษาสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองจากประกันสังคม ที่คล้ายกับสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจาก ม.33 สามารถสมัครประกันสังคม มาตรา 39 ได้ จะมีรายละเอียด เงื่อนไข และสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง บทความนี้จะมาช่วยคลายข้อสงสัยให้กับทุกคน

Link ที่เกี่ยวข้อง

ประกันสังคม

ประกันสังคม ม.39 คืออะไร คุ้มไหมถ้าส่งต่อ

ประกันสังคม ม. 39 คือ หลักประกันสำหรับผู้สมัครใจที่จะส่งเงินสมทบ และใช้สิทธิกับประกันสังคมต่อ หลังจากลาออกจากงานแล้ว สิทธิประโยชน์ที่ได้รับอาจจะได้ไม่เท่ากับ ม.33 (คนทำงานมีนายจ้าง) แต่ก็ไม่ได้ต่างกันมากนัก มาดูกันว่าสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน ม.39 นั้นมีอะไรบ้าง มีความเหมือนหรือแตกต่างจาก ม.33 อย่างไร ใครสามารถใช้สิทธิได้บ้าง

ใครสามารถสมัคร ม.39 ได้บ้าง

ผู้ที่สามารถสมัครประกันสัง ม.39 ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
  • เคยเป็นผู้ประกันตน ม. 33 ซึ่งส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน
  • ลาออกจากงานมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ออกจากงาน 
  • ไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม

วิธีสมัครประกันสังคม ม.39

การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน ม.39 นั้น ผู้ที่มีคุณสมบัติครบสามารถสมัครด้วยตัวเองได้ 2 ช่องทาง

สมัครที่
สำนักงานประกันสังคม

  • ผู้สมัครสามารถยื่นแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (แบบ สปส. 1-20) ภายใน 6 เดือน นับจากวันที่ลาออกจากงาน
  • ยื่นใบสมัครได้ที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน
    • กรุงเทพฯ : สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่
    • ต่างจังหวัด : สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

สมัครได้โดยไม่ต้องไปที่สำนักงานประกันสังคม

  • ดาวน์โหลดแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา มาตรา 39 (แบบ สปส.1-20) พิมพ์พร้อมกรอกข้อมูล และเซ็นเอกสาร
  • แนบหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่น ๆ ซึ่งมีรูปถ่ายที่ทางการออกให้
  • ส่งแบบคำขอสมัคร ผ่านช่องทางที่สะดวก
    • ไปรษณีย์ลงทะเบียน
    • ส่งผ่านอีเมล (E-mail)
    • ส่งผ่านแอปพลิเคชันไลน์ (Line ID)
    • โทรสาร (Fax)

*ตรวจสอบที่อยู่ในการจัดส่งแบบคำขอ ได้จากเว็บไซต์ประกันสังคม

จ่ายเงินสมทบไว้ ได้ความคุ้มครองชัวร์

ผู้ประกันตน ม.39 จะได้สิทธิประโยชน์และความคุ้มครอง โดยมีเงื่อนไขว่าต้องจ่ายเงินสมทบจำนวน 432 บาททุกเดือน ซึ่งคำนวณจากฐานเงินเดือน 4,800 บาทเท่ากันทุกคน และมีอัตราการคำนวณเงินสมทบอยู่ที่ 9 %

วิธีคำนวณ เงินสมบทประกันสังคม ม.39

ฐานเงินเดือน x อัตราเงินสมทบ (9%) = เงินสมทบที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน
ตัวอย่าง  ฐานเงินเดือน (4,800) x อัตราเงินสมทบ (9%) = 432 บาท

โดยผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน หากเลยกำหนดจะต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก 2% ต่อเดือน รวมเงินที่ต้องจ่ายเป็น 440.64 บาท หากจ่ายล่าช้า

ความคุ้มครอง 6 กรณี

ผู้ประกันตน ม. 39 ที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนทุกเดือน จะได้รับความคุ้มครองใน 6 กรณี ดังนี้ 
  • เจ็บป่วย 
  • ทุพพลภาพ
  • คลอดบุตร
  • เสียชีวิต 
  • สงเคราะห์บุตร 
  • ชราภาพ
ความความคุ้มครองจะเหมือนกับประกันสังคม ม. 33 ทุกอย่าง ยกเว้น กรณีว่างงานที่จะไม่ได้รับสิทธิ
ความคุ้มครองมาตรา 39มาตรา 33
เจ็บป่วย
พิการ
คลอดบุตร
เสียชีวิต
สงเคราะห์บุตร
ชราภาพ
ว่างงาน
กรณีชราภาพ: เมื่อวันที่ 10 พค. 2565 มีการแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์ “หลักการ 3 ขอ” ของประกันสังคมกรณีชราภาพ เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยผู้ประกันตนสามารถนำเงินออกมาใช้ก่อนได้ ซึ่งมีรายละเอียด คือ
  1. ขอเลือก – ผู้ประกันตน (อายุ 55 ปีบริบูรณ์) สามารถเลือกรับ เงินบำเหน็จ หรือ เงินบำนาญชราภาพได้
  2. ขอคืน – ผู้ประกันตน (ก่อน อายุ 55 ปีบริบูรณ์) สามารถนำเงินสะสมกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ได้
  3. ขอกู้ – ผู้ประกันตนสามารถนำเงินสะสมกรณีชราภาพไปเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินได้
นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ อื่น ๆ เช่น
  • ขยายอายุผู้ประกันตน จาก 60 ปี เป็น 65 ปี
  • ปรับปรุง เงื่อนไขการสมัครเป็นผู้ประกันตน ม.39
  • กำหนดให้เงินเพิ่มของผู้ประกันตน ม.39 จะต้องไม่เกินเงินสมทบที่ต้องจ่าย
  • เพิ่ม เงินสงคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร จาก 90 วัน เป็น 98 วัน
  • เพิ่ม เงินทดแทนขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ จาก 50% เป็น 70%
  • เพิ่ม ความคุ้มครองกรณีสงเคราะห์บุตร ต่ออีก 6 เดือน

สิทธิของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ของผู้ประกันตน จะสิ้นสุดลงในกรณี ต่อไปนี้

  • เสียชีวิต 
  • กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 
  • ลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน
  • ขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน (กรณีนี้พบได้บ่อย
  • ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน (สิทธิจะสิ้นสุดลงในเดือนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน) 

หากมีเหตุให้สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน ม.39 สามารถขอคืนสิทธิได้โดยติดต่อสำนักงานประกันสังคมในช่องทางที่สะดวก เพื่อขอเช็กสิทธิและสอบถามรายละเอียดในการขอคืนสิทธิได้

จ่ายง่าย ได้หลายช่องทาง

การจ่ายเงินสมทบประกันสังคมของผู้ประกันตน ม. 39 ทำได้หลายวิธี ดังนี้

จ่ายเงินที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน

พร้อมแบบส่งเงินสมทบฯ (สปส. 1-11)

หักอัตโนมัติจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของธนาคาร

  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
  • ธนาคารกรุงไทย 
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ 
  • ธนาคารกสิกรไทย 
  • ธนาคารทหารไทย-ธนชาติ 
  • ธนาคารกรุงเทพ
*มีค่าธรรมเนียม 10 บาททุกรายการ และแนะนำให้ใช้วิธีนี้ เพราะเป็นการหักจ่ายแบบอัตโนมัติ ทำให้ไม่ต้องกลัวว่าจะลืมจ่ายเงินสมทบ

จ่ายเป็นเงินสดด้วยวิธีอื่น

  • จ่าย ณ ธนาคารที่ร่วมโครงการ (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงไทย ธนาคารทหารไทยธนชาติ)
  • เคาน์เตอร์เซอร์วิส
  • ธนาณัติ ณ ที่ทำการไปรษณีย์
  • เคาน์เตอร์เพย์สบายที่มีสัญลักษณ์ “แจ๋ว”
*มีค่าธรรมเนียม 10 บาททุกรายการ

ทั้งนี้ การจ่ายเงินสมทบประกันสังคม ม.39 สามารถนำไปยื่นลดหย่อนภาษีได้เหมือนกันกับ ม. 33 โดยสามารถติดต่อสำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ออกใบรายการรับเงินสมทบกองทุนประกันสังคมให้ได้

แม้ว่าจะลาออกจากงานแล้ว แต่ผู้ประกันตนยังอยากได้สิทธิประโยชน์และความคุ้มครองอยู่ สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตน ม.39 โดยจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมให้ครบ และตรงเวลา หากขาดส่ง 3 เดือนติดต่อกัน หรือจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน จะทำให้สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน ดังนั้น ถ้าไม่อยากเสียสิทธิก็ต้องทำตามเงื่อนไข จะได้ใช้สิทธิและรับความคุ้มครองอย่างต่อเนื่อง

Link ที่เกี่ยวข้อง

คุณให้คะแนนบทความนี้เท่าไหร่

Sending

ขอบคุณสำหรับคะแนน
ต้องการแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ ?

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

แชร์ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ?

ความเห็นของคุณสำคัญกับเรา เพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ ให้มีประโยชน์กับทุกๆคนมากขึ้น
Sending

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า